ทนายพจน์ ให้ความเห็นกรณีฉากวางยาแมวซีรี่ส์ดัง เรื่องแม่หยัว ซึ่งเป็นประเด็นดราม่าในโลกโซเชียลถึงความเหมาะสมหรือไม่กับการใช้ยาสลบเพื่อแสดงให้เห็นว่าแมวถูกยาพิษจนเสียชีวิต ซึ่งแพทยสภาได้ มีการเคลื่อนไหวจะมีการตรวจสอบในเรื่องดังกล่าวด้วย โดยทนายดังที่แมวไม่ได้ยินยอม ให้มีการวางยาสลบ และหากไม่มีผู้เชี่ยวชาญหรือสัตวแพทย์ที่พิสูจน์ได้ก็อาจจะเข้าข่ายกระทำความผิดพรบ.คุ้ครองสัตว์
วันที่ 9 พฤศจิกายน 67 นายศุภภัทร์พจน์ นิติศศธร ทนายความ ได้ออกมาให้ความเห็นประเด็นดราม่า หลังจากฉากในละครซีรีส์ดัง “แม่หยัว” มีฉากลักษณะเหมือนมีการวางยาสลบให้แมวมีท่าทางเหมือนโดนยาพิษซึ่งมีคนรักหมา แมว รวมถึงชาวเน็ตได้มีประเด็นและกระแสความเป็นห่วงในเรื่องความปลอดภัยของแมวตัวสีดำที่มีการเข้าฉากดังกล่าว แม้หลังมีการออกอากาศไม่นานแต่มีกระแสเรียกร้องไปยังแพยสภาได้มีการเคลื่อนไหวถึงประเด็นดังกล่าวซึ่งได้แจ้งผ่านเพจว่าจะมีการตรวจสอบเรื่องดังกล่าวต่อไป รวมถึงผู้กำกับของซีรีส์ดังกล่าวได้ออกมาชี้แจงว่าการกระทำดังกล่าวได้มีแพทย์ดูแลขั้นตอนการวางยาซึ่งสุขภาพของน้องแมวยังแข็งแรงดีในปัจจุบัน
สำหรับเรื่องดังกล่าว นายศุภภัทร์พจน์ นิติศศธร ทนายความ มองว่าประเด็นนี้ยังไม่สามารถพิสูจน์ได้ว่าจะมีแพทย์หรือบุคลากรทางการแพทย์อยู่ในขั้นตอนของการวางยาสลบแมวตามที่มีการออกมาชี้แจงหรือเรียกร้องของคนรักสุนัขและแมวผ่านโลกโซเชียลเป็นจำนวนมากหรือไม่แต่มีความสูงเสี่ยงที่จะเกิดประเด็นเกี่ยวกับการเข้าหาพรบ.คุ้มครองสัตว์ โดยมีประเด็นว่าการกระทำดังกล่าวหากมีผู้ไม่มีความรู้อยู่ในนั้นเป็นผู้ลงมือกระทำถึงชัดเจนว่าแมวยินยอมให้มีการดำเนินการเช่นนั้นอาจเข้าข่ายผิดข้อหาในเรื่องนั้นด้วย
นายศุภภัทร์พจน์ นิติศศธร ทนายความ กล่าวว่า การวางยาสลบในฉากละครดังกล่าว ในข้อกฎหมายก็อาจจะทำให้เกิด การสำลักได้เพราะอาจจะไม่ได้อดอาหารมาก่อนและเศษอาหารที่เกิดการสำลักก็อาจจะไปอุดหลอดลมและจะเป็นสาเหตุของการทำให้เสียชีวิตได้ ดังกล่าวก็น่าจะเข้ากับพรบ.ป้องกันคุ้มครองสัตว์ปี 2557 มาตรา 20 ว่าไว้คือ ว่าห้ามทารุณกรรมสัตว์โดยไม่มีเหตุอันควร ใครทำผิดในมาตรานี้ก็จะเข้าข่ายความผิดตามมาตร 31 ลงโทษจำคุกไม่เกินสองปีปรับไม่เกิน 40,000 บาท
นายศุภภัทร์พจน์ กล่าวต่อไปว่า ส่วนกรณีที่มีบุคคลากรทางการแพทย์อยู่ในนั้น ประการแรกคือแมวไม่ยินยอมด้วย ประการที่สองหากผู้มีความรู้อยู่ด้วย ได้มีกระบวนการในการให้อดอาหารก่อนที่จะมีการวางยาสลบหรือไม่เพื่อป้องกันที่จะให้ไม่เกิดการสำลักไปอุดหลอดลม ซึ่งต้องทำด้วยความยินยอมและหากทำโดยไม่มีผู้มีความชำนาญก็จะเข้าข่ายทารุณกรรมสัตว์ โดยยิ่งทำเพื่อเป็นการให้สัตว์เข้าฉากเพื่อประโยชน์อันใดก็จะเห็นเจตนา
“เราจะวางยาสลบคนโดยวิสัญญีแพทย์ก็ยังต้องมีการยินยอม แต่แมวเค้าไม่ได้ยินยอมด้วยและถ้าทำโดยคนที่ไม่ได้เชี่ยวชาญก็จะผิดในฐานทารุณกรรมสัตว์” นายศุภภัทร์พจน์ ทิ้งปมสงสัยปิดท้าย
ปนิทัศน์ มามีสุข นส.ปณิดา มามีสุข จ.นครปฐม 092-5462794