ตำรับยาน้ำมันกัญชาทั้ง 5 (สูตรรับประทาน) และ (สูตรใช้ภายนอก) เป็นความรู้ภูมิปัญญาพื้นบ้านของ นายอร่าม หรือลุงดำ ลิ้มสกุล จังหวัดสุราษฎร์ธานี ที่มีการนำมาใช้ทุกส่วนของกัญชา(ดอก เมล็ด ใบ ลำต้น ก้าน และราก มาเคี่ยวกับน้ำมัน
ตามที่เขตสุขภาพที่ 6 กำหนดจัดงานบูรพารวมกัญ มหัศจรรย์กัญชา สร้างสุขภาพ สร้างงานสร้างรายได้ …มีการประชุมทางวิชาการ , บูธนิทรรศการ , บูธจำหน่ายผลิตภัณฑ์กัญชา,คลีนิคกัญชาทางการแพทย์ มีการในระหว่างวันที่ 6-8 พ.ค.65 ที่มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี อ.เมืองจันทบุรี จ.จันทบุรี ในช่วงระหว่างเวลา0900น.-18.00น. นั้น
ภญ.ดร.สุภาภรณ์ ปิติพร เลขาธิการมูลนิธิโรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร กล่าวว่า พญ.โศรยา ธรรมรักษ์. ผอ.โรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร ได้นำ ตำรับยาน้ำมันกัญชาทั้ง 5 (สูตรรับประทาน) และ (สูตรใช้ภายนอก) เป็นความรู้ภูมิปัญญาพื้นบ้าน ของนายอร่าม หรือลุงดำ ลิ้มสกุล จังหวัดสุราษฎร์ธานี ที่มีการนำมาใช้ทุกส่วนของ “กัญชา” (ดอก เมล็ด ใบ ลำต้น ก้าน และราก มาเคี่ยวกับน้ำมัน มาเผยแพร่แก่ประชาชน ยาจากกัญชาตำรับหมอพื้นบ้าน เป็นความภาคภูมิใจของคนไทยอีกขนานหนึ่ง อันจะทำ ให้มีการพึ่งตนเองด้านยาได้ในทุกระดับ !!! ที่ได้รับความสนใจล้นหลาม ในสูตร “กัญชา” นี้
ลุงดำ อายุ 59 ปี เป็นชาวเกาะเต่า อำเภอเกาะพะงัน จังหวัดสุราษฎร์ธานี
ตำรับ กัญชา ยา ลุงดำ มาจากตำรับที่สืบทอดมากจากหมอพื้นบ้าน มีการใช้กัญชาทั้ง 5 ส่วน ทั้งดอก ใบ กิ่งก้าน ราก ซึ่งมีความแตกต่างจากการใช้ของการแพทย์แผนปัจจุบัน ที่เน้นการใช้สารทางยาจากดอก เช่น THC หรือ CBD จากข้อมูลสมัยใหม่พบว่าในส่วนรากนั้นแม้ไม่มีสารพวก THC หรือ CBD แต่มีสารอื่น เช่น ฟริเดลีน(freideline) ที่ฤทธิ์ลดการอักเสบ ลดปวด
เมื่อทางโรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร ได้เข้าไปถอดความรู้ลุงดำ มีความสนใจในตำรับยานี้ จึงได้เข้าไปสัมภาษณ์ ติดตามผลการใช้ยาตำรับนี้จากชาวบ้านที่เคยใช้ยาตำรับนี้
พบว่าส่วนใหญ่ยืนยันตรงกันว่าได้ผลดีในอาการปวด ช่วยให้นอนหลับ ไมเกรน จึงได้จัดทำข้อมูลเพื่อประกอบการเสนอให้ลุงดำได้รับการรับรองเป็นหมอพื้นบ้าน และ ลุงดำได้มอบตำรับยานี้ให้กับโรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร
ทางโรงพยาบาลได้ทำการขออนุญาตผลิต เป็นยาที่ต้องมีการติดตามการใช้ หลังจากการติดตามผู้ป่วยจำนวนพันกว่าราย พบว่า ตำรับนี้มีประสิทธิภาพในการแก้ปวดและช่วยให้นอนหลับ แทบไม่มีผลข้างเคียงเลย ทั้งยังมี ปริมาณสาร THC น้อยกว่า 0.2 % แต่กลับมีประสิทธิภาพดี ในสองอาการดังกล่าวเป็นการยืนยันความเชี่ยวชาญในการใช้กัญชาของคนไทย จะทำให้มีการพึ่งตนเองด้านยาได้ในทุกระดับ
จากการไม่สามารถเข้าถึงการรักษาแผนปัจจุบันได้ง่ายอย่างเกาะเต่า ความเมตตาของลุงดำ ที่สืบสานวิถีการใช้กัญชาเอาไว้ ส่งต่อให้หน่วยงานที่มีความเข้มแข็งทางวิชาการ อย่างโรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร จึงเป็นผสมผสานอย่างลงตัวที่ทำให้สังคมไทย จะมียาจากกัญชาตำรับหมอพื้นบ้าน เป็นความภาคภูมิใจของคนไทยอีกขนานหนึ่ง
ล่าสุดทางโรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร อยู่ระหว่างนำเสนอยาน้ำมันกัญชาทั้ง 5 เข้าสู่บัญชีรายาหลัก บัญชี 1 โดยจะหมายเหตุที่มาของตำรับว่า มาจาก ลุงดำ ซึ่งการที่อยู่ในบัญชียาหลักนี้จะทำโรงพยาบาล โรงงานยาของภาคเอกชน สามารถที่จะผลิตได้ รวมทั้งประชาชนทั่วไปก็สามารถทำเองได้ สูตรยากัญชา และที่มานั้น สมัยลุงดำเป็นเด็ก การปลูกกัญชาไว้หลังบ้าน เป็นเรื่องปกติธรรมดาของคนบนเกาะ เพื่อเอาราก ใบ ดอก มาใส่แกง บ้านไหนไม่มีก็ไปขอจากบ้านที่ปลูกไว้ เหมือนกะเพรา โหระพา เวลาไปซอมือ (ลงแขก) ทำสวน ก็ทำอาหารใส่กัญชาปรุงรสมากินกัน การสูบกัญชา ก็เป็นวิถีของคนที่นี่เริ่มตั้งแต่วัยรุ่น มีการสอนให้สูบกัญชาเป็น ในปริมาณที่เหมาะสม ให้สูบพร้อมกับดื่มน้ำผลไม้ ทำให้ชุ่มคอและไม่เมา ทำให้ใจสงบผ่อนคลาย
ลุงดำโตขึ้นมาพร้อมกับที่ได้เห็นหมอยาพื้นบ้านที่อยู่บ้านตรงข้ามกันชื่อ ตาเงื่อน เป็นญาติทางฝ่ายตา มักจะเก็บต้นกัญชาต้นโตในสวนภายในรั้วบ้านมาทำยา ทั้งยาต้ม ยาผง โดยจะใช้กัญชาทั้ง 5 (ถอนเอามาทั้งต้น) ตากแห้ง บดผสมกับ ขิง พริกไทย ขมิ้น โหระพา ห่อผ้าขาว ต้มกิน แก้กษัยปวดเมื่อย แก้โรคทางลำไส้ ท้องอืด แก้นิ่ว และ นำรากมาบดทำยาอื่นๆ ด้วย
ต่อมาลุงดำได้แต่งงานกับภรรยาชาวต่างชาติ และย้ายไปอยู่ต่างประเทศหลายปี ทำให้มีโอกาสได้รับรู้การใช้กัญชาเป็นยาในต่างประเทศ การที่เคยได้เห็นการปลูกและใช้กัญชาในวิถีพื้นบ้านของเกาะเต่า ประกอบกับประสบการณ์ที่ไปช่วยเขาปลูกและสกัดในต่างประเทศ
