วันนี้(วันพุธ ที่ 16 พ.ย. 65) เวลา 13.30 น.
พล.ต.ท.ธนายุตม์ วุฒิจรัสธำรงค์
ผบช.ภ.7
เป็นประธานการ
“ประชุม ศปก.ภ.7 ครั้งที่ 26/2565” ด้วยระบบทางไกลผ่านจอภาพ (Video Conference)
พร้อมด้วย
พล.ต.ต.สิทธิชัย โล่กันภัย
รอง ผบช.ภ.7
พล.ต.ต.อาทิชา เปาอินทร์
รอง ผบช.ภ.7
พล.ต.ต.วัฒนา ยี่จีน
รอง ผบช.ภ.7
พล.ต.ต.วรายุทธ สุขวัฒน์
รอง ผบช.ภ.7
พล.ต.ต.อุทัย กวินเดชาธร
รอง ผบช.ภ.7
พล.ต.ต.ชมชวิณ ปุระธนานนท์
รอง ผบช.ภ.7
พล.ต.ต.นรเศรษฐ์ สุวรรณนิกขะ
ผบก.กค.ภ.7
โดยมี ผกก. พร้อมเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมประชุม
โดยได้ประชุมในเรื่อง
- หน่วยต่าง บช.ในพื้นที่ ภ.7 รายงานผลการปฏิบัติงานที่สำคัญ (บก.ส.1)
- ฝอ.1 บก.อก.ภ.7 สรุปเรื่องร้องเรียนและเรื่องวินัยคงค้างทั้งหมด
- ฝอ.2 บก.อก.ภ.7
-สรุปสถิติคดีอาญา 4 กลุ่ม
-รายงานคดีอุกฉกรรจ์ สะเทือนขวัญ หรือคดีที่น่าสนใจ
-สรุปสถานการณ์ด้านความมั่นคง/ความเคลื่อนไหวของกลุ่มการเมือง/การชุมนุมเรียกร้องในพื้นที่ - ศอ.ปส.ภ.7
- รายงานผลการปฏิบัติงานของ ศอ.ปส.ภ.7
- ฝอ.3 บก.อก.ภ.7
-ภารกิจถวายความปลอดภัย และการรักษาความปลอดภัยบุคคลสำคัญที่เข้ามาในพื้นที่
-รายงานผลการตรวจสถานีตำรวจของผู้บังคับบัญชาใน ภ.จว.
-รายงานข้อมูลสำคัญเกี่ยวกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในพื้นที่ ภ.7
-รายงานผลการใช้จ่ายงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2565 - ฝอ.4 บก.อก.ภ.7
-รายงานผลการเบิกจ่ายงบประมาณของกองทุนเพื่อการสืบสวนสอบสวนคดีอาญา
-ผลการดำเนินการงบประมาณรายจ่ายลงทุน ตาม พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปี พ.ศ. 2564-2565 - ฝอ.5 บก.อก.ภ.7
-ข่าวสารทางสื่อ และปฏิบัติการข่าวสาร (IO)
-โครงการ โคกหนองนาแห่งน้ำใจและความหวัง - ฝอ.6 บก.อก.ภ.7
-การรายงานข้อมูลที่มีผลกระทบทางสื่อสังคมออนไลน์
-การรับแจ้งเหตุฉุกเฉิน 191
-รายงานการแจ้งเบาะแส/ร้องเรียน - บก.สส.ภ.7
- คดีอุกฉกรรจ์ฯ ที่ยังจับกุมไม่ได้ ตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค. 64 – ปัจจุบัน
- การบันทึกข้อมูลในระบบ CRIMES
- คดีที่ยังไม่จำหน่ายออกจากระบบ CRIMES
- สถิติข้อมูลหมายจับ CCOC
- สรุปผลการออกหมายจับผู้ต้องหา (หมายจับที่ออกใหม่/มีคุณภาพ/ไม่มีคุณภาพ)
- สรุปผลการเร่งรัดจับกุมผู้ต้องหาตามหมายจับเฉพาะหมายที่มีคุณภาพ (ร้อยละ 5)
- ผลการปฏิบัติของ บก.สส.ภ.7 และ กก.สส.ภ.จว.
