สืบนครบาล จับกุมบัญชีม้าแก๊งคอลเซนเตอร์หลอกเป็นสภ.เมืองชุมพร สูญเงิน 2 ล้านบาท อ้างถูกหลอกทำงานแก๊งคอลประเทศเพื่อนบ้าน
.
จากนโยบายรัฐบาลและสำนักงานตำแห่งชาติ ให้ระดมกวาดล้างจับกุมซิมผีบัญชีม้ามิจฉาชีพ ที่สร้างความเดือดร้อนให้ประชาชน ตามนโยบายของ พล.ต.อ.ต่อศักดิ์ สุขวิมล ผบ.ตร. พล.ต.อ.กิตติ์รัฐ พันธุ์เพ็ชร์ รองผบ.ตร.และ พล.ต.ท.ธัชชัย ปิตะนีละบุตร ผู้ช่วย ผบ.ตร.
มีนโยบายและมาตรการป้องกันปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยี
.
เมื่อ วันที่ 16 กันยายน 2567 พล.ต.ท.ธิติ แสงสว่าง ผบช.น. พล.ต.ต.วสันต์ เตชะอัครเกษม รอง ผบช.น. พล.ต.ต.ธีรเดช ธรรมสุธีร์ ผบก.สส.บช.น., พ.ต.อ.อิสเรศ ปาลาพงศ์ รอง ผบก สส.บช.น. , พ.ต.อ.อรรชวศิษฎ์ ศรีบุญยมานนท์ ผกก.สส.3 บก.สส.บช.น., พ.ต.ท.ปกรณ์ ทองช่วง และ พ.ต.ท.วิโรฒ จนุบุษย์ รอง ผกก.สส.3 บก.สส.บช.น. ได้สั่งการให้ พ.ต.ต.วรุตม์ คำหล้า สว.กก.สส.3 บก.สส.บช.น. พร้อมด้วย ร.ต.อ.พิชชากร กองสวัสดิ์ ,ร.ต.อ.พงศธร อารีย์ รอง สว.กก.สส.3 บก.สส.บช.น., ด.ต.ประเทศ ช่อลำเจียก,จ.ส.ต.ภานุพงศ์ เวฬุวนารักษ์, จ.ส.ต.อวิรุทธ์ เนียมบุญเจือ, จ.ส.ต.นิติสิทธิ์ โชติคุต, ส.ต.อ.พลภัทร ปรีชา ผบ.หมู่ กก.สส.3 บก.สส.บช.น. ชุดปฏิบัติการที่ 3 จับกุมตัว
นายศักดิ์ชัย อายุ 27 ปี ภูมิลำเนา ตำบลคลองสอง อำเภอคอลงหลวง จังหวัดปทุมธานี
บุคคลตามหมายจับ 2 หมายจับ
- ศาลจังหวัดสมุทรปราการ ที่ 787/2567 ลงวันที่ 4 กันยายน 2567 ซึ่งต้องหาว่ากระทำความผิดฐาน “เป็นผู้สนับสนุนความผิดฐานฉ้อโกงประชาชนโดยการแสดงตนเป็นคนอื่น”
- ศาลเยาวชนและครอบครัวกลาง(สาขามีนบุรี) ที่ 5/2566 ลงวันที่ 14 มีนาคม 2566 ซึ่งต้องหาว่ากระทำความผิดฐาน “ลักทรัพย์ในเคหสถานในเวลากลางคืนหรือรับของโจร”
.
จับกุมที่ห้องเช่า ซอยไทยธานี16 ต.คลองหนึ่ง อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี
.
พฤติการณ์ในคดี คนร้ายโทรศัพท์สุ่มเข้ามาหาผู้เสียหาย อ้างเป็นเจ้าหน้าที่ตำรวจ สภ.เมืองชุมพร แจ้งผู้เสียหายว่ามีพัสดุจากบริษัทเคอรี่ ไม่ทราบว่าเป็นของผู้ใดตรวจสอบพัสดุพบ หนังสือเดินทาง, บัตรเอทีเอ็ม, พร้อมสมุดธนาคาร ซึ่งมีชื่อของผู้เสียหายปรากฏอยู่ แล้วอ้างว่าผู้เสียหายอาจจะมีส่วนพัวพันเกี่ยวข้องกับมิจฉาชีพ ระหว่างนั้นได้มีการเพิ่มเพื่อนทางแอปพลิเคชั่นไลน์ชื่อ “สภ.เมืองชุมพร” แล้ววิดีโอคอลมาหาผู้เสียหาย (เห็นบุคคลแต่งกายด้วยเครื่องแบบตำรวจ) แล้วแสดงตัวว่าเป็น พ.ต.ท. ประจำอยู่ สภ.เมืองชุมพร ให้ผู้เสียหายแสดงความบริสุทธิ์ใจ โดยการโอนเงินมาเพื่อทำการตรวจสอบ แล้วจะโอนเงินกลับคืนมาภายใน 2 วัน
.
