วันนี้(วันพฤหัสบดี ที่ 3 พ.ย. 65) เวลา 09.30 น.
พล.ต.ท.ธนายุตม์ วุฒิจรัสธำรงค์
ผบช.ภ.7
เป็นประธานการ
“ประชุม ศปก.ภ.7 ครั้งที่ 23/2565” ด้วยระบบทางไกลผ่านจอภาพ (Video Conference)
พร้อมด้วย
พล.ต.ต.สิทธิชัย โล่กันภัย
รอง ผบช.ภ.7
พล.ต.ต.บุญญฤทธิ์ รอดมา
รอง ผบช.ภ.7
พล.ต.ต.วรายุทธ สุขวัฒน์
รอง ผบช.ภ.7
พล.ต.ต.ชมชวิณ ปุระธนานนท์
รอง ผบช.ภ.7
พล.ต.ต.นรเศรษฐ์ สุวรรณนิกขะ
ผบก.กค.ภ.7
พล.ต.ต.ปรีดา อิ่มเจริญ
ผบก.ศฝร.ภ.7
พ.ต.อ.ปรัชญา ทองน้ำวน
รอง ผบก.อก.ภ.7
พ.ต.อ.หญิง ดวงใจ พานิชอัตรา
รอง ผบก.อก.ภ.7
และ ผกก. พร้อมเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมประชุม
โดยได้ประชุมในเรื่อง
1. หน่วยต่าง บช.ในพื้นที่ ภ.7 รายงานผลการปฏิบัติงานที่สำคัญ (บก.ส.1)
2. ฝอ.1 บก.อก.ภ.7 สรุปเรื่องร้องเรียนและเรื่องวินัยคงค้างทั้งหมด
3. ฝอ.2 บก.อก.ภ.7
-สรุปสถิติคดีอาญา 4 กลุ่ม
-รายงานคดีอุกฉกรรจ์ สะเทือนขวัญ หรือคดีที่น่าสนใจ
-สรุปสถานการณ์ด้านความมั่นคง/ความเคลื่อนไหวของกลุ่มการเมือง/การชุมนุมเรียกร้องในพื้นที่
4. ศอ.ปส.ภ.7
– รายงานผลการปฏิบัติงานของ ศอ.ปส.ภ.7
5. ฝอ.3 บก.อก.ภ.7
-ภารกิจถวายความปลอดภัย และการรักษาความปลอดภัยบุคคลสำคัญที่เข้ามาในพื้นที่
-รายงานผลการตรวจสถานีตำรวจของผู้บังคับบัญชาใน ภ.จว.
-รายงานข้อมูลสำคัญเกี่ยวกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในพื้นที่ ภ.7
-รายงานผลการใช้จ่ายงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2565
6. ฝอ.4 บก.อก.ภ.7
-รายงานผลการเบิกจ่ายงบประมาณของกองทุนเพื่อการสืบสวนสอบสวนคดีอาญา
-ผลการดำเนินการงบประมาณรายจ่ายลงทุน ตาม พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปี พ.ศ. 2564-2565
7. ฝอ.5 บก.อก.ภ.7
-ข่าวสารทางสื่อ และปฏิบัติการข่าวสาร (IO)
-โครงการ โคกหนองนาแห่งน้ำใจและความหวัง
8. ฝอ.6 บก.อก.ภ.7
-การรายงานข้อมูลที่มีผลกระทบทางสื่อสังคมออนไลน์
-การรับแจ้งเหตุฉุกเฉิน 191
-รายงานการแจ้งเบาะแส/ร้องเรียน
9. บก.สส.ภ.7
– คดีอุกฉกรรจ์ฯ ที่ยังจับกุมไม่ได้ ตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค. 64 – ปัจจุบัน
– การบันทึกข้อมูลในระบบ CRIMES
– คดีที่ยังไม่จำหน่ายออกจากระบบ CRIMES
– สถิติข้อมูลหมายจับ CCOC
– สรุปผลการออกหมายจับผู้ต้องหา (หมายจับที่ออกใหม่/มีคุณภาพ/ไม่มีคุณภาพ)
– สรุปผลการเร่งรัดจับกุมผู้ต้องหาตามหมายจับเฉพาะหมายที่มีคุณภาพ (ร้อยละ 5)
– ผลการปฏิบัติของ บก.สส.ภ.7 และ กก.สส.ภ.จว.
