วันพุธที่ 25 พฤษภาคม 2565 (เวลา 09.00 น.) ห้องประชุม พล.ต.อ.เผ่า ศรียานนท์ อาคาร สทส.ตร. ชั้น 2 อาคาร 8 ตร. พล.ต.อ.รอย อิงคไพโรจน์ รอง ผบ.ตร.(ปป.) ผอ.ศอ.ปส.ตร.เป็นประธาน พร้อมด้วย พล.ต.ท.ภาณุรัตน์ หลักบุญ รอง จตช.(ช่วยเหลืองาน ปป.)รอง ผอ.ศอ.ปส.ตร.พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่ตำรวจที่เกี่ยวข้อง ร่วมประชุมสร้างความเข้าใจในการปฏิบัติงาน กับทุกหน่วยปฏิบัติ เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมของเจ้าหน้าที่ชุดปฏิบัติการชุมชนยั่งยืน ในการดำเนินโครงการดำเนินงาน
พล.ต.อ. รอย เปิดเผยว่า ที่ผ่านมา พบว่า ผู้ใช้, ผู้เสพยาเสพติดที่ผ่านการบำบัด ยังขาดภูมิคุ้มกันทางใจ ขาดความรู้และทักษะในการประกอบอาชีพ และกลับไปใช้ยาเสพติดซ้ำอีก สำนักงานตำรวจแห่งชาติจึงจัดให้มีการประชุมชุดปฏิบัติการชุมชนยั่งยืนเพื่อแก้ไขปัญหายาเสพติด แบบครบวงจรตามยุทธศาสตร์ชาติ กับทุกหน่วยปฏิบัติ ในพื้นที่ต้นแบบของสถานีตำรวจในสังกัดกองบัญชาการตำรวจนครบาล และตำรวจภูธรภาค 1 – 9 จำนวน 1,483 หมู่บ้าน,ชุมชน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาการดำเนินงานชุมชนยั่งยืน ในการป้องกัน ปราบปราม และบำบัดรักษาผู้ติดยาเสพติด
สำหรับผู้เข้าร่วมประชุมผ่านระบบ zoom ประกอบด้วย รอง ผบช.น. ภ.1-9 (ที่รับผิดชอบงานด้านยาเสพติด),รอง ผบก.น.,ภ.จว. (ที่รับผิดชอบงานด้านยาเสพติด)
ส่วนผู้เข้าร่วมประชุมผ่านแอพพลิเคชั่น clubhouse หัวหน้า สน.,สภ.,ชุดปฏิบัติการชุมชนยั่งยืนจำนวน 1,483 สน.,สภ. ละ 3-5 นาย,ผู้แทนหน่วยงานร่วมบูรณาการในพื้นที่เช่นฝ่ายปกครอง สธ. ผู้นำชุมชน
ซึ่งปัจุบัน ได้มีการแก้ไขประมวลกฎหมายเกี่ยวกับยาเสพติด โดยมีผลบังคับใช้ วันที่ 9 ธ.ค.64 ที่เปลี่ยนกรอบความคิด จากการทำสงครามกับยาเสพติด เป็นการใช้สาธารณสุขดำเนินการแก้ไขปัญหา ซึ่งจะมองว่า ตัวผู้เสพยาเสพติด ไม่ใช่คนร้ายแต่เป็นเหยื่อ ซึ่งกรอบแนวคิดในการแก้ไขปัญหายาเสพติดตามยุทธศาสตร์ชาติ เดิมปี 60-65 ทำสงครามกับยาเสพติดแต่ยาเสพติดไม่ได้ลดลงเลย ทั้งการนำเข้าก็ยังมีการจับอยู่ ในขณะเดียวกันผู้เสพก็เพิ่มมากขึ้น รัฐบาลจึงได้เปลี่ยนกรอบแนวคิด จากการทำสงครามกับยาเสพติดเป็นการใช้สาธารณสุข โดยปี 65-70 เรามองว่าผู้เสพเป็นผู้ป่วย เป็นเหยื่อ ผู้เสพต้องมีที่ยืนในสังคม ต้องเน้นการนำผู้เสพเข้าสู่กระบวนการบำบัดตามกฎหมายใหม่ โดยหน้าที่หลักเป็นของกระทรวงสาธารณะสุข เมื่อบำบัดหายแล้วจะเป็นหน้าที่ของกระทรวงมหาดไทย
แต่กฎหมายที่เพิ่งบังคับใช้เมื่อวันที่ 9 ธันวาคม 2564 สถานที่ต่าง ๆ ยังไม่พร้อม นายกรัฐมนตรีจึงมีความเป็นห่วง เพราะต้องทำให้ต่อเนื่อง ต้องทำให้ผู้เสพเข้าสู่กระบวนการให้ได้ จึงเกิดโครงการแก้ไขปัญหายาเสพติดในชุมชนอย่างยั่งยืนตามยุทธศาสตร์ชาติ โดยนายกรัฐมนตรีมอบให้
