สำนักงานเลขาธิการ
สภาผู้แทนราษฎร 30 มิ.ย. 65 เวลา 14.20 น. ณ ห้องแถลงข่าว ชั้น 1 อาคารรัฐสภา นายจิรวัฒน์อรัณยกานนท์ โฆษกคณะ กมธ. การคุ้มครองผู้ บริโภค และคณะแถลงข่าวเกี่ยวกับ ข้อเสนอแนะของ คณะ กมธ. เกี่ยวกับความเดือดร้อนของ
ผู้บริโภคที่ได้รับจากการซื้อขายสินค้าออนไลน์ ว่าเนื่องด้วยทุกวันนี้ตามรายงานของ2022DigitalGlobal Overviewของ We Are Socialพบว่า ผู้ใช้บริการ อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย มีจำนวนมากถึง 54.5 ล้านคน (ร้อยละ 77.8 ของ จำนวนประชากรทั้งหมด) แต่มูลค่า
การซื้อขายสินค้าออนไลน์ หรือ E-commerce
วันนี้ถ้าเปรียบเทียบ กับ 5 ปีที่แล้ว จะพบว่าเมื่อ 5 ปี
ที่แล้วมีมูลค่า 2 ล้านล้านบาท แต่วันนี้เพิ่มขึ้นเป็น
เท่าตัว สูงถึง 4 ล้านล้านบาทไปแล้ว
วันนี้ปัญหาที่เกิดขึ้น มากสำหรับ กระบวนการซื้อขาย สินค้าออนไลน์นั้น ที่เห็นได้ชัดเลยก็คือผู้ซื้อหรือผู้บริโภค ปัญหานั้นก็คือ 1.การซื้อของแล้ว
ไม่ได้รับสินค้า 2.สินค้าไม่ตรงปก 3.สินค้าปลอม
ละเมิดลิขสิทธิ์ และไม่ได้คุณภาพจะเอาผิดกับผู้ขาย
แต่ไม่สามารถ ที่จะติดตามตัวผู้ขายได้และทางแพลตฟอร์มเองก็อ้างว่าตนเองเป็นเพียงตัวกลาง ในการซื้อขายหรือ เป็นตลาดกลาง ในการซื้อขายที่ให้
ผู้ขายมาลงทะเบียน โดยจากที่เราได้รับข้อมูลจาก สภาองค์กรของ ผู้บริโภค ซึ่งเป็นหน่วยงานเอกชนพบว่าสถิติเรื่องร้องเรียนที่เข้ามาตั้งแต่ เดือน กรกฎาคม 2564 ถึง พฤษภาคม 2565 (ระยะเวลา
เพียง 10 เดือน) พบว่ามีสถิติสูงถึง 10,101 เรื่อง
กองบัญชาการตำรวจ สืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทาง เทคโนโลยี (บช.สอท.) ได้มีการเปิดเว็บไซต์
ในการแจ้งความ ออนไลน์ ซึ่งสถิติตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม ถึง 10 มิถุนายน 2565 (3 เดือน) มีผู้แจ้ง
ความผ่านเว็บไซต์ ทั้งหมด 39,926 เรื่อง
เป็นคดีออนไลน์สูงถึง 35,837 คดี ซึ่งเป็นคดี
หลอกลวงด้านการเงิน 19,128 เรื่องหลอกลวงจำหน่ายสินค้า 14,233 เรื่อง โดยผลการอายัดบัญชี ของผู้กระทำความผิด มีการขออายัดไป ทั้งหมด 12,117 บัญชี
ซึ่งยอดเงินอายัดทั้งหมดสูงถึง3,000 ล้านแต่อายัดเงินได้เพียง 84 ล้านบาทเท่านั้น ปัญหาที่เกิดขึ้นเกิด
จากการซื้อขายสินค้า ออนไลน์ที่ผู้ซื้อและ ทางตำรวจไม่สามารถ ติดตามตัวผู้ขายได้ เพราะการสมัครเป็น ผู้ประกอบการ หรือ ผู้ขายผ่า แพลตฟอร์ม นั้นมีการใช้ตัวตน ปลอม คือ การเอา
บัตรประชาชนของผู้อื่นมาใช้และนำสมุดบัญชี
ของผู้อื่นเป็นหลักฐานในการสมัครดังนั้น คณะ กมธ
จึงมีข้อเสนอในการแก้ไขปัญหาดังกล่าว
4 ข้อดังนี้
- ผู้ขายสินค้า
ออนไลน์
ต้องจดทะเบียน
พาณิชย์ที่กระทรวง
พาณิชย์ ในฐานะ
ผู้ขายให้ถูกต้อง
ตามกฎหมาย
2.ในกรณีที่
ขายสินค้าปลอม
ที่เป็นการละเมิด
ทรัพย์สินทางปัญญา
หรือเป็นสินค้าผิด
กฎหมาย
ต้องมีกฎหมายให้
เจ้าของแพลตฟอร์ม
ต้องร่วมรับผิดกับ
ผู้ขายด้วย - ควรให้สำนักงาน
พัฒนาธุรกรรมทาง
อิเล็กทรอนิกส์หรือ
กรมพัฒนาธุรกิจ
การค้ากระทรวง
พาณิชย์ มีอำนาจ
เข้าถึงข้อมูลผู้ขาย
เพื่อให้ภาครัฐมี
ฐานข้อมูลของผู้ขาย
ในกรณีที่มีการกระทำ
ความผิดเกิดขึ้น - เรียกร้องให้
ทางแฟลตฟอร์ม
มีมาตรการในการ
คุ้มครองผู้บริโภค
เพิ่มมากขึ้น
จะต้องมีระบบหลัง
บ้านในการกลั่นกรอง
ข้อมูลผู้ขาย
หากพบว่าเป็น
ตัวปลอม บัญชีปลอม
จะต้องมีมาตรการ
จัดการกับบุคคล
เหล่านั้นอย่างเด็ดขาด