“ผบ.ตร.”มอบรางวัลสถานีชนะเลิศ ตามโครงการ Smart Safety Zone 4.0
วันเสาร์ที่ 6 สิงหาคม 2565 เวลา 16.00 – 18.30 น. ที่สถานีตำรวจนครบาลลุมพินีพล.ต.อ.สุวัฒน์ แจ้งยอดสุข
ผู้บัญชาการตํารวจแห่งชาติ เป็นประธานในงานประกาศความสำเร็จ และพิธีมอบรางวัลสถานีชนะเลิศตามโครงการ Smart Safety Zone 4.0 ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 พร้อมกับ นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ ปลัดกระทรวงมหาดไทย, นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร , พล.ต.อ.ดำรงศักดิ์ กิตติประภัสร์ รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ, พล.ต.อ.รอย อิงคไพโรจน์ รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ, พล.ต.ท.สุรเชษฐ์ หักพาล ผู้ช่วยผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ, พลเอก ธิติชัย เทียนทอง รองเสนาธิการทหารสูงสุด , ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) และเครือข่ายภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาชน
ที่สถานีตำรวจนครบาลลุมพินี
ตามวิสัยทัศน์ของรัฐบาลที่กล่าวว่า “ประเทศไทยมีความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน เป็นประเทศ
ที่พัฒนาแล้ว ด้วยการพัฒนาตามหลักของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง” จึงมีนโยบายในการใช้นวัตกรรมมาขับเคลื่อนเศรษฐกิจให้สอดรับกับบริบททางสังคมที่เปลี่ยนแปลง อีกทั้ง เพื่อยกระดับการให้บริการตอบสนองความต้องการ และอำนวยความสะดวกแก่ประชาชน
สำนักงานตำรวจแห่งชาติได้ปฏิรูประบบการทำงานให้สอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาล
ผบ.ตร.กล่าวว่า ในเรื่องดังกล่าวที่คำนึงถึงพันธกิจหลักของสำนักงานตำรวจแห่งชาติในด้านการรักษากฎหมายการป้องกันปราบปรามอาชญากรรมและการอำนวยความยุติธรรมให้แก่ประชาชน ด้วยการขับเคลื่อนโครงการสมาร์ทเซฟตี้โซน 4.0 (Smart Safety Zone) มุ่งเน้นการนำเทคโนโลยีเข้ามาประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ตำรวจ พร้อมกับบูรณาการการทำงานร่วมกันระหว่างภาคประชาชน ภาคประชาสังคม และระบบราชการส่วนท้องถิ่น เพื่อยกระดับการป้องกันอาชญากรรมในพื้นที่สาธารณะ และสร้างพื้นที่ปลอดภัยให้แก่ประชาชน
ในการนี้ พล.ต.อ.สุวัฒน์ แจ้งยอดสุข ผู้บัญชาการตํารวจแห่งชาติ ได้มอบหมายให้
พล.ต.ท.สุรเชษฐ์ หักพาล ผู้ช่วยผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ขับเคลื่อนโครงการสมาร์ทเซฟตี้โซน 4.0 ตั้งแต่เดือนกรกฎาคมถึงเดือนกันยายน 2564 ในพื้นที่ 15 สถานีตำรวจนำร่องทั่วประเทศ มีการวัดผลที่
