วันนี้(วันพฤหัสบดี ที่ 26 พ.ค. 65) เวลา 13.30-16.30 น.
พล.ต.ท.ธนายุตม์ วุฒิจรัสธำรงค์
ผบช.ภ.7
เป็นประธาน
“ประชุม ศปก.ภ.7 ครั้งที่ 14/2565” ด้วยระบบทางไกลผ่านจอภาพ (Video Conference)
พร้อมด้วย
พล.ต.ต.ตรีวิทย์ ศรีประภา
ผบก.กค.ภ.7
พล.ต.ต.ปรีดา อิ่มเจริญ
ผบก.ศฝร.ภ.7
พล.ต.ต.นิรันดร ศิริสังข์ไชย
ผบก.อก.ภ.7
โดยมี ผบก.ฯ, รอง ผบก.ฯ ผกก.พร้อมเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมประชุม
โดยได้ประชุมในเรื่อง
- หน่วยต่าง บช.ในพื้นที่ ภ.7 รายงานผลการปฏิบัติงานที่สำคัญ (บก.ส.1)
- ฝอ.1 บก.อก.ภ.7 สรุปเรื่องร้องเรียนและเรื่องวินัยคงค้างทั้งหมด
- ฝอ.2 บก.อก.ภ.7
-สรุปสถิติคดีอาญา 4 กลุ่ม
-รายงานคดีอุกฉกรรจ์ สะเทือนขวัญ หรือคดีที่น่าสนใจ
-สรุปสถานการณ์ด้านความมั่นคง/ความเคลื่อนไหวของกลุ่มการเมือง/การชุมนุมเรียกร้องในพื้นที่ - ศอ.ปส.ภ.7
- รายงานผลการปฏิบัติงานของ ศอ.ปส.ภ.7
- ฝอ.3 บก.อก.ภ.7
-ภารกิจถวายความปลอดภัย และการรักษาความปลอดภัยบุคคลสำคัญที่เข้ามาในพื้นที่
-รายงานผลการตรวจสถานีตำรวจของผู้บังคับบัญชาใน ภ.จว.
-รายงานข้อมูลสำคัญเกี่ยวกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในพื้นที่ ภ.7
-รายงานผลการใช้จ่ายงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2565 - ฝอ.4 บก.อก.ภ.7
-รายงานผลการเบิกจ่ายงบประมาณของกองทุนเพื่อการสืบสวนสอบสวนคดีอาญา
-ผลการดำเนินการงบประมาณรายจ่ายลงทุน ตาม พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปี พ.ศ. 2564-2565 - ฝอ.5 บก.อก.ภ.7
-ข่าวสารทางสื่อ และปฏิบัติการข่าวสาร (IO)
-โครงการ โคกหนองนาแห่งน้ำใจและความหวัง - ฝอ.6 บก.อก.ภ.7
-การรายงานข้อมูลที่มีผลกระทบทางสื่อสังคมออนไลน์
-การรับแจ้งเหตุฉุกเฉิน 191
-รายงานการแจ้งเบาะแส/ร้องเรียน - บก.สส.ภ.7
- คดีอุกฉกรรจ์ฯ ที่ยังจับกุมไม่ได้ ตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค. 64 – ปัจจุบัน
- การบันทึกข้อมูลในระบบ CRIMES
- คดีที่ยังไม่จำหน่ายออกจากระบบ CRIMES
- สถิติข้อมูลหมายจับ CCOC
- สรุปผลการออกหมายจับผู้ต้องหา (หมายจับที่ออกใหม่/มีคุณภาพ/ไม่มีคุณภาพ)
- สรุปผลการเร่งรัดจับกุมผู้ต้องหาตามหมายจับเฉพาะหมายที่มีคุณภาพ (ร้อยละ 5)
- ผลการปฏิบัติของ บก.สส.ภ.7 และ กก.สส.ภ.จว.