– รายงานผลการตรวจ DNA
10.ศปอส.ภ.7
– รายงานผลการปฏิบัติงานของ ศปอส.ภ.7
11.บก.กค.ภ.7
– สถิติสำนวนคดีอาญา ตาม ป.วิอาญามาตรา 145 และ มาตรา 145/1
12.ศปจร.ภ.7
– การโจรกรรมรถยนต์และรถจักรยานยนต์
13.ศปชก.ภ.7
– ผลการจับกุมแรงานต่างด้าวหลบหนีเข้าเมืองโดยผิดกฎหมาย
มีข้อสั่งการกำชับการปฏิบัติ ได้แก่
1.เนื่องด้วยในวันอังคาร ที่ 8 พ.ย.2565 เป็นวันลอยกระทง ในหลายพื้นที่มีการดำเนินการจัดกิจกรรม จึงกำชับให้ทุกหน่วยหน่วยปฏิบัติดำเนินมาตรการป้องกันปราบปรามอาชญากรรม การรักษาความสงบเรียบร้อยความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนและนักท่องเที่ยวในช่วงเทศกาลประเพณีลอยกระทง ประจำปี 2565 จึงกำชับ ดังนี้
1.1 มาตรการป้องกันอาชญากรรม
1.1.1ให้ หน.สภ. กำชับเจ้าหน้าที่ตำรวจสายตรวจ ออกตรวจตราตามสถานบริการ สถานบันเทิง ชุมชน สวนสาธารณะ หรือสถานที่ที่คาดว่าประชาชนและนักท่องเที่ยวจะมีการรวมตัวเพื่อลอยกระทงจำนวนมาก เยาวชนกลุ่มเสี่ยง รวมถึงพื้นที่เสี่ยงต่อการเกิดอาชญากรรม เพื่อป้องกันการเกิดคดีที่เกี่ยวกับชีวิต ร่างกาย เพศ และทรัพย์
1.1.2 จัดกำลังออกตรวจตราและปรากฏกายในสถานที่ที่ประชาชนและนักท่องเที่ยวจะมีการรวมตัวเพื่อลอยกระทงจำนวนมาก ตลอดจนสวนสาธารณะ สถานที่ที่มียานพาหนะจอดเป็นจำนวนมาก เพื่อลดโอกาสในการกระทำความผิด จัดเจ้าหน้าที่ตำรวจฝ่ายสืบสวนกดดัน ติดตาม บุคคลเป้าหมาย และ/หรือบุคคลพ้นโทษ หรือผู้ที่ได้รับการปล่อยตัวชั่วคราวในคดีเกี่ยวกับเพศและทรัพย์ในพื้นที่รับผิดชอบ รวมทั้งควบคุมการจำหน่ายและการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในสถานที่ที่ประชาชนไปลอยกระทง
1.1.3 ประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ครู อาจารย์ ในสถานศึกษาเพื่อสร้างความรู้ ความเข้าใจ ในการระมัดระวังป้องกันมิให้เด็กและเยาวชนกระทำผิดหรือตกเป็นเหยื่ออาชญากรรม และอบายมุขประเภทต่างๆ รวมทั้งใช้มาตรการทางปกครองของสถานศึกษาเพื่อลดแรงจูงใจ ในการกระทำความผิดและหากพบการกระทำความผิดให้สืบสวนขยายผลดำเนินคดีกับผู้อยู่เบื้องหลังหรือสนับสนุนให้กระทำความผิดด้วย
