ปคบ.ร่วม อย.แถลงจับเครือข่ายcall center ลวงโลก ตัดต่อภาพพิธีกรข่าวและดีเจสาวชื่อดังสร้างข้อมูลเท็จหลอกขายผลิตภัณฑ์สุขภาพ พบเงินหมุนเวียนกว่า 600 ล้านบาท
เมื่อ เวลา 10.00 น. วันที่ 6 ก.ย. ที่ห้องประชุมชั้นสอง กองบังคับการปราบปราม (บก.ป.) อาคารประชาอารักษ์ กองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง โดย พล.ต.ท.จิรภพ ภูริเดช ผบช.ก., พล.ต.ต.ณัฐศักดิ์ เชาวนาศัย รอง ผบช.ก., พล.ต.ต. อนันต์ นานาสมบัติ ผบก.ปคบ., พ.ต.อ.ธรากร เลิศพรเจริญ รอง ผบก.ปอท.รรท.รอง ผบก.ปลบ..
พ.ต.อ.สำเริง อำพรรทอง, พ.ต.อ.ณัฐวัฒน์ เกศะรักษ์, พ.ต.อ.สมเกียรติ ตันติกนกพร รอง ผบก.ปคบ., พ.ต.อ.เนติ วงษ์กุหลาบ ผกก.4 บก.ปคบ, พ.ต.ท.สุพจน์ พุ่มแหยม, พ.ต.ท.นิธิ ตรี สุวรรณ รอง ผกก.4 บก.ปคบ. กับพวก พร้อมด้วย สำนักงาน
คณะกรรมการอาหารและยา โดย นพ.ไพศาล ดั่นคุ้ม เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา, และ นพ.สุรโชค ต่างวิวัฒน์
รองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา และ ภญ.อรัญญา เทพพิทักษ์ ผู้อำนวยการศูนย์จัดการเรื่องร้องเรียนและ
ปราบปรามการกระทำผิดกฎหมายเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์สุขภาพ ร่วมกันแถลงข่าว จับกุมเครือข่าย call center สร้าง
ข้อมูลเท็จหลอกขายผลิตภัณฑ์สุขภาพ แอบอ้างบุคคลผู้มีชื่อเสียง เป็นเหตุให้ผู้บริโภคหลงเชื่อในสรรพคุณของสินค้า
เมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม 2565ได้มีดีเจสาวชื่อดัง (ขอสงวนนาม) มาแจ้งความต่อพนักงานสอบสวน กก.4 บก.ปคบ. ว่าพบเพจเฟซบุ๊กชื่อ Center for the health of the nation ได้นำรูปถ่าย
ของตนจากแอปพลิเคชันอินสตาแกรมส่วนตัว ไปทำการโฆษณาขายผลิตภัณฑ์ลดน้ำหนัก Efferin โดยที่ตนเองไม่ได้มีส่วนรู้เห็นหรือเกี่ยวข้องกับการกระทำดังกล่าว จึงได้มาแจ้งความร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวน
เจ้าหน้าที่ตำรวจจึงได้ทำการสืบสวนอย่างต่อเนื่องจนทราบว่า บริษัทของกลุ่มผู้ต้องหาเป็นผู้ดำเนินการโฆษณาและจัดจำหน่ายสินค้าดังกล่าว อีกทั้งยังพบว่าบริษัทดังกล่าวยังมีการโฆษณาโดยใช้ข้อความอันเป็นเท็จเพื่อหลอกลวงผู้บริโภค และจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์อาหารเสริมสุขภาพและเครื่องสำอางค์ อื่นๆ ที่ผิดกฎหมายอีกจำนวนเกือบ 30 เว็ปไซต์