เป็นสากลผ่านตัวชี้วัดตำรวจโลก (WISPI : World Internal Security & Police Index) ซึ่งผลจากการดำเนินโครงการในระยะแรกมีแนวโน้มดีขึ้นเมื่อสิ้นสุดโครงการ อีกทั้งประชาชนได้สะท้อนความต้องการให้ดำเนินโครงการต่อ จึงได้ขยายพื้นที่สู่ 100 สถานีตำรวจทั่วประเทศในระยะที่ 2 เริ่มดำเนินการตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2564 ถึงปัจจุบัน โดยผลการประเมินของสถานีตำรวจทั้ง 100 สถานี ออกมาเป็นที่น่าพอใจ กล่าวคือ
ความหวาดกลัวภัยอาชญากรรมของประชาชนในพื้นที่ลดลง ความเชื่อมั่นของประชาชนในพื้นที่ต่อประสิทธิภาพการทำงานของเจ้าหน้าที่ตำรวจสูงขึ้น และเจ้าหน้าที่ตำรวจได้นำนวัตกรรมต่างๆ มาใช้ในงานป้องกันอาชญากรรมได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น จึงทำให้ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ได้รับรางวัลระดับโลกประเภทการป้องกันอาชญากรรม ด้านการปฏิบัติการชุมชนสัมพันธ์ยอดเยี่ยม จากเวทีประชุมสุดยอดตำรวจโลก หรือ World Police Summit ที่เมืองดูไบ สหรัฐอาหรับเอมิเรต เมื่อเดือนมีนาคม 2565 ที่ผ่านมา
ทั้งนี้ ข้อเสนอแนะจากประชาชนได้ถูกนำมาเป็นแนวทางในการพัฒนาการทำงานของเจ้าหน้าที่ตำรวจให้ตรงกับสภาพปัญหา และความต้องการของประชาชนอย่างแท้จริง โดยมีองค์ประกอบที่สำคัญ ดังนี้
- สำรวจกล้อง CCTV ในพื้นที่ ปรับมุมกล้อง และบูรณาการการใช้งานกล้องร่วมกันพร้อมติดตั้งเพิ่มเติม
- นำนวัตกรรมใหม่ๆ มาใช้เพื่อประสิทธิภาพในการป้องกันอาชญากรรม เช่น มีการติดตั้งกล้อง AI ตรวจจับใบหน้า และกล้อง AI ตรวจจับป้ายทะเบียนรถยนต์ เป็นต้น
- ติดตั้งเสาสัญญาณ SOS เพื่อประชาชนสามารถแจ้งเหตุด่วนได้ทันที
- จัดทำห้องปฏิบัติการ CCOC โดยเชื่อมสัญญาณจากกล้องของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ หน่วยงานราชการ และเอกชนมายังห้องปฏิบัติการและนำเทคโนโลยีใหม่ๆ มาใช้ร่วมกับเจ้าหน้าที่ประจำศูนย์เพื่อคอยควบคุมสั่งการได้ตลอด 24 ชั่วโมง
- ใช้แอพพลิเคชั่นต่าง ๆ เพื่อความรวดเร็วในการสื่อสาร เช่น POLICE 4.0 , POLICE I LERT U , Line OA , แจ้งความออนไลน์ รวมถึงการสร้าง Cyber Village เป็นต้น
- ร่วมกับหน่วยงานในท้องที่ปรับภูมิทัศน์ของพื้นที่เสี่ยงให้เป็นพื้นที่ปลอดภัย
- สร้างกลไกการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายประชาชนในการช่วยป้องกันอาชญากรรม
- ประชาสัมพันธ์โครงการ เพื่อสร้างการรับรู้ และการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายโครงการ สมาร์ทเซฟตี้โซน 4.0 ช่วงระยะที่สองใน 100 สถานีนำร่อง ได้ดำเนินการไปได้อย่างมีประสิทธิภาพด้วยการสนับสนุนของทุกภาคส่วนที่ช่วยกันสร้างมิติใหม่แห่งความปลอดภัย “เปลี่ยนพื้นที่สายเปลี่ยวให้เกิดเป็นพื้นที่ปลอดภัย” เพื่อสร้างความเชื่อมั่น อุ่นใจ ปลอดภัย ในชุมชน ซึ่ง ในระยะที่สาม ผบ.ตร. มีนโยบายให้ขยายโครงการเข้าสู่ 1,484 สถานีตำรวจครอบคลุมทุกพื้นที่ทั่วประเทศไทย ในลำดับต่อไป