- รายงานผลการตรวจ DNA
10.ศปอส.ภ.7 - รายงานผลการปฏิบัติงานของ ศปอส.ภ.7
11.บก.กค.ภ.7 - สถิติสำนวนคดีอาญา ตาม ป.วิอาญามาตรา 145 และ มาตรา 145/1
12.ศปจร.ภ.7 - การโจรกรรมรถยนต์และรถจักรยานยนต์
13.ศปชก.ภ.7 - ผลการจับกุมแรงานต่างด้าวหลบหนีเข้าเมืองโดยผิดกฎหมาย
มีข้อสั่งการ กำชับการปฏิบัติ ดังนี้
1.เตรียมพร้อมการประชุมความร่วมมือทางเศรษฐกิจเอเชีย-แปซิฟิก ห้วงวันที่ 14 – 19 พ.ย.65 ( APEC 2022 THAILAND)
1.1 เพิ่มความเข้ม ตรวจสอบ ติดตามด้านการข่าวและสืบสวน การติดตามตัวบุคคลที่อาจส่งผลกระทบการประชุมเอเปค สนับสนุนข้อมูลผู้ปฏิบัติด้านการข่าวและการสืบสวน โดยเฉพาะ แหล่งพักพิง แหล่งพักคอยที่ต้องตรวจเข้ม เน้นด้านการข่าว CCOC และ IPB พื้นที่ กวดขันความสงบเรียบร้อยในพื้นที่ในเรื่องความปลอดภัยต่างๆ การตั้งจุดตรวจ การรักษาความปลอดภัยเส้นทางขบวน จุดสูงข่ม Drone และ AntiDrone ทุกหน่วยเฝ้าระวังสถานที่สำคัญ ระวังเหตุร้ายพื้นที่ ชั้นกลาง ชั้นนอก และ Soft Target ตลอดจนให้ตั้งจุดตรวจ จุดสกัดตลอด 24 ชั่วโมง ครอบคลุมทุกพื้นที่ ป้องกันตลอดตามแนวชายแดน และช่องทางธรรมชาติ
1.2 เตรียมความพร้อมกำลังกองร้อยควบคุมฝูงชน กำลังหน่วยปฏิบัติการพิเศษ ที่มีหน้าที่รับผิดชอบในภารกิจ APEC 2022 ให้เตรียมความพร้อม และตรวจสอบกำลังให้พร้อมปฏิบัติ เมื่อมีการเรียกกำลังเสริม
1.3 กำหนดหน้าที่ผู้รับผิดชอบ ผู้ควบคุมให้ชัดเจน ถ่ายทอด ชี้แจง ทำความเข้าใจในภารกิจทุกนาย กำชับการตรวจสอบการปฏิบัติ ซักซ้อมแผนการปฏิบัติงานของทุกด้านตามแผนฯ
1.4 วันที่ 16 – 20 พ.ย.65 เป็นวันหยุดราชการต่อเนื่อง กำชับให้เจ้าหน้าที่ตำรวจทุกนาย อยู่ปฏิบัติหน้าที่อย่างเคร่งครัด เพื่อรองรับภารกิจ APEC 2022 และภารกิจอื่นที่เกี่ยวข้อง
1.5 การปฏิบัติหน้าที่ให้ปฏิบัติตามมาตรการควบคุมโรค ระมัดระวังตนเองและผู้เกี่ยวข้องจากเชื้อไวรัสCOVID19
2ให้ตั้งด่านความมั่นคง ตรวจ และสกัดกั้น สกัดจับ ผู้ที่จะมาก่อเหตุ ซึ่งอาจเดินทางขึ้นมาจากเส้นทางสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ โดย
2. กำหนดตั้งด่านความมั่งคง จำนวน 2 จุด ในพื้นที่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ คือ ด่านสามร้อยยอด และด่านห้วยยาง