- รายงานผลการตรวจ DNA
10.ศปอส.ภ.7 - รายงานผลการปฏิบัติงานของ ศปอส.ภ.7
11.บก.กค.ภ.7 - สถิติสำนวนคดีอาญา ตาม ป.วิอาญามาตรา 145 และ มาตรา 145/1
12.ศปจร.ภ.7 - การโจรกรรมรถยนต์และรถจักรยานยนต์
13.ศปชก.ภ.7 - ผลการจับกุมแรงานต่างด้าวหลบหนีเข้าเมืองโดยผิดกฎหมาย
มีข้อสั่งการ ดังนี้
- ขอขอบคุณทุกหน่วย รอบเดือนที่ผ่านมามีผลการปฏิบัติที่ดี คดีเกิดสามารถจับกุมได้อย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะแรงงานต่างด้าว มีผลการจับกุมสูงขึ้นและถี่ ฝาก ผบก.ภ.จว. และ รอง ผบก.ภ.จว. ร่วมกันขยายผล ถ้าเข้าองค์ประกอบค้ามนุษย์ให้รีบดำเนินการ
2.กรณีมี จนท.ตำรวจ อบรมครูตำรวจแดร์ แล้วผูกคอเสียชีวิตที่ ภ.จว.เพชรบุรี ให้ทำการตรวจสอบข้อเท็จจริง ว่ามีการถูกบังคับให้ไปเข้ารับการอบรมหรือไม่ ฝากผู้บังคับบัญชาทุกระดับเป็นอุทาหรณ์ หาก จนท.ตำรวจไม่สมัครใจอย่าไปบังคับโดยเด็ดขาด และให้ ภ.จว.นครปฐม และ สภ.เมืองนครปฐม ดูแลเรื่องสิทธิสวัสดิการและครอบครัวของผู้เสียชีวิตด้วย
3.กำชับการปฏิบัติหน้าที่ ดังนี้
- ให้ทุก สภ.กำชับสั่งการ กวดขัน อบรม ทุกมิติ เช่น ระเบียบวินัยข้าราชการตำรวจ ยุทธวิธีตำรวจ การอดทนอดกลั้นในการทำงาน เนื่องจากปัจจุบันสื่อสังคมออนไลน์มีความรวดเร็ว ประชาชนมีความคาดหวังต่อ จนท.ตำรวจสูง กรณีมีข่าวเชิงลบผู้บังคับบัญชาต้องมีความรับผิดชอบ ต้องประคับประคอง และแก้ไขปัญหา และสถานการณ์ให้ได้
- หน.สภ. ต้องรู้เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นทุกเรื่อง และขอความช่วยเหลือมาที่ ภ.จว. หากแก้ไขปัญหาไม่ได้ให้ขอความช่วยเหลือมาที่ ภ.7 การรายงานเหตุ ผู้บังคับหน่วยต้องใช้ดุลยพินิจว่าเรื่องใดควรรายงาน หัวหน้าหน่วยทุกระดับต้องมีภาวะผู้นำสูง ต้องเข้าใจและมีความสงสารเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงาน
- เมื่อเกิดข้อบกพร่องในการปฏิบัติงาน ผู้บังคับบัญชาเหนือขึ้นไป 2 ระดับชั้นต้องฝึกทบทวนทางยุทธวิธี ให้ทุกหน่วยไปประชุมชี้แจงกำชับการปฏิบัติหน้าที่ของทุกฝ่าย การตรวจค้น จับกุม คุมขัง ให้ใช้ยุทธวิธีตำรวจที่ได้ฝึกอบรมมาแล้ว การทำงานให้ยึดหลักอุดมคติตำรวจ 9 ประการ
- ผู้บังคับบัญชาทุกระดับชั้น ต้องยกระดับวิธีคิดและการใช้ดุลยพินิจต่าง ๆ กรณีเกิดเหตุให้ทุกหน่วยนำไปเป็นบทเรียนในการทำงาน รวมทั้งกำชับชี้แจงผู้ใต้บังคับบัญชาให้พึงระมัดระวังและปฏิบัติตามระเบียบข้อกฎหมาย และยุทธวิธีตำรวจ
