24 มิ.ย.65 กองบังคับการปราบปราม กองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง ภายใต้การอำนวยการของ พล.ต.ท.จิรภพ ภูริเดช ผบช.ก., พล.ต.ต.สันติ ชัยนิรามัย รอง ผบช.ก., พล.ต.ต.สุวัฒน์ แสงนุ่ม รอง.ผบช.ก., พล.ต.ต.มนตรี เทศชัน ผบก.ป., พ.ต.อ.สุเทพ โตอิ้ม รอง ผบก.ป., พ.ต.อ.บุญลือ ผดุงถิ่น ผกก.2 บก.ป., พ.ต.ท.สิงห์ชัยฐานไชยสิทธิ์ รอง ผกก.3 บก.ป.ปฏิบัติราชการ กก.2 บก.ป., พ.ต.ท.นฤทธิ์ ผูกจิตร, พ.ต.ท.กรกช ยงยืน, พ.ต.ท.เนติวิทย์ ธนาสิทธิ์นิติกุล., พ.ต.ท.ณรัชพงศ์ สินสิริยานนท์ รอง ผกก.2 บก.ป., พ.ต.ท.นพรัตน์ คำมาก รอง ผกก.2 บก.ปทส.ปฏิบัติราชการ กก.2 บก.ป.
เจ้าหน้าที่ชุดจับกุม นำโดย พ.ต.ต.ธานุพันธ์ สุระสะ สว.กก.2 บก.ป. พร้อมเจ้าหน้าที่ตำรวจชุดปฏิบัติการที่ 4 กก.2 บก.ป.
ร่วมกันจับกุม นายพีรภาส หรือพี (สงวนนามสกุล) อายุ 19 ปี ผู้ต้องหาตามหมายจับศาลจังหวัดพะเยา ที่ จ.95/2565 ลงวันที่ 14 มิถุนายน 2565 ซึ่งต้องหาว่ากระทำความผิดฐาน “ร่วมกันฉ้อโกงประชาชน, โดยทุจริตหรือโดยหลอกลวง นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่บิดเบือนหรือปลอมไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน หรือข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ประชาชนฯ”
สืบเนื่องจากเมื่อประมาณต้นเดือนกุมภาพันธ์ 2565 ผู้ต้องหาได้รับการติดต่อจากเพื่อนสนิทผ่านเฟซบุ๊กว่าต้องการคนเปิดบัญชีธนาคารให้ โดยให้ค่าจ้าง 800 บาท ผู้ต้องหาจึงได้เปิดบัญชีให้ พร้อมตั้งค่ารหัส OTP และติดตั้งแอปพลิเคชันของธนาคารให้พร้อมใช้งาน
ต่อมาบัญชีดังกล่าวได้ถูกนำไปใช้ถ่ายโอนจากกลุ่มมิจฉาชีพ โดยกลุ่มมิจฉาชีพได้ไปหลอกลวงผู้เสียหายผ่านเฟซบุ๊ก ขอเลขบัญชีธนาคารและให้ส่งรหัส OTP มาให้เพื่อเข้าแอปพลิเคชั่นธนาคารของผู้เสียหาย และยักย้ายถ่ายโอนเงินจากธนาคารผู้เสียหายเข้าบัญชีผู้ต้องหา โดยมียอดเงินตั้งแต่หลักหมื่นถึงหลักแสนบาท จากการตรวจสอบพบว่าในช่วงระยะเวลา 4 เดือน มีผู้ตกเป็นเหยื่อของกลุ่มมิจฉาชีพกลุ่มนี้จำนวนหลายราย
จนกระทั่งเจ้าหน้าที่ตำรวจได้ทำการสืบสวนจนทราบว่า นายพีรภาส หรือพี
(สงวนนามสกุล) ผู้ต้องหาตามหมายจับเดินอยู่ภายในปั๊มน้ำมันแห่งหนึ่งบริเวณ ม.6 ต.บ้านใหม่ อ.ปากเกร็ด จว.นนทบุรี เจ้าหน้าที่ตำรวจจึงได้แสดงตัวและเข้าจับกุม โดยผู้ต้องหายอมรับว่าเป็นบุคคลตามหมายจับดังกล่าวจริง จากนั้นเจ้าหน้าที่ตำรวจได้ควบคุมตัวผู้ต้องหามาที่ กก.2 บก.ป. เพื่อทำบันทึกการจับกุม และนำตัวผู้ต้องหาส่ง พนักงานสอบสวน สภ.เมืองพะเยา เพื่อดำเนินการตามกฎหมายต่อไป
สอบสวนกลางขอเตือนภัย ปัจจุบันกลุ่มมิจฉาชีพได้มีกลยุทธ์ในการหลอกลวงประชาชน โดยการให้ส่งรหัส OTP หรือรหัสผ่านอยู่บ่อยครั้ง ทำให้มีผู้ตกเป็นเหยื่อกระจายวงกว้าง ในหลายพื้นที่ เบื้องต้นทางเครือข่ายผู้ให้บริการพยายามที่จะแก้ไขปัญหาด้วยการล็อกรหัส OTP เพื่อป้องกันเป็นด่านแรก แต่คนร้ายก็พยายามหาวิธีที่จะหลอกเอารหัส OTP จากประชาชน ทางสอบสวนกลางขอย้ำว่าการกรอกรหัสดังกล่าวจะต้องทำด้วยตนเองเท่านั้น ไม่ควรให้ผู้อื่นเป็นคนกรอก โดยเฉพาะคนที่ไม่รู้จัก เพราะการกรอกรหัส OTP จะทำให้เข้าถึงการทำธุรกรรมต่าง ๆ ผ่านมือถือ เช่น ธุรกรรมการเงินได้ มิจฉาชีพพยายามเรียกรับรหัส OTP จากผู้ใช้ ก่อนที่ภายหลังจะทราบว่า
กลุ่มคนร้ายได้นำรหัสดังกล่าวไปกรอกข้อมูลเพื่อเข้าถึงการทำธุรกรรมการเงิน กว่าจะรู้ตัวก็สูญเงินในบัญชีไปแล้ว
สอบถามคำให้การผู้ต้องหาเบื้องต้น ให้การรับสารภาพตลอดข้อหา