สถานีตำรวจที่ผลการดำเนินงานยอดเยี่ยม และภาคีครือข่ายประชาชน
ที่ให้ความร่วมมือในการเข้าร่วมโครงการอย่างดีเยี่ยม รวมจำนวนทั้งสิ้น 14 รางวัล
- รางวัลกองบัญชาการทรงคุณค่า ได้แก่ ตำรวจภูธรภาค 8 ผู้รับรางวัล โดย พลตำรวจตรี ศักดิ์ศิรา เผือกอ่ำ รองผู้บัญชาการตำรวจภูธร ภาค 8
2.รางวัลชนะเลิศ ได้แก่ สถานีตำรวจภูธร เมืองสุโขทัย ผู้รับรางวัล โดย พันตำรวจเอก ไพบูลย์ กาศอุดม ผู้กำกับการ สถานีตำรวจภูธร เมืองสุโขทัย - รางวัลรองชนะเลิศ อันดับ 1 ได้แก่ สถานีตำรวจภูธร เบตง ผู้รับรางวัล โดย พันตำรวจเอก เอกชัย พราหมณกุล ผู้กำกับการ สถานีตำรวจภูธร เบตง
- รางวัลรองชนะเลิศ อันดับ 2 ได้แก่ สถานีตำรวจภูธร เมืองอุดรธานี ผู้รับรางวัล โดย พันตำรวจเอก จามร อันดี ผู้กำกับการ สถานีตำรวจภูธร เมืองอุดรธานี
และรางวัลชมเชย จำนวน 7 สถานี ได้แก่ … - สถานีตำรวจภูธร เมืองเชียงใหม่
ผู้รับรางวัล โดย พันตำรวจเอก ภูวนาถ ดวงดี ผู้กำกับการ สถานีตำรวจภูธร เมืองเชียงใหม่ - สถานีตำรวจฎธร เมืองสมุทรสาคร
ผู้รับรางวัล โดย พันตำรวจเอก ยงลิต ศุภผล รักษาการผู้กำกับการ สถานีตำรวจภูธร เมืองสมุทรสาคร - สถานีตำรวจภูธร กระสัง
ผู้รับรางวัล โดย พันตำรวจเอก วิษณุ อาภรณ์พงษ์ ผู้กำกับการ สถานีตำรวจภูธร กระสัง - สถานีตำรวจภูธร เขาหลัก
ผู้รับรางวัล โดย พันตำรวจเอก จิระวัฒน์ สาระรัมย์. ผู้กำกับการ สถานีตำรวจภูธร เขาหลัก - สถานีตำรวจภูธร เมืองแพร่
ผู้รับรางวัล โดย พันตำรวจเอก วรพล พลมณี ผู้กำกับการ สถานีตำรวจภูธร เมืองแพร่ - สถานีตำรวจภูธร เมืองชลบุรี
ผู้รับรางวัล โดย พันตำรวจเอก นิทัศน์ แหวนประดับผู้กำกับการ สถานีตำรวจภูธร เมืองชลบุรี - สถานีตำรวจภูธร เมืองสุราษฎร์ธานี
ผู้รับรางวัล โดย พันตำรวจเอก นิพล ชาตรี ผู้กำกับการ สถานีตำรวจภูธร เมืองสุราษฎร์ธานี
รางวัลสำหรับภาคีเครือข่ายประชาชนดีเยี่ยม จำนวน 3 รางวัล ได้แก่ - ภาคีเครือข่ายประชาชน สถานีตำรวจภูธร เมืองอุดรธานี
ผู้รับรางวัล โดยนายสยาม ศิริมงคล ผู้ว่าราชการจังหวัดอุดรธานี - ภาคีเครือข่ายประชาชน สถานีตำรวจภูธร เมืองสมุทรปราการ
ผู้รับรางวัล โดย คุณนันทิดา แก้วบัวสาย นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสมุทรปราการ - ภาคีเครือข่ายประชาชน สถานีตำรวจภูธร เมืองแพร่
ผู้รับรางวัล โดยคุณทินกร เล้าตระกูล ที่ปรึกษาและคณะทำงานจากภาคธุรกิจ