- กรณีสื่อมวลชนนำเสนอข่าว จนท.ตำรวจ สภ.สามพราน ถูกกล่าวหาว่าทำร้ายร่างกายผู้ต้องหาขณะเข้าจับกุม ให้ ภ.จว.นครปฐม ถอดบทเรียน และพิจารณาข้อบกพร่องผู้เกี่ยวข้องทั้งหมด
- กรณีมีข้าราชการตำรวจฝ่ายสืบสวนของ สภ.ชะอำ และ สภ.ดอนเจดีย์ เสียชีวิตจำนวน 2 ราย เนื่องจากไม่ได้ปฏิบัติตามยุทธวิธีตำรวจ ได้มอบหมายให้ พล.ต.ต.บุญญฤทธิ์ รอดมา รอง ผบช.ภ.7 ถอดบทเรียน และให้ตั้งคณะทำงานระดับภาค และจะมีการมอบโจทย์ปัญหาเกี่ยวกับการสืบสวนให้ข้าราชการตำรวจนำไปฝึกปฏิบัติและแข่งขันกัน
- ก่อนเข้าปฏิบัติการต้องมีการวางแผนเข้าจับกุมทุกครั้งอย่างละเอียดรอบคอบ มีการตรวจสอบพื้นที่ล่วงหน้า และมีการแบ่งมอบหน้าที่อย่างชัดเจน มีการตรวจสอบความพร้อมของผู้ปฏิบัติ อุปกรณ์ต่าง ๆ กุญแจมือ เสื้อเกราะ หมวกกันกระสุน อาวุธปืน เป็นต้น การสืบสวนจับกุมต้องมีการประเมินฝ่ายตรงข้าม และกำชับผู้บังคับบัญชา การทำงานทุกอย่างต้องมีหลักฐาน คำสั่ง และการลงบันทึกประจำวัน ผู้ควบคุมการปฏิบัติต้องมีความพร้อมทั้งทางร่างกาย และจิตใจ การพกพาอาวุธปืนของ จนท.ตำรวจต้องถูกต้องอย่าให้คนร้ายแย่งปืนได้โดยง่าย
- การใช้ยุทธวิธีในการตรวจค้นจับกุมต้องมีการซักซ้อมอย่างสม่ำเสมอ ต้องมีความระมัดระวัง รอบคอบ มีทีม Cover และการปฏิบัติต้องเคลียร์ทุกจุดอย่าประมาท
- การพกพาอาวุธปืนของเจ้าหน้าที่ตำรวจ ซองปืนต้องมีตัวล็อคเสมอ และกระสุนปืนต้องเปลี่ยนทุก 6 เดือน ชุดจู่โจมและชุดปฏิบัติการพิเศษต้องพร้อม
- กรณี จนท.ตำรวจนอกเครื่องแบบ เข้าปฏิบัติหน้าที่ต้องมีความระมัดระวังเป็นพิเศษ ต้องมียุทธวิธี มีการวางแผนเข้าปิดล้อมตรวจค้น
- หัวหน้าหน่วยต้องมีภาวะผู้นำสูง ต้องมีการฝึกอบรม ประชุมชี้แจงการปฏิบัติงานของ จนท.ตำรวจด้วยตนเอง และมีการตรวจสอบอาวุธปืนกระสุนปืน สิ่งของหลวง
- กำชับตามข้อสั่งการ พล.ต.อ.ดำรงศักดิ์ กิตติประภัสร์ รอง ผบ.ตร. ให้ระดมหมายจับบัญชีม้า ซึ่ง พล.ต.ท.รักษ์จิต หม้อมงคล ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษ ตร. และ ผบก.กค.ภ.7 ได้ประชุมชี้แจงแนวทางการปฏิบัติไปแล้ว ให้ทุกหน่วยเตรียมความพร้อมในการรวบรวมพยานหลักฐาน ดังนี้ ภ.จว.กาญจนบุรี 20 เป้าหมาย นครปฐม 30 เป้าหมาย ประจวบคีรีขันธ์ 15 เป้าหมาย เพชรบุรี 15 เป้าหมาย ราชบุรี 20 เป้าหมาย สมุทรสงคราม 10 เป้าหมาย สมุทรสาคร 20 เป้าหมาย และ สุพรรณบุรี 30 เป้าหมาย
ณ ห้องประชุม ศปก.ภ.7 ชั้น 4 อาคารตำรวจภูธรภาค 7 ถ.ข้างวัง ต.พระปฐมเจดีย์ อ.เมืองนครปฐม จ.นครปฐม