ดูความเป็นอยู่ 59 ต่างด้าว ที่ถูกลอยแพบนเกาะดง ยันทางการไทย ช่วยเหลือตามหลักสิทธิมนุษยชน อย่างเต็มที่
เมื่อวันที่ 14 มิ.ย. 2565 ที่ห้องประชุม ภ.จว.สตูล พล.ต.อ.รอย อิงคไพโรจน์ รอง ผบ.ตร ,และศูนย์พิทักษ์เด็ก สตรี ครอบครัว ป้องกันปราบปรามการค้ามนุษย์ และภาคประมง สํานักงานตํารวจแห่งชาติ(ผอ.ศพดส.ตร. )
พร้อมด้วย พล.ต.ท.ปัญญา ปิ่นสุข หน.ชป.TATIP ศพดส.ตร.
,พล.ต.ต.จิระวัฒน์ พยุงธรรม รอง ผบช.ปส.และ พล.ต.ต.อรุษ แสงจันทร์ ผบก.ภ.จว.สตูล, พ.ต.อ.ณรงค์ เทศวิบูลย์ รอง ผบก.ปคม.,พ.ต.อ.ทรงเอก พัชรวิชญ์ รอง ผบก.ตท. พ.ต.ต.ภัทรยศ หร่ายเจริญ สว.ฝ่ายตำรวจสากลและประสานงานภูมิภาค 2 นายแอนดรูว์ วสุวงศ์ ผู้อำนวยการมูลนิธิไอเจเอ็ม,นางอภิญญา ทาจิตต์ รองผู้อำนวยการ Stella maris Thailand,Mr. Peter Grady Senior Protection Officer (เจ้าหน้าที่ฝ่ายคุ้มครองอาวุโส Unhcr ),นางสาวสุอัยดา พิศสุวรรณ Protection Associate (เจ้าหน้าที่ฝ่ายคุ้มครอง Unhcr),Mr. Mohammed Mashud Hassan Senior Protection Assistant เจ้าหน้าที่บริการชุมชนและล่าม Unhcr
และเจ้าหน้าที่ ที่เกี่ยวข้องได้ร่วมประชุมเพื่อเร่งรัดติดตามผลความคืบหน้าการช่วยเหลือบคุคลต่างด้าวจํานวน 59 คน เกาะดง จ.สตูล
พล.ต.อ.รอย ได้กําชับในที่ประชุม ให้ทุกหน่วยงานในสังกัดให้ดําเนินการ ป้องกันและปราบปรามขบวนการค้ามนุษย์อย่างเด็ดขาด สำหรับกรณีที่เมื่อวันที่ 4 มิถุนายน 2565 เจ้าหน้าท่ีได้รับแจ้งว่าพบบุคคลต่างด้าว จํานวน 59 คน ได้ถูกนํามาปล่อยทิ้งไว้ที่ เกาะดง เขตอุทยานแห่งชาติตะรุเตา จังหวัดสตูล จากการตรวจสอบบุคคลต่างด้าว แบ่งเป็นชาย จํานวน 34 คน เป็นหญิง 25 คน สอบถามเบื้องต้นผ่านล่ามแปลภาษาพม่า ปรากฏว่า เดินทาง มากับเรือจากสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา จุดมุ่งหมายประเทศมาเลเซีย เมื่อถึงบริเวณเกาะดง คนขับเรือได้ แจ้งว่ามาถึงประเทศมาเลเซียแล้วให้ทุกคนลงจากเรือ เมื่อเจ้าหน้าที่ได้รับแจ้งและพบบุคคลต่างด้าวดังกล่าว พบว่าแต่ละคนร่างกายอิดโรย ขาดอาหาร จึงนํามาพักคอยที่ ศูนย์พักพิงชั่วคราว กองร้อยตํารวจตระเวน ชายแดนที่ 436 อําเภอเมืองสตูล จังหวัดสตูล
พล.ต.อ.รอย ได้เปิดเผยอีกว่ากรณีนี้ ได้สั่งการ ผบช.ภ.9 และ ผบก.ภ.จว.สตูล ให้จัดตั้งศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือคุ้มครองผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์ โดยมี การบูรณาการหน่วยงานทุกภาคส่วนให้ความช่วยเหลือเก่ียวกับด้านมนุษยธรรม โดยมีการจัดที่พัก มอบเสื้อผ้า อาหาร เครื่องดื่ม ยารักษาโรค ตรวจคัดกรองป้องกันโรคและทําการรักษาพยาบาลเบื้องต้น เพื่อให้ฟื้นฟูสภาพ ร่างกาย และจิตใจก่อนทําการซักถามปากคําคัดแยกผู้เสียหาย ตํารวจภูธรจังหวัดสตูลได้บูรณาการร่วมกับ ทีมสหวิชาชีพ ในการคัดแยกผู้เสียหาย หากเป็นผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์ จะส่งเข้าสถานคุ้มครองผู้เสียหาย จากการค้ามนุษย์ ตามมาตรา 33 แห่ง พ.ร.บ.ป้องกันปราบปรามการค้ามนุษย์ พ.ศ.2551 หากไม่เป็น ผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์ จะนําส่งสํานักงานตรวจคนเข้าเมืองเพื่อดําเนินการ ตาม พ.ร.บ.คนเข้าเมือง พ.ศ. 2565
ขณะน้ีอยู่ระหว่างดําเนินการคัดแยกผู้เสียหาย พบว่าบุคคลต่างด้าวดังกล่าวมีบัตร UNHCR จํานวน 26 คน โดยขึ้นทะเบียนที่สาธารณรัฐประชาชนบังกลาเทศ ขณะนี้ได้ประสานไปยัง UNHCR เพื่อตรวจสอบ สถานะบุคคลต่างด้าวกลุ่มดังกล่าว ดําเนินการตามกฎหมายระหว่างประเทศต่อไป