โดยบริษัทดังกล่าวจะมีการจะมีการใช้ข้อความอันเป็นเท็จในการโฆษณาขายสินค้า, มีการตัดต่อรูปภาพบุคคลที่มีชื่อเสียง, แพทย์หรือสถานพยาบาลชื่อดัง มาใช้ประกอบกรโฆษณา และมีกรจัดทำผู้ซื้อสินค้าและผู้รีวิวการใช้
ปลอมขึ้น เพื่อหลอกหลวงผู้บริโภคให้หลงเชื่อในสรรพคุณของสินค้า เช่น เครื่องสำอาง Havita (สำหรับปลูกผม)
มีการตัดต่อภาพของ คุณกิตติ สิงหาปัด ในรายการข่าว 3 มิติ มาใช้ประกอบการโฆษณา และมีการใช้ข้อความอันเป็นเท็จบรรยายสรรพคุณเกินจริง เช่น จากการพิสูจน์ทางการแพทย์พบว่า การใช้ Havita เร่งการเจริญเติบโตของเส้นผม 380% , เพิ่ม
ปริมาณเส้นผม, ก่อให้เกิดการเจริญเติบโตของเส้นผมใหม่, ป้องกันการหลุดร่วงของเส้นผม, สร้างเส้น , ผมที่เงางามและดกดำมากขึ้น , แพทย์ชื่อดังเผยวิธีรักษาผมร่วง ผมบาง ทำได้ด้วยตัวเองที่ไม่ถึง 30 บาทต่อวัน ผมงอกใหม่ หนาขึ้น , สวยเงางามจนต้องเผลอมอง , นักวิทยาศาสตร์ขนานนามสิ่งนี้ว่า “การบำบัดการหลุดร่วงของเส้นผมอย่างถาวร”
เมื่อผู้บริโภคหลงเชื่อข้อความอันเป็นเท็จ การบรรยายสรรพคุณเกินจริงดังกล่าว จะทำการสั่งซื้อโดยกรอกรายละเอียดของผู้ซื้อพร้อมหมายเลขโทรศัพท์ติดต่อกลับผ่านเว็บไซต์ จากนั้นฝ่ายขายของบริษัท ซึ่งทำงานในสักษณะ
Call Center จะติดต่อกลับไปหาผู้ซื้อ เพื่อบรรยายสรรพคุณเกินจริง โน้มน้าวให้ผู้ซื้อหลงเชื่อตัดสินใจซื้อสินค้าดังกล่าว
ภายหลังจากที่ผู้บริโภคได้ใช้สินค้าเพื่อสุขภาพดังกล่าว ก็พบว่าสินค้าตังกล่าวมิได้มีสรรพคุณตามที่โฆษณาหลอกลวงไว้
แต่อย่างใด
เจ้าหน้าที่ตำรวจ กก 4 บก.ปคบ.จึงรวบรวมพยานหลักฐานเพื่อขอหมายจับกลุ่มผู้ต้องหาดังกล่าว จำนวน 4 ราย คือ
นายมนัสศิริ , นายพิศิษฐ์ , นายธิติพัทธ์ , น.ส.อิสรีย์ (ขอสงวนนามสกุล) ตามหมายจับศาลอาญาที่ 1616/2565 ลง 15 ส.ค.2565ในข้อหา “ร่วมกันโฆษณาเครื่องสำอางโดยใช้ข้อความที่ไม่เป็นธรรมต่อผู้บริโภค หรือใช้ข้อความที่อาจ
ก่อให้เกิดผลเสียต่อสังคมเป็นส่วนรวม โดยใช้ข้อความที่เป็นเท็จหรือเกินความจริง โดยใช้ข้อความที่จะก่อให้เกิดความ
เข้าใจผิดในสาระสำคัญเกี่ยวกับเครื่องสำอาง โดยใช้ช้อความที่แสดงสรรพคุณที่เป็นการรักษาโรคหรือที่มีใช่จุดมุ่งหมาย
เป็นเครื่องสำอาง, ร่วมกันโดยทุจริตหรือโดยหลอกลวง นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่บิดเบือนหรือ
อมไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน หรือข้อมูลคอมพิวเตอร์นเป็นท็จ โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหาย
อันมิใช่การกระทำความผิดฐานหมิ่นประมาทตามประมวลกฎหมายอาญา”
