วิทยาลัยชุมชนยะลา อบรมการแปรรูปสมุนไพรและช่องทางการตลาด
วันนี้ 2 ส.ค.65 ผู้สื่อข่าวได้ลงพื้นที่ชุมชนบาโงตาแยและชุมชนนาเตย หมู่ที่ 3 ต.โกตาบารู อ.รามัน จ.ยะลา ซึ่งทางวิทยาลัยชุมชนยะลา (Yala Community College)ได้มีการอบรมการแปรรูปพืชสมุนไพรและช่องทางการตลาดของพืชสมุนไพร ภายใต้โครงการส่งเสริมการปลูกพืชสมุนไพรและการสร้างมูลค่าเพิ่มจากผลิตภัณฑ์สมุนไพร ประจำปี 2565 โดยมี นายวรัญญู แก้วทอง หัวหน้า หลักสูตรสาขาวิชาเทคโนโลยีการเกษตรวิทยาลัยชุมชนยะลา นายอับดุลรอนิง กามาเซ๊ะ ประธานชุมชนบาโงตาแย/ประธานกลุ่มส่งเสริมอาชีพการเกษตรชุมชนบาโงตาแย พร้อมคณะทำงาน และผู้ที่เกี่ยวข้องในด้านต่างๆ พร้อมให้ความช่วยเหลืออย่างเต็มที่
สำหรับการจัดอบรมการแปรรูปพืชสมุนไพรและช่องทางการตลาดของพืชสมุนไพรในครั้งนี้ มีพี่น้องประชาชนในชุมชนบาโงตาแย และ ชุมชนนาเตย ให้ความสนใจเข้าร่วมอบรม จำนวน 30 คน ซึ่งในการอบรมในครั้งนี้ มีการบรรยายให้ความรู้ในหัวข้อเรื่อง “การให้ความรู้เกี่ยวกับการแปรรูปพืชสมุนไพรในชุมชน” รวมถึงช่องทางการตลาดของพืชสมุนไพร และลงมือปฏิบัติการแปรรูปพืชสมุนไพร 3 ชนิด ได้แก่ ไพล ตะไคร้หอม ขมิ้นชัน ซึ่งนำมาพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ น้ำมันนวดแบบชนิดแข็ง ชนิดน้ำซึ่งได้แปรรูปมาจากหัวไพล และผลิตภัณฑ์โลชั่นกันยุงตะไคร้หอม ซึ่งกิจกรรมดังกล่าวสามารถตอบโจทย์ BCG ซึ่งเป็นการพัฒนาเศรษฐกิจในชุมชน โดยชุมชนได้นำผลิตภัณฑ์ในพื้นที่มาพัฒนาต่อยอดเป็นสินค้าเพื่อใช้เองและจัดจำหน่ายก่อให้เกิดรายได้ต่อตนเองครอบครัวและชุมชนต่อไป
ผู้ช่วยศาสตราจารย์เวคิน วุฒิวงศ์ หลักสูตรการพัฒนาชุมชน คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา กล่าวว่า ตนเองมาเป็นวิทยากร ให้กับทางวิทยาลัยชุมชนยะลา เพราะได้รับติดต่อเป็นวิทยากรทำในเรื่องสมุนไพร ครั้งก่อนลงมาให้ชาวบ้านเลือกว่าจะทำอะไร ทางมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลามีองค์ความรู้อยู่พอสมควรในเรื่องของการทำผลิตภัณฑ์ชุมชน โจทย์คือ ปลูกไพลเยอะมีสมุนไพรบางตัวที่สามารถที่จะมาทน้ำมันนวดได้ ชาวบ้านเป็นคนเลือกเองว่าจะได้อะไร เลยตอบโจทย์ให้เขา เลยมาสาธิตให้ชาวบ้านดูว่าสิ่งเหล่านี้ที่อยากได้ว่าจะเอาแบบไหน อย่างไร ถ้าเกิดเอาเลยนัดวันกันมา ในสมุนไพรพื้นบ้านเป็นไพลที่มาสกัดเป็นสกัดร้อน เอาไพลมาถอดในน้ำมันมะพร้าวสกัดเย็น วิธีการทำคือไม่ได้อยากเพราะขึ้นเย็นส่วนใหญ่ที่สำคัญต้องคิดวิธีการที่จะให้ประหยัดเวลาที่สุดเพราะพี่น้องประชาชนไม่ได้ว่าง ถ้าสอนแบเดิมๆไม่ได้เอาเทคโนโลยีที่เหมาะสมมาใช้หรือเทคโนโลยีที่สูงเกินไปชุมชนจะทำได้ลำบาก ชาวบ้านมาทำมีความสุขมีเสียงหัวเราะรอยยิ้มได้สิ่งที่ดีๆกลับไป มีน้ำมันอยู่ 2 แบบ มีน้ำมันนวดทำน้ำมันดม – ทานวดในขวดเดียวกัน เพราะปกตินวดคือนวด จะทาแมลงสัตว์กัดต่อยก็ทาแมลงสัตว์กัดต่อย ที่นี้มาดำเนินโดยรูปแบบของดม-ทานวดในขวดเดียวกัน ชาวบ้านใช้ได้และขายได้ด้วย อีกตัวคือยาหม่องแข็งต้องเพิ่มบางตัวเขาไปเคมีพันธุ์บางตัวเข้าไปเช่น เมนทอล เพื่อตอบโจทย์อีกทีหนึ่ง
นายวรัญญู แก้วทอง หัวหน้า หลักสูตรสาขาวิชาเทคโนโลยีการเกษตรวิทยาลัยชุมชนยะลา กล่าวว่า ตนเองได้รับผิดชอบโครงการส่งเสริมการปลูกพืชสมุนไพรและสร้างมูลค่าเพิ่มจากผลิตภัณฑ์สมุนไพรในชุมชน โครงการนี้เป็นโครงการที่เป็นความต้องการของ 2 ชุมชน ประกอบด้วย ชุมชนบาโงตาแย และ ชุมชนนาเตย ต.โกตาบารู อ.รามัน จ.ยะลา ซึ่งก่อนหน้านี้ทางวิทยาลัยชุมชนยะลา ได้มาสำรวจลงพื้นที่ มาศึกษาความต้องการในเรื่องของการปลูกพืชสมุนไพรจากการที่ลงมาสำรวจได้ความต้องการของชาวบ้านทั้งสองชุมชน จะมาให้ส่งเสริมในการเรื่องของการปลูกพืชสมุนไพรทั้งหมด 3 ชนิด ไพล ขมิ้นชัน ตะไคร้หอม จะมาส่งเสริมในเรื่องของฝึกแปรรูปการเพิ่มช่องทางการตลาดในเรื่องของการทำผลิตภัณฑ์สมุนไพร
ทางด้าน นายอับดุลรอนิง กามาเซ๊ะ ประธานชุมชนบาโงตาแย เล่าว่า สำหรับการต่อยอดสมุนไพรที่ได้รับการส่งเสริม คือ ไพล ขมิ้นชัน ตะไคร้หอม ใน 3 ตัวนี้ได้รับการส่งเสริมจากวิทยาลัยชุมชนยะลา ลงสู่ชุมชน หมู่บ้าน สิ่งแรกที่ชาวบ้านได้รู้คือการแปรรูปสมุนไพรที่ปลูกในอนาคตอาจจะเป็นการตั้งวิสาหกิจชุมชนต่อไป
อะหมัด รามันห์สิริวงศ์ / ยะลา