2.2 ให้ ภ.จว.ประจวบฯ ออกแผนปฏิบัติการตั้งด่านตรวจความมั่นคง และแผนการปฏิบัติของเจ้าหน้าที่ประกอบแผนการตั้งด่านความมั่นคง โดยให้ดำเนินการตั้งด่านความมั่นคงตลอด 24 ชั่วโมง โดยให้ ภ.จว.ประจวบคีรีขันธ์ จัดกำลังเจ้าหน้าที่เข้าปฏิบัติภารกิจ โดยจัดกำลังเข้าปฏิบัติเป็นผลัดตามวงรอบกำหนดเวลาการปฏิบัติให้เหมาะสมและมีประสิทธิภาพ โดยให้ มี รอง ผกก.ป เป็นหัวหน้าด่านความมั่นคง (หากไม่เพียงพอให้ใช้ รอง ผกก.สส. มาร่วมเป็นหัวหน้าด่านความมั่นคง)
2.3 รูปแบบการตั้งด่านความมั่นคงให้ตั้งตามมาตรฐานที่ ตร. กำหนด มี ชุดล่วงหน้า มีชุดเรียกตรวจ มีชุดตรวจค้น มีชุดซักถามตรวจสอบข้อมูล มีการถ่ายรูปทำประวัติ มีชุดคุ้มครอง (COVER) และมีชุดติดตามคนร้าย เป็นต้น
2.4 ให้มีอุปกรณ์ในด่านความมั่นคงให้ครบถ้วน เช่น CCTV , License Plate , Smart card reader , Face recognition ร่วมถึง อุปกรณ์ในการตั้งด่านอื่น ๆ เช่น stop stick เป็นต้น
2.5 เจ้าหน้าที่ทุกนาย ต้องทราบ หัวข้อหลักในการสังเกต คัดกรอง ตรวจสอบ บุคคลที่ผ่านด่านความมั่นคง เช่น ตรวจสอบหมายจับผ่าน Smart card reader , ตรวจสอบใบหน้า , ทะเบียน สี ยี่ห้อ และจุดสังเกตุอื่น ๆ ตามข้อมูลที่ได้รับจากฝ่ายสืบสวน
2.6 ด่านความมั่นคง ต้องพิจารณาคัดกรอง ผู้ผ่านด่านความมั่นคง แม้ไม่มีข้อมูลต้องตรงกับข้อมูลที่ได้รับว่าเป็นบุคคลเฝ้าระวังต้องสงสัย หรือมีหมายจับ แต่หากมีข้อพิจารณา เช่นมีพิรุธ พูดสำเนียงยาวี ต้องถ่ายภาพบุคคลหน้าตรง ถ่ายภาพยานพหนะ จัดทำการเก็บข้อมูลอย่างเป็นระบบ สามารถสืบค้นได้
3 การตั้งจุดตรวจจุดสกัด จุดก้าวสกัดจับ
3.1 ให้กำหนดการตั้งจุดตรวจจุดสกัด ในเส้นทางที่วิเคราะห์แล้วว่าอาจเป็นเส้นทางที่คนร้ายใช้ในการเข้าไปก่อเหตุ หรือหลบหนี
3.2 การตั้งจุดตรวจ จุดสกัด ให้ประสานการปฏิบัติระหว่าง หน่วยในแต่ละ พื้นที่ ให้ตั้งในรูปแบบโครงข่ายใยแมงมุม ไม่ทับซ้อน กัน และมีช่องทางประสานการปฏิบัติระหว่างกันได้อย่างรวดเร็ว
3.3 การปฏิบัติของเจ้าหน้าที่ ให้เป็นเช่นเดียวกับ การตั้งด่านความมั่นคง เช่น ทราบจุดประสงค์ ทราบหน้าที่ในการตั้งจุดตรวจจุดสกัด มีหลักในการสังเกตบุคคลต้องสงสัย หากพบต้องมีการบันทึกภาพคน ยานพาหนะ จัดเก็บข้อมูล และแจ้งผู้บังคับบัญชาทราบโดยทันที
3.4 หากมีเหตุ และมีการแจ้งเหตุก้าวสกัดจับ ต้องมีการตั้งจุดก้าวสกัดจับปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างทันท่วงที
4 ปัญหายาเสพติดเป็นปัญหาด้านความมั่นคงประเทศ เป็นวาระแห่งชาติ ที่จะต้องช่วยกันปราบปราม โดย