ต่อมาเมื่อวันที่ 17 สิงหาคม 2565 เจ้าหน้าที่ตำรวจ กก. บก.ปคบ. พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่ตำรวจ บก.ปอท.ได้ทำการจับกุม น.ส.อิสรีย์ฯ และนายพิศิษฐ์ฯ ตามหมายจับข้างต้น พร้อมประสาน อย.ทั้งเข้าตรวจคันสถานที่ที่มีความเกี่ยวข้องกับบริษัทดังกล่าว จำนวน แ แห่ง ผลการตรวจค้นสามารถตรวจยืดพยานหลักฐานที่เกี่ยวข้องกับการกระทำความผิดได้จำนวนหลายรายการ เช่น คอมพิวเตอร์, โทรศัพท์มือถือ และเอกสารต่างๆ พร้อมทั้งตรวจยึดผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพที่ ผิดกฎหมาย จำนวน 33 รายการ มูลค่าประมาณ 24 ล้านบาท จากนั้นเมื่อวันที่ 24 สิงหาคม 2565
เจ้าหน้าที่ตำรวจได้ทำการจับกุม นายมนัสศิริฯ และ นายธิติพัทธ์ฯ ได้ที่สนามบินสุวรรณภูมิ ขณะกำลังเดินทางกลับมาจากต่างประเทศ
จากการสอบถามผู้ต้องหาทั้ง 4 คน ให้การปฏิเสธตลอดข้อกล่าวหา แต่ให้การรับว่า บริษัทประกอบกิจการเกี่ยวกับการจำหน่ายผลิตภัณฑ์สุขภาพในลักษณะ Call Center ผ่านทางช่องทางออนไลน์ โดยมี นายธิติพัทธ์ฯ ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้น มีหน้าที่ให้การบริหารจัดการดูแลบริษัท และ น.ส.อิสรีย์ฯ ซึ่งเป็นน้องสาวของนายธิติพัทธ์ มีหน้าที่ให้การดูแลด้านการเงินของบริษัท ส่วนการโฆษณาสินค้า บริษัทได้ว่าจ้างบริษัทในประเทศเวียดนาม, สิงคโปร์ และสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ร่วมกันสร้างข้อความอันเป็นเท็จในการโฆษณาขายสินค้า, มีการตัดต่อรูปภาพบุคคลที่มีชื่อเสียง, แพทย์หรือสถานพยาบาล
ชื่อตัง มาใช้ประกอบกรโฆษณา และมีการจัดทำผู้ซื้อสินค้าและผู้รีวิวการใช้ปลอมขึ้นมา เพื่อให้ผู้บริโภคหลงเชื่อในสรรพคุณของสินค้า
จากการตรวจสอบเพิ่มเติมพบว่า ระหว่างเดือน ม.ค.65 – มิ.ย.65 บริษัทผู้ต้องหามีรายได้จากการ
หลอกหลวงขายผลิตภัณฑ์สุขภาพให้แก่ผู้บริโภค ประมาณ ๒๑๙ ล้านบาท มีการจ่ายเงินค่าโฆษณาไปยังต่างประเทศ (เวียดนาม, สิงคโปร์ และสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์) รวมเป็นเงินจำนวน 188 ล้านบาท อีกทั้งบริษัทยังมี
เงินหมุนเวียนทั้งสิ้นมากกว่า 660 ล้านบาท
พล.ต.ต.อนันต์ นานาสมบัติ ผบก.ปคบ. ฝากความห่วงใยมายังพี่น้องประชาชนว่าขอให้ระมัดระวังและไตร่ตรองให้รอบคอบ โดยเว็ปโชต์เหล่านี้จะใช้เทคนิคเชิญชวนให้กด “สิ่งซื้อพร้อมส่วนลด50%” ในลักษณะการสั่งซื้อผ่าน Call Center เมื่อกดการสั่งซื้อสินค้า หลังจากนั้นจะมีการติดต่อกลับจาก Call Center จะติดต่อกลับไปหาผู้ซื้อ