ลุงดำจึงอาศัยประสบการณ์เหล่านี้มาทำยากัญชารักษาตนเองและครอบครัว ตลอดจนคนในชุมชน มาเป็นเวลา 5 ปีแล้ว โดยมีสูตรยาต้มกับยาน้ำมันตำรับยากัญชา หมอยาภาคใต้ ตำรับยากัญชา ลุงดำ (อร่าม ลิ้มสกุล) เกาะเต่า
ตำรับ ยาต้มกัญชา ส่วนประกอบ รากกัญชา 2 ส่วน ใบกัญชา 4 ส่วน ใบเตย ตะไคร้ อย่างละ 1 ส่วน วิธีทำแบ่งทำเป็นถุงชา ต้มกับน้ำ 500 มิลลิลิตร ดื่มต่อวัน ประมาณ 1 ถ้วยชาจีน (120 ซีซี) วันละ 4 ครั้ง ก่อนอาหาร สรรพคุณ ปวดเมื่อย นอนไม่หลับ คุมเบาหวาน ความดัน ท้องอืด
ยาน้ำมันกัญชา ตำรับนี้ใช้หยอดใช้กิน โดยนำสิ่งที่ได้เรียนรู้มาจากต่างประเทศ มาประยุกต์เข้ากับตำรับตาเงื่อน หมอยาพื้นบ้านเกาะเต่า ส่วนประกอบ คือรากกัญชา 50 กรัม ลำต้นและก้าน 50 กรัม ใบและเมล็ด 50 กรัม และ ดอกแห้ง 5 กรัม
วิธีทำ นำมาย่อยให้เล็ก อบรวมกันที่ 120 องศาเซลเชียส1 ชั่วโมง ใส่ขวดรวมในโหลแก้ว กดลงพอแน่น เติมน้ำมันมะพร้าวพอท่วมพอดี ปิดฝาดองไว้ 10-15 วัน จากนั้นนำมาต้มในหม้อตุ๋นไว้ 6 ชั่วโมง เสร็จแล้ว นำมากรองด้วยกระดาษชงกาแฟ
วิธีใช้และสรรพคุณ เบาหวาน ทาน เช้า-เย็น ครั้งละ 1 Cap (3 หยด) มะเร็ง ทาน 4 เวลา ครั้งละ 1 Cap นอนไม่หลับ 2 Cap (6 หยด) ก่อนนอน เกาต์ หลอดเลือดหัวใจ หลอดลม ทานเช้า เย็น สะเก็ดเงิน ใช้ทาและทาน เช้า-เย็น 1 Cap ผื่นแพ้ ผื่นเคมี แผลเบาหวาน แผลกดทับ ใช้ทา
ที่มาของตำรับยา ตำรับกัญชาทั้ง 5 เป็นองค์ความรู้พื้นบ้าน ที่มีประสบการณ์การณ์การใช้ในผู้ป่วยที่มีการลงบันทึกประวัติจำนวน 355 ราย และในจำนวนนี้ 169 รายได้ถูกสัมภาษณ์ประสิทธิผลและความปลอดภัยโดยบุคลากรของโรงพยาบาล เจ้าพระยาอภัยภูเบศร
โดยพบว่า ยาน้ำมันกัญชาทั้ง 5 ถูกนำไปรักษาอาการที่สัมพันธ์กับจิตใจและอารมณ์ (นอนไม่หลับ วิตกกังวล เบื่ออาหาร) มากที่สุด 62 คน (ร้อยละ 42.2) รองลงมาคือ กลุ่มอาการปวด จำนวน 38 คน (ร้อยละ 25.8) และโรคเรื้อรัง จำนวน 23 คน (ร้อยละ 15.6) ตามลำดับ
ส่วนขนาดยาน้ำกัญชาที่ใช้มากที่สุด คือ วันละ 1-3 หยด จำนวน 66 คน (ร้อยละ 58.9) รองลงมา วันละ 4-6 หยด จำนวน 29 หยด (ร้อยละ 25.9) มากกว่า 9 หยด จำนวน 13 คน (ร้อยละ 11.6) และ 7-9 หยด จำนวน 4 คน (ร้อยละ 3.6) ตามลำดับ
จากข้อมูลชุดนี้ทางโรงพยาบาลได้นำมาใช้ กำหนดเป็นแนวทางในการใช้ยา องค์ความรู้การใช้พื้นบ้านดังกล่าวสอดคล้องกับองค์ความรู้ทางแพทย์แผนไทยที่มีการบันทึกระบุว่า กัญชา มีรส เมา เบื่อ แก้ในทางวาตะสมุฏฐาน”