รองนายกรัฐมนตรี พล.อ.ประวิตรฯ เป็นผู้ประสาน และได้มอบงบประมาณให้กับ ตร. จำนวน 77.9 ล้ทนบาท เพื่อทำโครงการนี้ทั่วประเทศ สถานีตำรวจจำนวน 1483 สถานี ต้องดำเนินโครงการนี้ โดยตำรวจต้องไปตั้งที่มั่นในชุมชนที่มีการแพร่ระบาด และนำผู้ที่สมัครใจเข้าบำบัดตามกระบวนการ โดยมีเจ้าหน้าที สาธารณะสุข และนายอำเภอ รวมถึงผู้นำท้องถิ่น จึงถือว่าเป็นโครงการเกี่ยวกับการป้องกันอาชญากรรมด้วย เนื่องจาก 80% ของอาชญากรรมที่เกิดล้วนมีส่วนเกี่ยวข้องกับยาเสพติด ถ้าเรานำผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับยาเสพติดเข้ามาอยู่ในการดูแลของตำรวจ จะทำให้อาญากรรมลดลงได้ตามทฤษฎีการเกิดอาชญากรรม
จึงมีการประชุมเพื่อสร้างความเข้าใจกับหน่วยที่เกี่ยวข้อง และจะ kick off โครงการนี้พร้อมกันทั่วประเทศ ในห้วงวันที่ 1-3 มิ.ย.
โครงการได้รับการตอบรับดีมาก มีการประชุมทั้งทาง Zoom และทาง Clubhouse ตามโครงการ Cyber Village ตามนโยบายของ รอง ผบ.ตร. โดยมีผู้นำท้องถิ่น อาสาสมัคร ผู้ใหญ่บ้าน อบต นายกเทศมนตรี เฝ้าฟังอยู่ขณะนี้จำนวน 11,180 คน
ด้วยความจำกัดด้านงบประมาณ ซึ่งได้รับมาแค่โรงพักละ 1 ชุมชน จึงอาจทำให้ไม่สามารถทำโครงการนี้ได้ทุกชุมชน และได้ประสานไปยังผู้นำท้องถิ่นให้ช่วยให้ความร่วมมือกับตำรวจ เพื่อแก้ไขปัญหายาเสพติดซึ่งเป็นรากเหง้าของอาชญากรรมตามที่ได้เรียนไป ซึ่ง 77.9 ล้านบาท เป็นงบปีเดียว ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการประเมินผลโดยมหาวิทยาลัยมหิดลว่าปีต่อไปจะมีการปรับเปลี่ยนเรื่องงบประมาณหรือไม่ และจะดูว่าสถานีไหนสามารถทำได้ดีตามกรอบการประเมิน ผู้บังคับบัญชาจะพิจารณาความดีความชอบให้
สถานที่ในการใช้บำบัดเป็นหน้าที่ของกระทรวงสาธารณสุข ของเราเป็นการป้องกันอาชญากรรม กิจกรรมหนึ่งของเราคือการนำผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับยาเสพติดเข้าสู่กระบวนการ สหประชาชาติทำการวิจัยว่าผู้เสพยาควรได้รับการบำบัดแบบการใช้ชุมชนบำบัด (cbtx) คนเสพยาเสพติดไม่อยากเอาตัวเข้าไปอยู่ในสถานกักกัน อยากคุยกับชุมชน ใช้ครอบครัวบำบัดใช้ชุมชนบำบัด ตรงนี้เป็นการทำงานบูรณาการร่วมกัน ตำรวจเข้าไปดูแล 3 เดือน ให้ชุมชนมั่นใจลดความหวาดระแวง สาธารณสุขจะนำคุณหมอเข้ามาในชุมชน คุณหมอจะคุยกับน้องๆ ทุกคน เช่น คนนี้ต้องรับยา หรือว่าจะต้องออกกำลังกายเล่นฟุตบอล หรือทำกิจกรรมร่วมกับเพื่อน หรือว่าแค่คุย ตามกฎของสาธารณสุข
เราตรวจปัสสาวะ 18 ครั้ง ถ้า 18 ครั้ง ไม่พบสารเสพติดก็จะถือว่าหายจากการติดยาเสพติด และก็จะเชิญองค์กรต่างๆมาสอนอาชีพให้แก่น้องๆ ให้เกิดอาชีพ ก็จะเกิดความยังยืนในชุมชน ปีที่แล้ว สมัครใจเข้าบำบัด ประมาณ15000คน หาย 12000 คิดเป็น 80% แล้วเราก็ต้องมีการประเมินว่า 80% ที่หายมีการกลับมาใช้สารเสพติดหรือไม่ “ พล.ต.อ.รอย กล่าว”
ด้าน พล.ต.ท.ภาณุรัตน์ กล่าวว่า
