เมื่อวันที่ 9 มิถุนายน 2565 เวลา 06.00 น. ที่จังหวัดนครปฐม อำเภอดอนตูม ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในเดือน 7 ของเดือนมิถุนายน ของแต่ละปีจะมีการเลี้ยงปีไหว้ผีเจ้านาย ชาวลาวครั่งที่ที่สืบทอดกันมานาน บ้านลำเหย แห่งนี้เป็นชุมชน ประชาชนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพชาวนา ทำไร่ เป็นหลัก มีสำเนียงภาษาพูดภาษาถิ่น ลาวครั่ง ซึ่งยังคงให้ความสำคัญในการเซ่นไหว้ผี ไหว้บรรพบุรุษ อย่างเหนียวแน่น ในหมู่แต่ละที่จะต้องมีสถานที่ตั้งศาลเจ้านาย หรือที่ชาวบ้านเรียกกันทั่วไปว่าศาลเจ้าพ่อแสนหาญ ตั้งอยู่พื้นที่หมู่ 2 ตำบลลำเหย อำเภอดอนตูม จังหวัดนครปฐมศาลเจ้าสาธารณประโยชน์
ในช่วงเช้าจะมี กวน ผู้ทำพิธีที่ถูกคัดเลือกสืบทอดต่อกันมาทำพิธีแก้บนให้กับชาวบ้านที่เคยมาบนบานสารกล่าวขอในสิ่งที่ต้องการและสมปราถนาก็จะนำของไห้วแล้วแต่ว่าจะบนให้อะไรบางรายจัดสมโภชน์มีหนังกลางแปลง มีลิเก มีหนังตลุง และนางรำมารำถวาย พร้อมทั้งเครื่องไหว้ หมู ไก่ หัวหมู เหล้า ข้าว ผลไม้ ชาวบ้านจะนำเครื่องเซ่นไหว้ หมู ไก่ เหล้าขาว อาหาร หวาน คาว กองเรียงรายจำนวนมาก และนำกลองยาว แคน นำมาบรรเลงเพื่อเฉลิมฉลองให้กับศาลเจ้านาย และมีนางรำมาร่วมรำถวาย ด้านหน้าที่ตั้งศาลเจ้านายจำนวน 7 ศาลแต่ละศาลจะประดับด้วยแผ่นผ้ายันต์บายสีและพวงมาลัยมาห้อยจำนวนมากและหน้าศาลเจ้านายจะมีรูปปั้นม้าสีขาวจำนวน 10 ตัวและช้างสีขาวอีก 1 ตัว ช้างหินอีก 4 เชือก และมีไก่พร้อมรูปปั้นทหารถือปืนกลอาวุธครบมือและที่ศาลนั้นภายในศาลจะมีตุ่มขนาดปานกลางตั้งไว้ด้านในจะมี 2 ศาลที่หลังจะใหญ่กว่าหลังอื่นที่ตั้งอยู่ข้างต้นแจงขนาดใหญ่อายุ นับร้อยกว่าปีจะทำพิธีกันตรงจุดนั้น ที่ขึ้นปรกคลุมเป็นร่มเงา ซึ่งในการไหว้ศาลเจ้านายที่จะขาดไม่ได้คือ กวน คนที่ได้รับการสืบทอดมาหลายชั่วคนมาทำพีธีบอกกล่าวเอ่ยนำในการไหว้ศาลเจ้านาย หรือที่ชาวบ้านเรียกกันศาลเจ้าพ่อแสนหาญ นั้นเอง
ซึ่งจะมีการไหว้ผีทุก ๆ ปี ในเดือน 7 ซึ่งถือว่าเป็นวันสำคัญวันหนึ่งที่ชาวบ้าน จะได้ทำกิจกรรมร่วมกัน มีทั้ง ปู่-ย่า ตา-ยาย พี่ป้า น้า อา ญาติพี่น้อง ซึ่งมีเชื่อว่าผีเทวดา ที่สถิตย์อยู่ คอยคุ้มครองรักษาบ้านเมืองของตนมาตั้งแต่ครั้งที่อยู่เมืองหลวงพระบาง ส่วนผีเจ้านาย เป็นผีของกษัตริย์ที่เคยปกครองพวกตนมาที่เมืองหลวงพระบาง แต่ก็มีชาวบ้านบางคนที่บอกว่าผีเจ้านายเป็นวิญญาณของผีบรรพบุรุษ ปู่ ย่า ตา ยาย เดือน 7 ของทุกปี ชาวบ้านจะจัดงานเลี้ยงผีเป็นประจำทุกปี และการนำหมู ไก่ อาหารหวานคาว เหล้า เป็นต้นในการจัดงานเลี้ยงผี มีข้อห้ามอยู่ว่าไม่ให้ตรงกับวันต้องห้าม คือ วันพระ วันพุธ และวันเสาร์ ซึ่งชาวลาวครั่งไม่ว่าจะอยู่ที่ใดก็จะกลับมาร่วมในพิธีเลี้ยงผีดังกล่าว ในการติดต่อกับวิญญาณของผีทั้งสองประเภทนี้จะต้องผ่านบุคคลที่เป็นผู้ประกอบพิธี ได้แก่