เพื่อบรรยายสรรพคุณเกินจริง โน้มน้าวให้ผู้ซื้อหลงเชื่อตัดสินใจซื้อสินค้าตังกล่าวและการจัดส่งสินค้าแบบเก็บเงินปลายทาง ผ่านทางเว็ปไซต์ต่างประเทศ มีการกล่าวอ้างบุคคลเพื่อเพิ่มความน่าเชื่อถือ เช่น แพทย์ เภสัชกร
นักวิทยาศาสตร์ นักวิจัย โดยเนื้อความเหมือนการให้ความรู้และสอดแทรกผลิตภัณฑ์ที่ต้องการขายลงไป ทำให้คนตกเป็นเหยื่อได้ง่าย และขอเตือนไปยังผู้คิดจะกระทำความผิดหลอกลวงคนอื่นด้วยวิธีการเอาความเจ็บป่วย หรือความเยาว์วัยมาหลอกลวงขายสินค้าให้กับผู้บริโภค หากพบจะดำเนินการทางกฎหมายให้ถึงที่สุด ทั้งนี้ผู้ที่พบเห็นการกระทำ
ความผิดกฎหมายในลักษณะอื่นใด สามารถแจ้งเบาะแสได้ที่สายด่วน ปคบ. 1135 หรือ เพจ ปคบ.เตือนภัยผู้บริโภคได้
ตลอดเวลา
ภญ. อรัญญา เทพพิทักษ์ ผู้อำนวยการศูนย์จัดการเรื่องร้องเรียนและปราบปรามการกระทำผิดกฎหมายเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์สุขภาพ กล่าวย้ำเตือนประชาชน ขออย่าได้หลงเชื่อโฆษณที่หลอกลวงเกินจริง และสั่งซื้อผลิตภัณฑ์มาใช้โดยหวังผลการรักษาโรค เช่น รักษาเบาหวาน, รักษาเชื้อรา, รักษาหลอดเลือด, รักษาต่อมลูกหมาก, ถ่ายพยาธิ, เพิ่มสมรรถภาพทางเพศ, แก้ปัญหากรได้ยิน ลดริ้วรอยย้อนอายุไป 30 ปี เป็นตัน เนื่องจากขณะนี้ยังไม่มีหลักฐาน หรือผลการสอบประสิทธิภาพทางวิทยาศาสตร์ของผลิตภัณฑ์มาสนับสนุน ขอให้ผู้บริโภคระลึกไว้เสมอว่า อาหารหรือเครื่อมีสรรพคุณรักษาโรคได้ ฉะนั้นก่อนกคคำสั่งซื้อทุกครั้ง ขอให้ผู้บริโภคคิดไตร่ตรองให้รอบคอบ หากหลงเชื่อซื้อสินค้าที่รักษาไม่ได้จริงตามที่กล่าวอ้าง จะทำให้ผู้ป่วยสูญเสียทั้งเงินทอง และเสียโอกาสในการรักษาที่ถูกต้องจากแพทย์เฉพาะทางได้ ทั้งนี้
มีผลิตภัณฑ์หลายรายการที่ อย. ได้เคยออกข่าวประชาสัมพันธ์ในเว็ปไซต์ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม ประเทศไทย (Anti-Fake
News Center Thailand) และเว็ปไชต์ของ อย. เช็ค ชัวร์ แชร์ แล้ว และจะติดตาม ฝ้าระวัง ข่าวปลอมของผลิตภัณฑ์สุขภาพ
ต่างๆ เพื่อแจ้งเตือนให้ประชาชนทราบอย่างต่อเนื่อง หากพบแหล่งผลิตหรือจำหน่ายผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ผิดกฎหมายหรือ
อาจไม่ปลอดภัยในการบริโภค ขอให้แจ้งเบาะแสร้องเรียนมาได้ที่ สายด่วน อย.โทร. 1556 อีเมล์ 1556@fida.moph.go.th
หรือสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดทั่วประเทศ