หมอพื้นบ้านใช้ดอกผสมรับประทานเป็นยาแก้โรคเส้นประสาทคือนอนไม่หลับ คิด มาก เบื่ออาหาร การตั้งตำรับยา จึงมุ่งไปที่การทำให้ตัวยาออกฤทธิ์ดีขึ้น และได้ประโยชน์จากโอสถสารหลายชนิดที่มี ในกัญชา จึงใช้กัญชาทั้งห้า คือ ราก ต้น ใบ ดอก และเมล็ด และนำมาผ่านความร้อน (โดยการคั่วหรืออบ) แล้วหุงด้วย น้ำมันมะพร้าว เพื่อให้โอสถสารในกัญชา ซึ่งมีลักษณะเป็นน้ำมันละลายออกมา การหุงด้วยน้ำมันโดยแช่ตัวยาในน้ำมัน มะพร้าวก่อน เพื่อให้น้ำมันแทรกซึมเข้าในตัวยาอย่างทั่วถึง ทำให้ลดเวลาในการหุงน้ำมันโดยใช้ความร้อนลงได้
ปัจจุบัน มีงานวิจัยที่สนับสนุนการใช้กัญชาทางการแพทย์อย่างกว้างขวาง แต่ก็ยังขาดข้อมูลอีกหลายด้านที่จะ สนับสนุนให้มีการใช้กัญชาเพื่อการรักษาโรคทดแทนการรักษามาตรฐานที่มีอยู่ การศึกษาในระยะหลังพบว่าส่วนต่าง ๆ ของกัญชามีพฤกษเคมีที่แตกต่างกันและอาจนำมาใช้ในการรักษาโรคที่แตกต่างกันยกตัวอย่างเช่น ในดอกพบ phytoCannabinoids 120 ชนิด ปัจจุบันระบุได้ 10 ชนิด ได้แก่ (1)-trans- 69-tetrahydrocannabinol (69-THC), (-)-trans-88-tetrahydrocannabinol (88-THC), cannabigerol (CBG), cannabichromene (CBC), cannabidiol (CBD), cannabinodiol (CBND), cannabielsoin (CBE), cannabicyclol (CBL), cannabinol (CBN), cannabitriol (CBT) สารสำคัญที่พบบ่อยในพืชได้แก่ 6-THC และ CBD ในใบพบ alkaloids, flavonoids, cardiac glycosides, และ steroids ในส่วนของรากนั้นพบว่ามี triterpenoids (friedelin และ epifriedelanol), alkaloids (cannabisativine และ anhydrocannabisativine), caryone และ dihydrocarvone; N- (p- hydroxy-8phenylethyl)-p-hydroxy-trans-cinnamamide และ sterols ชนิดต่าง ๆ โดยไม่พบ phytocannabinoids ในราก เลย ทั้งนี้ยังพบว่าสาร friedelin ที่พบในรากมีฤทธิ์ลดการอีกเสบและปวด การวิจัยในปัจจุบันพบว่าการสกัดกัญชาทั้งต้นออกฤทธิ์ในการลดปวด และลดการอักเสบได้ดีกว่าสารสกัด CBD เดี่ยว รวมถึงลดบวมได้ที่หลายความแรง”
ผลงานวิจัยในปัจจุบันสนับสนุนการใช้ยากัญชาเพื่อบรรเทาอาการที่ ผู้ป่วยมาใช้ยาน้ำมันกัญชาโกดำ ได้แก่ การบรรเทาอาการปวด”
นอกจากนั้นยังพบว่า THC 15 มิลลิกรัม มีผลช่วยให้ นอนหลับ” และ THC ขนาด 2.5-10 มิลลิกรัม อาจมีประโยชน์ในการรักษา sleep apnea รวมทั้งมีสิทธิบัตรที่ 11 ใน การใช้ยากัญชารักษาโรคผิวหนังอักเสบ จากข้อมูลข้างต้นที่น่าจะช่วยยืนยันประสิทธิผลของยากัญชาตามคำบอกเล่า ของผู้ป่วย
มานิตย์ สนับบุญ รายงานจาก จ.ปราจีนบุรี