กองบัญชาการตํารวจสอบสวนกลาง โดย พล.ต.ท.จิรภพ ภูริเดช ผบช.ก., พล.ต.ต.ณัฐศักดิ์ เชาวนาศัย, พล.ต.ต.โสภณ สารพัฒน์ รอง ผบช.ก, เจ้าหน้าที่ตํารวจ บก.ปคบ. โดยการสั่งการของ พล.ต.ต.วิทยา ศรีประเสริฐภาพ ผบก.ปคบ., พ.ต.อ.อนุวัฒน์ รักษ์เจริญ, พ.ต.อ.ชัฏฐ นากแก้ว, พ.ต.อ.ปัญญา กล้าประเสริฐ รอง ผบก.ปคบ., พ.ต.อ.วีระพงษ์ คล้ายทอง ผกก.4 บก.ปคบ. ปฏิบัติการจับกุมผู้ต้องหาอ้างตัวเป็นแพทย์ฉีด เสริมความงามให้ประชาชน
สืบเนื่องจากกองกํากับการ 4 กองบังคับการปราบปรามการกระทําความผิดเกี่ยวกับการคุ้มครอง ผู้บริโภค ได้รับแจ้งเบาะแสจากประชาชน ขอให้ทําการตรวจสอบบุคคลแอบอ้างตัวเป็นแพทย์ฉีดเสริมความ งามให้ประชาชนโดยจะนัดหมายกลุ่มลูกค้าผ่านทางเฟซบกุ๊ จากนั้นเปิดโรงแรมย่านสุขุมวิทใช้เป็นสถานที่ ฉีดเสริมความงาม เช่น ฉีดวิตามินผิว, ฟิลเลอร์, โบท็อก โดยสงสัยว่าบุคคลที่ทําหัตถการให้ไม่ใช่แพทย์
เจ้าหน้าที่ตํารวจจึงทําการสืบสวนหาข่าวพบว่ามีการนัดหมายกลุ่มลูกค้าเข้ามารับบริการฉีดเสริม ความงามโดยใช้โรงแรมต่างๆ ย่านสุขุมวิทเป็นสถานที่นัดหมายสําหรับให้บริการจริง
ต่อมาวันที่ 2 สิงหาคม 2567 เจ้าหน้าที่ตํารวจ กก.4 บก.ปคบ. จึงลงพื้นที่ตรวจสอบสถานที่ดังกล่าว พบ น.ส.เจติยา (สงวนนามสกุล) อายุ 39 ปี แอบอ้างเป็นแพทย์หญิง ให้บริการฉีดรักษา เสริมความงามแก่ ลูกค้าที่นัดหมายไว้ โดยขณะนั้นมีลูกค้ารอรับบริการอยู่หลายราย จากการตรวจสอบพบว่า น.ส.เจติยาฯ ไม่ใช่ แพทย์ และไม่มีใบประกอบวิชาชีพเวชกรรม ประกอบกับสถานที่ดังกล่าวมีลักษณะเป็นห้องพักในโรงแรม ไม่ได้รับอนุญาตให้ประกอบกิจการสถานพยาบาล และดําเนินการสถานพยาบาล
เจ้าหน้าที่ตํารวจจึงได้ จับกุม น.ส.เจติยาฯพร้อมตรวจยึดของกลางรวม5รายการได้แก่ยาที่บรรจุในไซริ้งค์พร้อมฉีดไซริ้งเข็ม และฟิลเลอร์สําหรับใช้ฉีดให้ประชาชน นําส่งพนักงานสอบสวน กก.4 บก.ปคบ.
โดย น.ส.เจติยาฯ รับว่าตนไม่ใช่แพทย์ ไม่มีความรู้ ความชํานาญ อย่างแพทย์ผู้มีวิชาชีพแต่อย่างใด เรียนจบการศึกษาระดับชั้น ปวช.3 สาขาการขาย และไปศึกษากับภรรยาของหมอจีนท่ีพักอาศัย ภายในประเทศมาเลเซีย จึงพอมีความรู้เกี่ยวกับการแพทย์ ประกอบกับมีความสนใจในด้านศัลยกรรมเสริม ความงาม และเห็นช่องทางว่ามีรายได้ดี จึงเริ่มรับงานโดยแอบอ้างตัวเป็นแพทย์ศัลยกรรมเฉพาะทาง รับฉีด วิตามินผิว ฟิลเลอร์ โบท็อก ให้กับลูกค้าทั้งในประเทศไทยและประเทศมาเลเซีย
โดย น.ส.เจติยาฯ จะนัด
หมายลูกค้าผ่านเฟซบุ๊กครั้งละหลายราย และเปิดโรงแรมรายวันเพื่อให้บริการฉีดเสริมความงามให้ลูกค้า ตามสถานที่ต่างๆ เพื่อหลบเลี่ยงการตรวจสอบจากเจ้าหน้าที่ตํารวจ โดยจะใช้จุดนัดหมายหลายจุด และ เปลี่ยนสถานที่ไปเรื่อยๆ โดยทํามาแล้วประมาณ 5 ปี มีรายได้เดือนละ 20,000-40,000 บาท
การกระทําของผู้ต้องหาดังกล่าวเป็นความผิดตาม
- พ.ร.บ.วิชาชีพเวชกรรม พ.ศ.2525 ฐาน “ประกอบวิชาชีพเวชกรรม โดยไม่ได้รับอนุญาต” ต้อง ระวางโทษจําคุกไม่เกิน 3 ปีหรือปรับไม่เกิน 30,000 บาท หรือทั้งจําทั้งปรับ
- พ.ร.บ.ยา พ.ศ. 2510 ฐาน “ขายยาแผนปัจจุบันโดยไม่ได้รับอนุญาต” ระวางโทษจําคุกไม่เกิน 5 ปี และปรับไม่เกิน 10,000 บาท
พล.ต.ต.วิทยา ศรีประเสริฐภาพ ผบก.ปคบ. กล่าวฝากความห่วงใยมายังพี่น้องประชาชนว่า ควร ศึกษาข้อมูลคลินิก แพทย์ผู้ทําการรักษา และขั้นตอนการรักษาให้ดีก่อนที่จะเข้ารับบริการเสริมความงาม อย่า หลงเชื่อโปรโมชั่น หรือราคาที่เสนอต่ํากว่าคลินิกทั่วไป เนื่องจากการเสริมความงามเป็นขั้นตอนและวิธีการที่ จะต้องใช้ผู้มีความเชี่ยวชาญเฉพาะทาง และเกิดผลกระทบกับใบหน้า และร่างกายโดยตรง และแจ้งเตือนไปยัง ผู้ที่ลักลอบกระทําความผิด ไม่ว่าจะเป็นบุคคลที่สวมรอยเป็นหมอ หมอเถื่อน หรือคลินิกเถื่อน ให้หยุด พฤติการณ์ดังกล่าวทันที เพราะเจ้าหน้าที่ตํารวจจะดําเนินการจับกุมอย่างต่อเนื่อง
หากตรวจพบจะดําเนินคดี โดยเด็ดขาด พี่น้องประชาชนสามารถแจ้งข้อมูลได้ที่ สายด่วน บก.ปคบ.1135 หรือเพจ ปคบ.เตือนภัยผู้บริโภค
“ผู้ต้องหาหรือจําเลยยังเป็นผู้บริสุทธิ์ตราบใดที่ศาลยังไม่มีคําพพิ ากษาถึงที่สุด”