1.1.4 ประสานงานกับฝ่ายปกครอง หน่วยทหารในพื้นที่ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐ และเอกชนผู้จัดงานเพื่อขอความร่วมมือในการป้องกันอาชญากรรมหรือภยันตรายต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นกับประชาชนและนักท่องเที่ยวที่มาเที่ยวชมงาน โดยให้นำแนวทางการปฏิบัติตามโทรสาร ศปก.ตร. ด่วนที่สุด ที่ 0001(ศปก.ตร.)/0171 ลง 26 ก.พ.2556 เกี่ยวกับการรักษาความสงบเรียบร้อยในบริเวณการจัดงานรื่นเริงมาประยุกต์ใช้ตามความเหมาะสม
1.1.5 ให้ สภ. ที่มีเรือตรวจการณ์ทางน้ำ จัดเรือออกตรวจตราตามบริเวณลำน้ำเพื่อป้องกัน และช่วยเหลือผู้ประสบเหตุทางน้ำ และประสานกับกรมเจ้าท่า ตรวจความเรียบร้อย ความมั่นคงของโป๊ะหรือท่าเทียบเรือ กรณีไม่อยู่ในสภาพที่ปลอดภัยหรือซ่อมแซมไม่ได้ ให้แจ้งผู้เกี่ยวข้องปิดประกาศห้ามใช้ให้เห็นชัดเจน มีเชือกกั้นเขตไม่ให้เข้าไปใช้บริการ มีการประชาสัมพันธ์ไม่ให้ประชาชนและนักท่องเที่ยวลงไปเกินจำนวนที่อาจจะเกิดอุบัติเหตุขึ้นได้ รวมทั้งเตรียมแผนเผชิญเหตุทางน้ำให้ชัดเจน
1.1.6 ให้สำรวจพื้นที่ที่มีการจัดงานประเพณีลอยกระทงขนาดใหญ่ และคาดว่าจะมีประชาชนมาร่วมงานเป็นจำนวนมาก ให้จัดตั้ง ศปก.สน. เพื่อบริหารเหตุการณ์ จัดระเบียบพื้นที่ แล้วรายงานผลการสำรวจตามแบบรายงานที่กำหนดให้ ภ.7 (ผ่าน งาน 5 ฝอ.3 บก.อก.ภ.7) ทราบ ทางไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ work1310@gmail.com หรือ Application Line กลุ่ม “งานอาชญากรรม ภ.7” โดยประสานการปฏิบัติกับ ฝอ.3 บก.อก.ภ.7
1.1.7 ในพื้นที่จัดงานตามข้อ 1.6 ให้แต่ละ ภ.จว. ประสานการปฏิบัติการฝ่ายปกครอง และหน่วยทหาร ในการจัดเจ้าหน้าที่ร่วมดูแลความปลอดภัยในการจัดตั้งศูนย์เฉพาะกิจป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ช่วงวันลอยกระทงและการตั้งเต็นท์กองอำนวยการร่วมส่วนหน้า รวมทั้งให้ ภ.จว. ประสานกับ บก.รน. ที่มีหน่วยตั้งอยู่ในพื้นที่ ร่วมกันดูแลอำนวยความสะดวก ให้ความช่วยเหลือประชาชนและนักท่องเที่ยวในการตั้งเต็นท์กองอำนวยการร่วมส่วนหน้าในจุดที่รับผิดชอบพื้นที่ทางน้ำ
1.1.8 ให้กวดขัน เพิ่มความเข้มวงรอบในการตรวจตรา ตรวจสอบและควบคุมการปฏิบัติของสถานบริการ และสถานประกอบการที่มีลักษณะคล้ายสถานบริการ สถานบันเทิง ผับ บาร์ คาราโอเกะ หรือสถานที่อื่นที่มีลักษณะคล้ายกันทุกแห่ง รวมทั้งมีการจัดให้ตรวจสอบและสุ่มตรวจการจำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ การกระทำความผิดเกี่ยวกับการค้ามนุษย์ ยาเสพติด และการเล่นการพนันทุกชนิดในพื้นที่รับผิดชอบ หากพบว่ามีการ ฝ่าฝืนและ/หรือไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย ให้ดำเนินการกับผู้ฝ่าฝืนตามกฎหมายอย่างเคร่งครัดและขยายผลกับผู้เกี่ยวข้องทุกราย