4.1 แนวทางการทำงานที่ผ่านมา ทุกมิติให้ดำเนินการต่อไป แต่จะต้องดำเนินการแบบเข้มข้น ทั้งในมิติการค้นหาผู้เสพไปดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็นการบำบัดหรือดำเนินคดีก็ตาม การดำเนินการกับผู้จำหน่าย ชุมชนยั่งยืน การค้นหาและการเยี่ยมเยียนชุมชนให้รู้จักสถานการณ์ในพื้นที่จริงในภาพรวมของแต่และพื้นที่
4.2 ผบก. / หน.สภ. ต้องขับเคลื่อนด้วยตนเอง
4.3 การค้นหาผู้เสพ ต้องดำเนินการแบบครูแม่ไก่ แนะนำสายตรวจ หมู่บ้าน ตำบล หรือ ชมส. หน.หน่วย ต้องเป็นตัวขับเคลื่อนร่วมกับเครือข่าย ท้องถิ่น ฝ่ายปกครอง ผู้นำชุมชน อสม. สาธารณสุข หรือแนวร่วมอื่นๆ ช่วยกันในการค้นหาเอามาลงระบบ เพื่อทราบว่าอันไหนเป็นปัญหา สีเขียว สีเหลือง สีแดง เพื่อหามาตรการในการแก้ไขปัญหาร่วมกับครอบครัวของบุคคลนั้นด้วย
4.4นอกจากชุมชนแล้ว ต้องดูในสถานบริการ สถานประกอบการต่าง ๆ ให้ทำทุกมิติในพื้นที่ตัวเอง
4.5ชุมชนยั่งยืน หลายหน่วยยังดำเนินการไม่ได้มาตรฐาน แสดงถึงความไม่เอาใจใส่ของ ผบก. / รอง ผบก. และ หน.สภ. บาง สภ. ค้นหาผู้เสพไม่ได้เลย ภายใน 1 เดือน (ภายในเดือนตุลาคม 2565) ทุกพื้นที่ต้องค้นหาข้อมูลผู้เสพที่มีลักษณะสีแดง แต่ถ้าทำได้ทุกอย่างเลยก็สามารถดำเนินการได้เลยยิ่งเป็นการดี หน.หน่วย จะได้วางแผนได้ว่าจะดำเนินการอย่างไรร่วมกับครอบครัว และชุมชน เพื่อจะวางแผนระงับเหตุ ในการแก้ปัญหาไม่ให้คลุ้มคลั่ง ซึ่งเป็นการแก้ปัญหาที่ต้นเหตุ
4.6ห้ามมีการพัวพันกับยาเสพติดโดยเด็ดขาด
4.7ชุมชนยั่งยืน ต้องดำเนินการอย่างจริงจัง ให้หมู่บ้านเป้าหมายเป็นสีแดง หมู่บ้านใกล้เคียงเป็นสีขาว โดยประสานกับ นายก อบต. กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน และให้นำประมวลกฎหมายยาเสพติดมาใช้ให้มีประสิทธิภาพ
4.8เน้นการลงระบบซักถาม ให้ประสานกับอัยการพื้นที่ เกี่ยวกับการลงระบบการซักถามซึ่งอาจใช้เป็นหลักฐาน เพื่อนำไปสู่การจับกุมผู้จำหน่ายได้
5. กำชับเน้นย้ำนโยบายในเรื่องการปราบปราม การค้ามนุษย์ , แรงงานต่างด้าวหลบหนีเข้าเมือง , ผู้มีอิทธิพล , มือปืนรับจ้าง , การค้าประเวณี , การทำประมงผิดกฎหมาย , เงินกู้นอกระบบ , ยาเสพติด , เด็กแว้น , นักเรียนยกพวกตีกัน , การละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา , การเปิดสถานบริการผิดกฎหมาย , บ่อนการพนัน , การพนันออนไลน์ , การแก้ไขปัญหาจราจร และกระทำผิดบนโลกโซเชียล Fake New (ข่าวปลอม) ต่างๆ
ณ ห้องประชุม ศปก.ภ.7 ชั้น 4 อาคารตำรวจภูธรภาค 7 ถ.ข้างวัง ต.พระปฐมเจดีย์ อ.เมืองนครปฐม จ.นครปฐม