บช.น.ประชุมวางแนวทางมุ่งสร้างวินัย บังคับใช้กฎหมายกับประชาชนที่ไม่ยอมมาชำระค่าปรับ พรบ.จราจรทางบก เตรียมส่งหมายจับถึงบ้าน
กองบัญชาการตำรวจนครบาล
วันที่ 20 มิ.ย. 2565 เวลา 13.00 น.
พล.ต.ต.จิรสันต์ แก้วแสงเอก รอง.ผบช.น. ในฐานะโฆษก บช.น. ประธานการประชุม พล.ต.ต.นิธิธร จินตกานนท์ รอง.ผบช.น.ในฐานะรองโฆษก บช.น. พล.ต.ต.สมนึก น้อยคง รอง.ผบช.น. พล.ต.ต.สุวิชชา จินดาคำ ผบก.บก.จร. โดยมี รอง.ผบก.จร 1-9 และรอง.ผบก.จร เข้าร่วมประชุม ณ.ห้องประชุมกฤดากร
ซึ่งในวาระการประชุม เพื่อวางแนวทางในการบังคับใช้กฎหมายกับผู้กระทำความผิดตามกฎหมายจราจร และไม่ชำระค่าปรับภายในระยะเวลาที่กำหนด ซึ่งที่ผ่านมาพบว่ามีผู้ที่กระทำความผิดกฎหมายจราจรเป็นจำนวนมากและไม่มาชำระค่าปรับ และยังคงมีพฤติการณ์ที่ฝ่าฝืนกฎหมายจราจรซ้ำๆ เป็นเหตุให้เกิดอุบัติเหตุทางถนนจนเป็นสาเหตุในการเกิดปัญหาจราจร สร้างความสูญเสียทั้งชีวิตและทรัพย์สินรวมถึวภาพลักษณ์ของประเทศ
ปัญหาดังกล่าว ทางกองบัญชาการตำรวจนครบาล จึงได้กำหนดมาตราการในการบังคับใช้กฎหมาย เพื่อส่งเสริมให้ผู้ขับขี่มีวินัยจราจร เพื่อลดปัญหาอุบัติเหตุและปัญหาจราจรในกรุงเทพมหานคร คาดว่าอาจลดได้ในระดับหนึ่ง โดยมีการกำหนดขั้นตอนในการปฎิบัติดังนี้
1.เจ้าพนักงานออกใบสั่งให้กับผู้กระทำความผิดตาม พรบ.จราจรทางบก พ.ศ.2522 ทั้งแบบความผิดซึ่งหน้าและความผิดตรวจจับด้วยกล้องตรวจจับความเร็ว ระยะเวลาในการชำระค่าปรับเป็นไปตามกฎหมายที่กำหนด
2.กรณีผู้กระทำความผิดไม่มาชำระค่าปรับ เมื่อพ้นระยะเวลาที่กำหนดในใบสั่งแต่ละประเภท เจ้าพนักงานจะออกหนังสือแจ้งเตือน โดยจัดส่งทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับภายใน 15 วัน นับแต่วันครบกำหนดชำระค่าปรับในใบสั่ง โดยถือว่าเจ้าของผู้ครอบครองได้รับใบแจ้งเมื่อพ้นกำหนด 15 วัน นับแต่วันส่งต้องชำระค่าปรับภายใน 15 วัน นับตั้งแต่วันที่รับแจ้ง
3.กรณีพ้นระยะเวลาที่กำหนดในใบเตือนและผู้กระทำความผิดยังไม่มาชำระค่าปรับ ทางเจ้าพนักงานจะส่งข้อมูลไปยังกรมการขนส่งเพื่อดำเนินการระงับการเสียภาษีประจำปี เจ้าพนักงานจะออกใบเตือนเพื่อให้มาชำระค่าปรับหากครั้งถ้ายังไม่มาพบตามหมายเรียกทั้ง 2 ครั้ง เจ้าพนักงานจะขออนุมัติศาลในเขตพื้นที่เพื่อออกหมายจับ
4.กรณีออกหมายจับ ผู้ต้องหาจะถูกแจ้งข้อกล่าวหาตามในใบสั่ง และความตามมาตรา 155 ผู้ใดไม่ปฎิบัติตาม ม.141 ไม่มาชำระค่าปรับในเวลาที่กำหนดโดยไม่มีเหตุอันควรต้องระวางโทษ ปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท ผู้ต้องหาต้องเดินทางมาพบพนักงานสอบสวนด้วยตนเอง ณ.สถานตำรวจที่ออกหมายเรียกและออกหมายจับ
5.เมื่อถูกออกหมายจับ จะถูกบันทึกในระบบฐานข้อมูลของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ
จากนั้นเจ้าหน้าที่ตำรวจสามารถจับกุมตัวบุคคลที่ถูกออกหมายจับได้ทั่วราชอาณาจักร และเมื่อพบว่าจะมีการเดินทางออกนอกประเทศจะถูกจับกุม เกิดความยากลำบากในการเดินทาง
เมื่อถูกบันทึกในทะเบียนประวัติอาจส่งผลต่อการประกอบอาชีพการทำงาน อาจหมดความน่าเชื่อถือในการทำนิติกรรม
กรณีผู้ต้องหามาพบพนักงานสอบสวนด้วยตนเองหรือถูกจับกุม และยินยอมเปรียบเทียบปรับในคดีอาญาเลิกกัน
พล.ต.ต จิรสันต์ กล่าวถึงกรณีผู้กระความผิดสามารถเลือกชำระค่าปรับ ได้ที่สถานีตำรวจทุกสถานีทั่วประเทศ ช่องทางอิเล็กทรอนิกส์ของธนาคารกรุงไทย เค้าเตอร์เซอร์วิสที่มีสัญลักษณ์ PTM และทางไปรษณี
ย์ หากมีข้อสงสัยว่ามีใบสั่งค้างชำระหรือไม่ สามารถตรวจสอบได้ผ่านช่องทางใบสั่งจราจรออนไลน์สำหรับประชาชน https://ptm.police.go.th/eticket/#/ หากต้องการสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม สอบถามได้ที่ศูนย์ควบคุมและสั่งการจราจร บก.02 หมายเลข 1197 ตลอด 24 ชั่วโมง หรือทาง Facebook และ Twitter 1197.