1.1.9 ให้สืบสวน หาข่าว จัดทำฐานข้อมูลโรงงานผลิตพลุ ประทัด เชื้อประทุ ดอกไม้เพลิง ที่น่าเชื่อว่ามีการลักลอบผลิต รวมทั้งบุคคลหรือกลุ่มบุคคลที่มีพฤติการณ์รับจ้างผลิตสิ่งของดังกล่าวในพื้นที่ หากพบว่ามีการกระทำความผิดให้ดำเนินการจับกุมและเสนอเพิกถอนใบอนุญาต กรณีเคยเกิดเหตุโรงงานทำดอกไม้ไฟ หรือพลุระเบิดในพื้นที่ให้เพิ่มความเข้มในการตรวจเพื่อป้องกันการเกิดเหตุร้ายซ้ำ
1.1.10 ประสานกับฝ่ายปกครองในการกวดขันสถานที่เก็บวัตถุ สารเคมีหรือดินปืนที่ใช้ผลิตดอกไม้เพลิง พลุ และประทัดให้อยู่ในสภาพปลอดภัย การป้องกันอันตรายจากการเกิดอุบัติเหตุขณะขนย้ายหรือการนำไปใช้โดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์ สำหรับการอนุญาตให้ทำ นำเข้า หรือค้า ต้องปฏิบัติตามหนังสือ กระทรวงมหาดไทย ที่ มท 0310.2/ว 826 ลง 23 มี.ค.2544 และ ด่วนมาก ที่ มท 0310.2/12888 ลง 26 ต.ค.2544 โดยสามารถดาวน์โหลดรายละเอียดได้ที่เว็บไซต์ www.thaicrimes.org
1.1.11 ร่วมกับเจ้าพนักงานท้องถิ่น ซึ่งมีอำนาจออกคำสั่งระงับและป้องกันเหตุเดือดร้อนรำคาญ ตาม พ.ร.บ.การสาธารณสุข พ.ศ.2535 มาตรา 25 (4) มาตรา 26 มาตรา 27 และ มาตรา 28 พิจารณากำหนดพื้นที่ที่ไม่สมควรให้มีการเล่นดอกไม้เพลิงเนื่องจากจะเป็นอันตรายต่อชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน
1.1.12 ขอความร่วมมือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ร่วมกำหนดมาตรการรักษาความปลอดภัยในช่วงประเพณีลอยกระทงอย่างชัดเจนและบังคับใช้อย่างเคร่งครัด อาทิ การห้ามปล่อยโคมลอย หรือยิงบั้งไฟ ในพื้นที่ที่อยู่ในเส้นทางการบินของเครื่องบินเพื่อป้องกันการเกิดอุบัติเหตุร้ายแรง การงดเล่นดอกไม้เพลิง พลุ ประทัด รวมถึงการยิงปืนขึ้นฟ้าโดยไม่มีเหตุอันควร การรณรงค์ลอยกระทงปลอดเหล้า ด้วยการงดจำหน่ายสุราหรือเครื่องดื่มมึนเมาในบริเวณที่ประชาชนไปลอยกระทงหรือใกล้เคียง รวมถึงชี้แจงแก่วัดต่างๆ ถึงการปล่อยโคมลอยเพื่อเป็นพุทธบูชา ขอให้คำนึงถึงความปลอดภัยต่อชีวิตและทรัพย์สินของผู้อื่นอย่างเคร่งครัด
1.2 มาตรการปราบปราม