คนต้นหรือกวน ที่มีการสืบทอดมาแล้วหลายชั่วคน ซึ่งทำหน้าที่ติดต่อกับผีเจ้านาย และผีเทวดา พ่อออก คือผู้ช่วยคนต้นหรือกวน ทำหน้าที่นำสิ่งของที่คนต้น หรือกวนได้ทำพิธีกล่าวมอบแล้วนำไปวางที่ศาลเจ้าทุกศาล คนทรง เป็นบุคคลที่มีร่างกายสมบูรณ์ แข็งแรง ชาวบ้านเชื่อกันว่า ผีเจ้านายได้เลือกไว้แล้ว จะเป็นตระกูลที่ได้รับการแต่งตั้งสืบทอดกันมา ในช่วงเช้าจะมีชาวบ้านนำอาหารใส้มารอกันที่บริเวณศาลเจ้าพ่อแสนหาญกันเป็นจำนวนมาก และชาวลาวครั่งจะทำพิธีเซ่นไหว้ผีกันตั้งแต่เช้ามืด โดยแบ่งเป็น ขั้นตอน คือ พิธีมอบ พิธีไหว้ และพิธีบริจาค พิธีมอบกวนจะเป็นผู้ทำพิธีมอบหรือบูชาตรงหน้าศาลที่ตั้งเรียงกันทั้ง 7 ศาล ที่ชาวบ้านนับถือโดยนำสิ่งของ ที่ได้จัดเตรียมไว้ มีกิ่ง, ใบพลู ใบ , เปลือกไม้เสี้ยวนาง , ธูป 1 ดอก , เหล้า 2 ไห ไก่ (ที่ยังมีชีวิต) อย่างน้อย 1 ตัว ,หมู (ที่ยังมีชีวิต) อย่างน้อย 1 ตัว การนำเอาไก่และหมูที่ยังไม่ตายมาเซ่นไหว้ เพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนชีวิต ของพี่น้องชาวลาวครั่งทั้งหลายให้ปลอดภัย ของเซ่นทั้งหมดจะนำมารวมกัน โดยจะวางใบมะยม ใบพลู เปลือกไม้เสี้ยวนาง ธูป ไว้บนเสื้อและผ้าขาวม้า จัดใส่ภาชนะ 7 ถาด เหล้า 2 ไห พร้อมหลอดดูด ทำจากไม้ไผ่นำไปวาง รวมกันที่โต๊ะบูชา ส่วนไก่จะถูกมัดขาไว้หากมีหลายตัวก็มัดรวมกัน ส่วนหมูก็จะถูกมัดขาไว้แล้วนำไปวางไว้ตรงหน้าโต๊ะบูชา กวนหรือคนต้นจะทำพิธีมอบสิ่งของต่อผีเจ้านาย
เมื่อกวนได้ทำพิธีมอบแล้วพ่อออกที่เป็นผู้ช่วยกวนจะนำสิ่งของที่จัดใส่ภาชนะไว้ 7 ถาดนั้นไปวาง ที่ศาลเจ้าทุกศาลแล้วสั่งให้คนเอาไม้ตีหัวไก่และหัวหมูเพื่อให้เลือดหยดลงบนแท่นบูชา แล้วนำไปฆ่าเพื่อนำเนื้อมาไหว้อีกครั้งหนึ่ง พิธีไหว้ชาวบ้านจะมาช่วยกันจัดสิ่งของที่เตรียมเซ่นไหว้ เช่น ไก่ หมู ที่ได้ทำพิธีมอบไปแล้วและอาหารหวานคาวอื่น ๆ ตามที่ผีเจ้านายได้แจ้งให้ทราบไว้เมื่อปีก่อนว่า ผีเจ้าจะต้องการเครื่องเซ่นไหว้ คาวหวานอะไรบ้างในปีต่อไปสิ่งที่ไม่มีการเปลี่ยนแปลงคือผลไม้ซึ่งจัดตามฤดูกาล ซึ่งชาวบ้านก็จะนำอาหารคาวหวานมาสมทบกันมามากมาย