จากนโยบายที่สำคัญของรัฐบาลในการบำบัดรักษาผู้ติดยาเสพติดโดยให้ถือว่าผู้เสพ คือ ผู้ป่วย เพื่อเป็นการลดอุปสงค์หรือจำนวนผู้ติดยาเสพติดในประเทศให้ลดลง สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ได้ดำเนินโครงการดำเนินงานชุมชนยั่งยืนเพื่อแก้ไขปัญหายาเสพติด แบบครบวงจรตามยุทธศาสตร์ชาติ
ในพื้นที่กองบัญชาการตำรวจนครบาล และตำรวจภูธรภาค 1 – 9 จำนวน 1,483 หมู่บ้าน,ชุมชน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาการดำเนินงานชุมชนยั่งยืน ในการป้องกัน ปราบปราม และบำบัดรักษาผู้ติดยาเสพติด โดยอาศัยการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในชุมชน เพื่อลดจำนวน และทำให้ผู้ใช้ ผู้เสพ ผู้ติดยาเสพติดหมดไปจากชุมชน,หมู่บ้าน อย่างเป็นระบบและยั่งยืน ซึ่งเป็นการแก้ไขปัญหาการแพร่ระบาดของยาเสพติดในชุมชน
โดยเสริมสร้างให้ชุมชนเกิดความเข้มแข็ง เข้าใจ และตระหนักถึงปัญหาพิษภัยของยาเสพติดที่ส่งผลกระทบต่อตนเอง อีกทั้งยังถือเป็นต้นเหตุของปัญหาอาชญากรรมอื่นๆ ประกอบกับปัจจุบันการเสพยาเสพติดถือเป็น การเจ็บป่วย โรคสมองติดยา ซึ่งเป็นภัยร้ายแรงต่อสุขภาพที่ส่งผลกระทบต่อความมั่นคงของประเทศ ดังนั้น การบำบัดรักษาและการช่วยเหลือผู้ติดยาเสพติดย่อมต้องพิจารณาหลายมิติแบบองค์รวม เพื่อแก้ไขปัญหาอย่างรอบด้าน ซึ่งจากการดำเนินการที่ผ่านมา พบว่า ผู้ใช้,ผู้เสพยาเสพติดที่ผ่านการบำบัด ยังขาดภูมิคุ้มกันทางใจ ขาดความรู้และทักษะในการประกอบอาชีพ และกลับไปใช้ยาเสพติดซ้ำอีก สำนักงานตำรวจแห่งชาติ จึงได้มีโครงการฯ ในการแก้ไขปัญหาดังกล่าว โดยมุ่งเน้นการบำบัดโดยชุมชนมีส่วนร่วมในการดูแลผู้ใช้ ผู้เสพ ผู้ติดยาเสพติด
เพื่อให้เกิดการบำบัดฟื้นฟูใกล้บ้านหรือภายในชุมชนอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้ผู้ผ่านการบำบัดอยู่ร่วมกับสังคมได้อย่างสงบสุข ภายใต้ทิศทางการเปลี่ยนแปลงในระดับสากล เป็นไปตามหลักการสาธารณสุข สิทธิมนุษยชน และเป็นไปตามประมวลกฎหมายยาเสพติด พ.ศ.2564
โดยมีกระบวนการตั้งแต่การค้นหาคัดกรอง บำบัด ฟื้นฟู และติดตาม ดูแล ช่วยเหลือโดยกลไกการมีส่วนร่วมของคนในชุมชนเพื่อเป็นสร้างความเข้าใจในการปฏิบัติงาน และเป็นการเตรียมความพร้อมของเจ้าหน้าที่ ชุดปฏิบัติการชุมชนยั่งยืน ในการดำเนินโครงการฯ ให้เป็นไปตามประมวลกฎหมายยาเสพติด พ.ศ.2564
จึงมีการจัดการประชุมชุดปฏิบัติการชุมชนยั่งยืนขึ้นในวันนี้ เพื่อให้เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงาน และผู้เกี่ยวข้องได้มาร่วมรับฟังการชี้แจงรายละเอียด ขั้นตอน และแนวทางการดำเนินการในพื้นที่ให้เป็นไปตามประมวลกฎหมาย
ยาเสพติด พ.ศ.2564 เพื่อบูรณาการการป้องกันและแก้ไขปัญหา ยาเสพติดให้กับชุมชน,หมู่บ้านเป้าหมาย ในการดำเนินการโครงการฯ ดังกล่าว”รอง ผอ.ศอ.ปส.ตร.ป”กล่าว