ให้กวดขันจับกุมผู้เล่นดอกไม้เพลิง พลุ และประทัด ในลักษณะที่ก่อให้เกิดความเดือดร้อนรำคาญ หรือในลักษณะที่น่าจะเป็นอันตรายต่อชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน ในกรณีที่เป็นเด็กให้ดำเนินการกับผู้ปกครองตาม พ.ร.บ.คุ้มครองเด็ก พ.ศ.2546 เพื่อให้ผู้ปกครองเข้ามามีส่วนรับผิดชอบด้วย ในส่วนของผู้ผลิต หรือผู้จำหน่ายดอกไม้เพลิง พลุ และประทัดที่ได้รับอนุญาตให้ถือปฏิบัติตามกฎหมายอย่างเคร่งครัด หากตรวจพบว่ามีการลักลอบผลิต จำหน่ายโดยผิดกฎหมาย ให้ดำเนินคดีทันที
1.3 มาตรการรักษาความสงบเรียบร้อยในพื้นที่
1.3.1 ให้ ภ.จว. กำชับหน่วยปฏิบัติให้เข้มงวดกวดขันป้องกันการฉวยโอกาสของผู้ไม่หวังดีหรือผู้เสียผลประโยชน์ก่อเหตุร้ายในพื้นที่ต่างๆ เป็นกรณีพิเศษ โดยเพิ่มความเข้มในการตรวจตรารักษาความปลอดภัยสถานที่ราชการ สถานที่ที่มีชาวต่างชาตินิยมเดินทางไปท่องเที่ยวรวมทั้งสวนสาธารณะ แหล่งชุมชน พร้อมประสานการปฏิบัติกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการวางแผน ร่วมปฏิบัติในการรักษาความปลอดภัยและอำนวยความสะดวกให้นักท่องเที่ยว โดยเฉพาะอย่างยิ่งในแหล่งท่องเที่ยวสำคัญๆ หรือสถานที่ที่คาดว่าจะมีประชนชนและนักท่องเที่ยวจะมีการรวมตัวเพื่อลอยกระทงจำนวนมาก เพื่อป้องกันการหลอกลวงการขายสินค้าหรือบริการของกลุ่มมิจฉาชีพ แก๊งต้มตุ๋น ผู้มีอิทธิพลหรือกลุ่มผู้มีอิทธิพล รวมถึงการกระทำอนาจารที่อาจเกิดขึ้นได้ และประชาสัมพันธ์แจ้งเตือนให้นักท่องเที่ยวทราบ
1.3.2 ให้ ภ.จว. และ บก.สส.ภ.7 ดำเนินการด้านการข่าว รวบรวมข้อมูลข่าวสาร พร้อมทั้งติดตามสถานการณ์ต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง หากพบว่ามีสิ่งบอกเหตุหรือมีความเคลื่อนไหวใดๆ ในการฉวยโอกาสก่อความไม่สงบ การลำเลียงยาเสพติดเข้ามายังพื้นที่ตอนใน หรือเหตุอื่นที่อาจมีผลกระทบต่อความมั่นคง ให้รายงาน ตร. (ผ่าน ศปก.ตร.) และ ภ.7 (ผ่าน ศปก.ภ.7) ทราบทันที ทั้งนี้ให้ประสานข้อมูลกับหน่วยอื่นๆ ที่รับผิดชอบพื้นที่ทราบโดยตรงด้วย
1.3.3 ให้ ภ.จว. , บก.สส.ภ.7 และ ศอ.ปส.ภ.7 เพิ่มความเข้มในตรวจตราการกระทำผิดในการลักลอบขนย้ายยาเสพติดข้ามประเทศ และประสานหน่วยในพื้นที่ที่มีพื้นที่รับผิดชอบติดแนวชายแดนในการป้องกันการลักลอบหลบหนีเข้าเมืองโดยผิดกฎหมายของแรงงานต่างด้าวและการค้ามนุษย์