เมื่อทำพิธีไหว้เสร็จก็จะมีการเชิญผีเจ้ามาประทับร่างทรง ที่กำหนดไว้ซึ่งไม่ว่าร่างทรงนั้นจะอยู่ที่ใดก็ตาม ร่างทรงนั้นจะดีดตัวไปข้างหน้า อย่างรวดเร็วโดยไม่สนใจว่าจะมีอะไรขวางอยู่ข้างหน้า จากนั้นจะเดินรอบศาลเจ้าหนึ่งรอบจึงจะมานั่งที่หน้าศาลใหญ่ กลางหมู่ศาลทั้ง 7 ศาล และเปิดโอกาสให้พี่น้องชาวลาวครั่งที่มีความเดือดร้อน หรือต้องการให้ช่วยรักษาโรคภัยไข้เจ็บโดยจะเข้าไปขอให้ประพรมน้ำมนต์ และร่างทรงจะเดินประพรมน้ำมนต์
ให้พี่น้องชาวลาวครั่งโดยทั่วถึง จากนั้นจะเป็นการบอกกล่าว กะปี เป็นการบอกกล่าวให้ทราบว่าในปีต่อไปจะจัดงานเมื่อใด เนื่องจากบางปี วันที่ จะไปตรรงกับวันต้องห้าม ซึ่งจะไม่จัดงานพิธีกัน และนอกจากนั้นจะบอกด้วยว่าในปีต่อไป ผีเจ้าต้องการเครื่องเซ่นไหว้อะไรบ้าง ส่วนพิธีบริจาคนี้เป็นการนำอาหารหวานคาว รวมทั้งผลไม้ที่ชาวบ้านได้นำมาเซ่นไหว้ผีเจ้าทั้งหมด มารับประทานร่วมกันในตอนเย็น และแบ่งสรรกันเพื่อนำไปแระกอบอาหารในบ้านแต่ละครัวเรือน หรือฝากผู้ที่ไม่ได้มาร่วมงาน จากการเปลี่ยนแปลงสภาพทางสังคม เศรษฐกิจ เทคโนโลยี กิจกรรมการเลี้ยงผีเจ้านาย ก็ปรับเปลี่ยนการนิมนต์พระสงฆ์จากวัดมาประกอบพิธีกรรมทางพระพุทธศาสนา การฆ่าหมู -ไก่ ในบริเวณศาลเจ้าพ่อก็ได้ถูกยกเลิกไปเพราะไม่สะดวกด้วยประการทั้งปวง ชาวบ้านลูกหลานลาวครั่งก็จะมาประกอบพิธีส่วนใหญ่จะเป็นผู้สูงอายุ ถ้าเป็นช่วงวันทำงานไม่ตรงกับวันหยุดลูกหลานจากต่างถิ่นก็ไม่สามารถมาร่วมงานได้ หรือลูกหลานไปทำงาน อยู่ตามพื้นที่ต่างจังหวัด ไปโรงเรียน
จากนั้น นายสุจิน แจ้งธรรมมา กวน ผู้ทำพิธีเล่าอีกว่า ศาลเจ้าพ่อแสนหาญเป็นสถานที่เครพของชาวบ้านในชุมนมาหลายชั่วอายุคน ที่ประกอบพิธีแบบนี้มายาวนาน ซึ่งตนเองก็ได้รับการถ่ายทอดมาาก พ่อ ของตนเอง ในการเป็น กวน ผู้ประกอบพิธีในเดือน 7 ของทุกปี และที่มีชาวบ้านมาบนบานศาลกล่าว ขอสิ่งที่ตั้งใจเอาไว้และสมหวัง ตนเองก็จะมาประกอบพิธีบอกกล่าวที่ศาลแห่งนี้ที่ตั้งเป็นแถวรวมแล้วมี 7 ศาล และที่แตกต่างจะมีศาลใหญ่อยู่ตรงกลางจำนวน 2 ศาล บริเวณด้านกน้าจะมีรูปปั้นสีขาวเป็นม้า-ช้าง สีขาว และบายศรี ธูปเทียน และรูปสัตว์ที่เป็นไม้เกาะ อีกจำนวนหนึ่ง อยู่เรื่อยไป ชาวบ้านไม่ว่าจะเดินทางไปหรือมาชาวบ้านจะบีบแตรเป็นประจำเพื่อส่งสัญญาณว่าไปมา ลาไหว้ บางรายบนบานศาลกล่าวขอสิ่งที่หวังและสิ่งที่ต้องการก็สมหวัดก็จะนำลิเก หนังตลุง หนังกลางแปลง หมู-ไก่ นำมาแก้บนกันเป็นจำนวนมาก อีกด้วย
ปนิทัศน์ มามีสุข – จ.นครปฐม