สำหรับกรณี นี้มีการนําเสนอข่าวคาดเคลื่อนกับความเป็นจริง เกี่ยวกับการดําเนินงานของเจ้าหน้าที่ว่ามีการรีบ ผลักดันบุคคลต่างด้าวกลุ่มดังกล่าวออกจากประเทศไทย นั้น
ในวันนี้ได้รับ มอบหมายจาก ผบ.ตร.และคณะกรรมการ ปกค. จึงได้เชิญ ผู้แทน UNHCR ผู้แทน IJM และ ผู้แทน STELLA MARIS THAILAND เป็นผู้สังเกตการณ์ได้เดินทางมาติดตามความคืบหน้าและตรวจเยี่ยม ซึ่งจากการติดตามความคืบหน้าและการตรวจเยี่ยมพบว่า ผู้ว่าราชการจังหวัดสตูลพร้อมหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง พมจ. สตูล แรงงานจังหวัดสตูล และเจ้าหน้าที่ตํารวจ ว่าได้มีการช่วยเหลือตามหลักสิทธิมนุษยชน และอยู่ระหว่างการฟื้นฟู จิตใจ เพื่อดําเนินการคัดกรอง คัดแยกว่าเป็นผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์หรือไม่ และอยู่ระหว่างเจ้าหน้าท่ีตํารวจตรวจคนเข้า เมืองตรวจสอบสถานะบุคคลต่างด้าว
” ซึ่งเจ้าหน้าที่ไม่ได้รีบผลักดันบุคคลต่างด้าวกลุ่มดังกล่าวออกจากประเทศไทยตามที่ เสนอข่าวแต่อย่างใด โดยบุคคลต่างด้าวทั้ง 59 คน ยังอยู่ ศูนย์พักพิงชั่วคราว กองร้อยตํารวจตระเวนชายแดนที่ 436 อําเภอเมืองสตูล จังหวัดสตูล”
โดยได้ส่ังการให้หน่วยงานท่ีเกี่ยวข้องดําเนินการดังน้ี
1.กรณีพบบุคคลต่างด้าวเข้าเมืองผิดกฎหมาย ที่พบข้อบ่งชี้ที่คาดว่าจะเป็นผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์ ขอให้ปฏิบัติตามกลไกการส่งต่อระดับชาติ (National Referral Mechanism : NRM)
2.เมื่อมีการจับกุมบุคคลต่างด้าวที่หลบหนีเข้าเมืองผิดกฎหมาย ให้สืบสวนขยายผลไปยัง เครือข่าย ขบวนการที่ลักลอบนําคนต่างด้าวเข้าเมืองผิดกฎหมาย โดยให้ตรวจสอบเส้นทางการเงิน ทางการสื่อสาร ให้ พิจารณาว่าเข้าข่ายเป็นองค์กรอาชญากรรมข้ามชาติหรือไม่
3.ระหว่างที่ผู้เสียหายอยู่ในขบวนการคัดแยก (Reflection Period) ให้ดําเนินการดูแลสุขอนามัยตลอดจน การรักษาพยาบาล โดยประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
4.ขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดําเนินการเพิ่มมาตรการป้องกัน โดยเน้นการสกัดกั้นทั้งทางบก และทาง ทะเล โดยเน้น จุดล่อแหลม เส้นทางที่ใช้หลบหนีเข้ามาทางช่องทางธรรมชาติ ที่ไม่ผ่านด่านตรวจคนเข้าเมือง โดย ให้ออกแผนการปฏิบัติแต่ละหน่วย
5.กําชับเจ้าหน้าที่ข้าราชการ ตํารวจทุกฝ่ายไม่ให้เข้าไปยุ่งเก่ียวกับการลักลอบขนคนต่างด้าวที่หลบหนีเข้า เมืองโดยผิดกฎหมาย เพราะระเบียบสํานักนายกรัฐมนตรี ได้แก้ไขคําจัดความ “เกี่ยวข้องกับการค้ามนุษย์” หมายถึง การนําพาบุคคลในราชอาณาจักรโดยไม่ได้รับอนุญาตตามกฎหมายคนเข้าเมือง อาจมีผลเกี่ยวข้องหรือ นําไปสู่การค้ามนุษย์
6.เร่งประสานงาน UNHCR ในการตรวจสอบสถานะบุคคลต่างด้าว จํานวน 26 คน ที่มีบัตร UNHCR 7.ให้หน่วยที่รับผิดชอบเร่งรายงานผลการดําเนินการคัดแยกบุคคลต่างด้าวทั้ง 59 คน ให้ ศพดส.ตร ทราบโดยด่วน
หากประชาชนท่านใด พบเห็น หรือมีเบาะแสเกี่ยวกับเหตุท่ีเกิดข้ึน ขอให้แจ้งที่ศูนย์พิทักษ์เด็ก สตรี ครอบครัว ป้องกันปราบปรามการค้ามนุษย์ และภาคประมง สํานักงานตํารวจแห่งชาติ แจ้งเบาะแสด่วน โทร 1599 ศูนย์รับแจ้งเหตุฉุกเฉิน 191 หรือ สถานีตํารวจใกล้เคียง ได้ตลอด 24 ช.ม. “ผอ.ศพดส.ตร. กล่าว”