1.3.4 ให้ ภ.จว. และ บก.สส.ภ.7 ที่มีเจ้าหน้าที่ชุดตรวจและเก็บกู้วัตถุระเบิด จัดชุดเตรียมพร้อมให้การสนับสนุนการปฏิบัติเมื่อได้รับการร้องขออย่างเพียงพอและทันเวลา
1.3.5 ให้ ภ.จว. ประสานกับ สพฐ. ในพื้นที่ จัดเตรียมความพร้อมเรื่องกำลังพล อุปกรณ์เครื่องมือเครื่องใช้ในการปฏิบัติหน้าที่ โดยให้สามารถออกไปตรวจเก็บพยานหลักฐานได้อย่างรวดเร็วเมื่อมีเหตุ
(ต่อ)
1.4 มาตรการอำนวยความสะดวกด้านการจราจร
1.4.1 จัดเจ้าหน้าที่ตำรวจปฏิบัติหน้าที่ประจำในบริเวณสถานที่ที่คาดว่าจะมีประชาชนและนักท่องเที่ยวจะมีการรวมตัวเพื่อลอยกระทงจำนวนมาก และเส้นทางหลักที่คาดว่าจะมีปัญหาจราจร
1.4.2 ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจัดเตรียมเส้นทางเพื่อรองรับการจราจรที่หนาแน่นและประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนและนักท่องเที่ยวทราบ
1.4.3 ขอความร่วมมือประชาชนและนักท่องเที่ยวให้ปฏิบัติตามกฎจราจรในพื้นที่การจัดงานอย่างเคร่งครัด
1.5 มาตรการประชาสัมพันธ์
1.5.1 ให้ ภ.จว. และ บก.อก.ภ.7 (ฝอ.5 บก.อก.ภ.7) ประชาสัมพันธ์ทางสื่อมวลชนทุกแขนง รวมถึงหอกระจายข่าวในหมู่บ้าน เพื่อแจ้งเตือนประชาชนและนักท่องเที่ยว ขอความร่วมมือในการป้องกันอาชญากรรม หรืออันตรายที่จะเกิดขึ้นในช่วงเทศกาลวันลอยกระทง โดยห้ามเล่นดอกไม้เพลิง พลุ ประทัด และโคมลอยในลักษณะที่จะสร้างความหวาดกลัวและก่อความเดือดร้อนรำคาญ หรือเป็นอันตรายแก่ผู้อื่น การยิงปืนในที่สาธารณะโดยไม่มีเหตุอันควร การแต่งกายไม่ควรประดับของมีค่าหรือนำทรัพย์สินติดตัวไปจำนวนมาก เพื่อป้องกันมิให้มิจฉาชีพฉวยโอกาสประทุษร้ายต่อทรัพย์ได้ ให้ระมัดระวังการใช้บริการโป๊ะ ท่าเทียบเรือ หรือพื้นที่ที่มีประชาชนและนักท่องเที่ยวหนาแน่น เพราะอาจจะทำให้เกิดอุบัติเหตุได้ง่าย และให้ผู้ปกครอง กำชับบุตรหลานให้ระมัดระวังเพื่อมิให้ถูกหลอกลวงไปในทางมิชอบ หรือประพฤติตนไม่สมควร รวมถึงไม่ควรปล่อยให้เด็กไปเที่ยวงานโดยลำพัง และขอความร่วมมือสวมหน้ากากอนามัยหรือหน้ากากผ้า เพื่อลดความเสี่ยงในการแพร่เชื้อหรือรับเชื้อโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา (โควิด – 19)