ผู้เสียหายหลงเชื่อจึงโอนเงินไปดังนี้
1.เมื่อวันที่ 19 เมษายน 2567 เวลา 15.03 น. โอนเงินจากบัญชีธนาคารผู้เสียหาย ไปยังบัญชีธนาคารของ นายศักดิ์ชัย ผู้ต้องหานี้ เป็นจำนวนเงิน 1,480,000 บาท
2.เมื่อวันที่ 19 เมษายน 2567 เวลา 16.01 น. โอนเงินจากบัญชีธนาคารผู้เสียหายไปยังบัญชีธนาคาร นายศักดิ์ชัย ผู้ต้องหานี้ เป็นจำนวนเงิน 47,000 บาท
3.เมื่อวันที่ 19 เมษายน 2567 เวลา 16.08 น. โอนเงินจากบัญชีธนาคารผู้เสียหาย ไปยังบัญชีธนาคาร นายศักดิ์ชัย ผู้ต้องหานี้ เป็นจำนวนเงิน 428,000 บาท
4.เมื่อวันที่ 19 เมษายน 2567 เวลา 16.22 น. โอนเงินจากบัญชีธนาคารผู้เสียหาย ไปยังบัญชีธนาคาร นายศักดิ์ชัย ผู้ต้องหานี้ เป็นจำนวนเงิน 260,000 บาท
รวมผู้เสียหายโอนเงิน ทั้งหมด 2,121,015 บาท
หลังจากนั้นผู้เสียหายก็ได้เล่าเหตุการณ์ดังกล่าวให้หลานสาวฟัง แล้วแจ้งกลับผู้เสียหายว่าเหตุการณ์ดังกล่าวคือถูกมิจฉาชีพหลอกลวง หลังจากนั้นก็ไม่มีการโอนเงินกลับมาให้ผู้เสียหายแต่อย่างใด จึงเชื่อว่าตนถูกหลอกลวง จึงมาพบพนักงานสอบสวน สภ.สำโรงเหนือ เพื่อแจ้งความร้องทุกข์ให้ดำเนินคดีกับคนร้ายจนกว่าคดีจะถึงที่สุด พนักงานสอบสวนจึงได้ออกหมายเรียกผู้ต้องหาปรากฏว่าผู้ต้องหาไม่ได้มาพบ พนักงานสอบสวนจึงได้ยื่นขอหมายจับผู้ต้องหา
.
ต่อมาเจ้าหน้าที่ตำรวจสืบนครบาล กก.สส.3 บก.สส. บช.น. ได้สืบสวนติดตามจับกุมผู้ต้องหานี้ ผู้ต้องหารู้ตัวว่าวันใดวันหนึ่ง จะต้องถูกติดตามจับกุมดำเนินคดี จึงระมัดระวังตัว วันนี้มีเจ้าหน้าที่ตำรวจมาเคาะห้องพัก แต่ผู้ต้องหาไม่เปิด ทำเหมือนไม่มีคนอยู่ในห้อง เมื่อเจ้าหน้าที่ตำรวจออกไป ผู้ต้องหาแอบย่องจากห้องตัวเอง ไปแอบซ่อนตัว อยู่ในห้องน้ำ ห้องพักข้างๆ ซึ่งเป็นห้องว่างไม่มีผู้พักอาศัย เจ้าหน้าที่ตำรวจเห็นความผิดปกติจึงตรวจสอบห้องที่ผู้ต้องหาหลบอยู่ และพบว่าผู้ต้องหายืนตัวลีบหลบอยู่หลังประตูห้องน้ำ
.