1.5.2 ประชาสัมพันธ์ทางสื่อมวลชนทุกแขนงให้ประชาชนได้รับทราบประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี ฉบับลงวันที่ 23 ก.ค.2555 เรื่อง กำหนดสถานที่หรือบริเวณห้ามบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์บนทาง พ.ศ.2555 ซึ่งกำหนดห้ามผู้ใดบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์บนทางในขณะขับขี่ หรือในขณะโดยสารอยู่ในรถ หรือบนรถ และหากฝ่าฝืนมีโทษตามมาตรา 42 ให้ระวางโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน 10,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
1.6 การปฏิบัติ
1.6.1 ให้ ภ.จว. จัดทำแผน/มาตรการในการป้องกันปราบปราม อาชญากรรมในช่วงเทศกาลลอยกระทงให้สอดคล้องเหมาะสมกับพื้นที่และสถานการณ์มากที่สุด พร้อมจัดทำแผนเผชิญเหตุ และซักซ้อมแผนเพื่อให้ปฏิบัติได้อย่างทันท่วงทีเมื่อมีเหตุร้ายแรงเกิดขึ้นในพื้นที่
1.6.2 ให้ผู้บังคับบัญชาทุกระดับชั้น ควบคุม กำกับดูแล การปฏิบัติของผู้ใต้บังคับบัญชาอย่างใกล้ชิด และประชุมชี้แจงการปฏิบัติให้ผู้ใต้บังคับบัญชาทราบ เพื่อป้องกันเหตุร้ายที่อาจเกิดขึ้น และเป็นการสร้างความเชื่อมั่นในความปลอดภัยให้แก่ประชาชน รวมทั้งกำชับการแต่งเครื่องแบบ การใช้กิริยาวาจาให้สุภาพเหมาะสม เน้นย้ำให้ปฏิบัติตามหลักยุทธวิธีตำรวจและคู่มือการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ตำรวจสายงานป้องกันปราบปราม (Standard Operating Procedure : SOP)
1.6.3 ให้ ผบก.ภ.จว. เป็นผู้ควบคุมการปฏิบัติของกำลังพลทุกหน่วยงานที่อยู่ในพื้นที่รับผิดชอบ โดยให้มีการประชุมวางแผนร่วมกับหัวหน้าหน่วยงานต่างๆ ของ ตร. ในพื้นที่ เพื่อมอบหมายภารกิจและพื้นที่รับผิดชอบแก่เจ้าหน้าที่ให้ชัดเจนตั้งแต่บัดนี้จนกว่าจะเสร็จสิ้นภารกิจ
1.6.4 ให้ บก.สส.ภ.7 เป็นกำลังสนับสนุนการปฏิบัติในพื้นที่ ภ.7 และเป็นกำลังสนับสนุนการปฏิบัติในพื้นที่ ภ.จว. หากได้รับการร้องขอ โดยให้ขึ้นการบังคับบัญชากับ ผบก.ภ.จว. แล้วแต่กรณี
1.6.5 ให้ทุกหน่วยงานประสานและสนับสนุนการปฏิบัติซึ่งกันและกันอย่างใกล้ชิด กรณีมีผลการจับกุมรายสำคัญ มีของกลางเป็นจำนวนมาก หรือเป็นคดีที่อยู่ในความสนใจของประชาชน ให้รายงานผู้บังคับบัญชาโดยตรงของ ภ.7 ทราบทันที โดยดำเนินการตามระเบียบที่เกี่ยวข้อง
1.6.6 ให้มีการมอบหมายผู้รับผิดชอบในการควบคุม กำกับ ดูแลการปฏิบัติอย่างชัดเจนและเป็นระบบ ตั้งแต่ระดับ ภ.จว และ สภ. หากตรวจสอบพบว่ามีการปฏิบัติหน้าที่ไม่มีประสิทธิภาพ ปล่อยปละละเลยไม่สนใจในการปฏิบัติงาน ให้ผู้บังคับบัญชาตามลำดับชั้นพิจารณาลงโทษตามอำนาจหน้าที่