หลังถูกจับกุมผู้ต้องหา นายศักดิ์ชัย ให้การกับเจ้าหน้าที่ตำรวจว่า เมื่อประมาณ เดือนเมษายน 2567 มีพี่ที่รู้จักกันชักชวนให้เปิดบัญชีและไปทำงานคาสิโนที่ปอยเปต ประเทศกัมพูชา จำนวน 3 วัน โดยมีนายหน้ามารับ ด้วยรถตู้เดินทางไปยังไปอรัญประเทศ จังหวัดสระแก้ว และภายในรถตู้มีผู้สมัครทำงานคล้ายตนนั่งไปด้วย 6 คน เมื่อไปถึงชายแดน ต้องเดินเท้าผ่านป่าจนถึงลำคลอง จากนั้นนั่งแพข้ามน้ำไปขึ้นฝั่งประเทศกัมพูชา จะมีชายชาวกัมพูชามารอรับอยู่อีกฝั่ง และพาเดินทางไปยังที่พัก เป็นตึก 5 ชั้น โดยพักห้องละ 5 คน
.
ในวันแรกยังไม่มีอะไร วันที่ 2 มีการเรียกไปสแกนหน้าเพื่อโอนย้ายข้อมูลแอปธนาคารไปยังเครื่องของผู้ว่าจ้าง และเปิดบัญชีธนาคารแบบออนไลน์เพิ่มเติมอีก รวมทั้งสิ้นจำนวนประมาณ 5 บัญชี วันที่ 3 เรียกไปสแกนหน้าเพื่อทำธุรกรรม วันที่ 4 เดินทางกลับ และได้ค่าตอบแทน จำนวน18,000 บาท พร้อมพวกอีก 6 คนเดินทางกลับมาด้วย โดยมีชายชาวกัมพูชา มารับจากที่พักไปส่งจุดเดิมที่มาแล้วนั่งแพกลับเข้าไทยผ่ายช่องทางธรรมชาติ เมื่อถึงไทยต่างคนต่างแยกย้าย จากนั้นได้นำตัวส่ง สภ.สำโรงเหนือ เพื่อดำเนินคดีต่อไป
.
พล.ต.ต.ธีรเดช ธรรมสุธีร์ ขอฝากเตือนภัยมิจฉาชีพแก๊งคอลเซ็นเตอร์แอบอ้างเป็นเจ้าหน้าที่ตำรวจหลอกลวงให้ประชาชนโอนมาตรวจสอบ แจ้งไปยังผู้เสียหายว่าบัญชีธนาคาร หรือพัสดุที่ส่งไปต่างประเทศมีส่วนเกี่ยวข้องกับการกระทำความผิด หรือบัญชีธนาคารของคุณถูกอายัด เป็นหนี้บัตรเครดิต เกี่ยวข้องกับการค้ายาเสพติด การฟอกเงิน มีคดีความ หรือหลอกลวงว่าได้เช็คเงินคืนภาษี หรือหลอกถามข้อมูลส่วนตัวเพื่อนำไปปลอมแปลงในการทำธุรกรรมต่างๆ กระทั่งผู้เสียหายหลงเชื่อโอนเงินไปยังบัญชีที่มิจฉาชีพเตรียมไว้ ทำให้ได้รับความเสียหายเป็นจำนวนมาก ขอประชาสัมพันธ์แนวทางป้องกัน ดังนี้ ไม่มีนโยบายของเจ้าหน้าที่ของรัฐ ที่จะต้องโทรศัพท์ไปยังประชาชน เพื่อแสดงเอกสาร กล่าวอ้างว่าท่านกระทำความผิด หรือมีส่วนในการกระทำความผิด หากพบการกระทำดังกล่าว สันนิษฐานได้ว่าเป็นมิจฉาชีพแน่นอน ไม่ตกใจ ไม่เชื่อเรื่องราวต่างๆ วางสายการสนทนาดังกล่าว ไม่โอนเงิน หากมีคำพูดว่าให้โอนเงินมาตรวจสอบเพื่อแสดงความบริสุทธิ์ ไม่กดลิงก์ ติดตั้งแอปพลิเคชันใดๆ ที่ไม่ทราบแหล่งที่มาที่ชัดเจน ทั้งนี้หากพบเบาะแสการกระทำผิด สามารถติดต่อไปยังสายด่วน หมายเลข 1441