1.7 การรายงาน
กรณีที่มีเหตุสำคัญเร่งด่วนให้ใช้ช่องทาง ศปก. ของหน่วย รายงาน ศปก.ตร. และ ศปก.ภ.7 เพื่อรายงาน ตร. และ ภ.7 ทราบต่อไป
1.8 ให้ รอง ผบช.7 (ปป) เป็นผู้ควบคุม กำกับดูแล การปฏิบัติตามมาตรการต่างๆ ที่สั่งการไว้ในภาพรวมของ ภ.7 ให้เกิดความเรียบร้อยและมีประสิทธิภาพ
1.9 ให้ รอง ผบช.ภ.7 ที่รับผิดชอบพื้นที่ ควบคุม กำกับดูแล การปฏิบัติของ ภ.จว. ในความรับผิดชอบอย่างเคร่งครัด
1.10 กำชับให้ผู้รับผิดชอบระดับ ภ.7 , บก.สส.ภ.7 , ภ.จว. และ สภ. รวมทั้งข้าราชการตำรวจทุกนาย ให้อยู่ปฏิบัติหน้าที่ในพื้นที่ช่วงเทศกาลวันลอยกระทง ประจำปี 2565 โดยจะต้องมีความพร้อมในการปฏิบัติหน้าที่ตลอดเวลา สามารถติดต่อสื่อสารได้ทันทีในทุกช่องทาง
2.ขับเคลื่อนข้อสั่งการพล.ต.อ.ดำรงค์ศักดิ์ กิตติประภัสร์ ผบ.ตร. ในการประชุม ศอ.ปส.ตร. ครั้งที่ 1/2566 กำชับการปฏิบัติ ดังนี้
2.1 ท่านผบ.ตร.ได้ขอบคุณทุกหน่วย/เจ้าหน้าที่ทุกนายที่ได้เร่งรัดดำเนินการป้องกันปราบปราม แก้ไขปัญหาในทุกมิติ ทั้งในการค้นหาผู้เสพ ผู้ติด การจับกุมผู้จำหน่ายรายย่อย รายสำคัญ การทำลายเครือข่าย รวมถึงการสุ่มตรวจสถานบริการ สถานบันเทิง และสถานประกอบการ ซึ่งมีผลการปฏิบัติเพิ่มมากขึ้น
2.2ให้ทุกหน่วยให้ความสำคัญกับการประชุม ศอ.ปส.จว., ศป.ปส.อ./เขต โดยให้ ผบก.ภ.จว. ประสานการปฏิบัติกับผู้ว่าราชการจังหวัด องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สาธารณสุขจังหวัด / หน.สภ. ให้ประสานการปฏิบัติกับนายอำเภอ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สาธารณสุขอำเภอ อย่างใกล้ชิด เพื่อดำเนินการตามโครงการ ค้นหาผู้ใช้ ผู้เสพ ผู้ติด อำนวยความสะดวกในการนำส่งผู้ป่วยโดยใช้มูลนิธิกู้ภัยเป็นทางเลือกหลัก ตลอดจนการหาข่าวเชิงรุกเพื่อสนับสนุนการสืบสวนปราบปรามยาเสพติด และการใช้ ประชาคมข่าวจากภาคีเครือข่ายเพื่อปราบปรามผู้ค้ารายย่อยในพื้นที่
2.3 การค้นหาผู้เสพให้เน้นการปรับทัศนคติว่า ผู้เสพคือผู้ป่วย และ จูงใจให้ผู้ถูกตรวจพบ สมัครใจบำบัด โดยค้นหาให้ได้มากที่สุด วัดประสิทธิภาพจากจำนวนที่ค้นหาได้ และเน้นการลงระบบซักถามขยายผล
2.4 การกรอกข้อมูลในแบบฟอร์มซักถามทุกแบบ ต้องลงให้ละเอียด ชัดเจน ตรงตามความจริง ให้ทราบถึงรายละเอียดชื่อของผู้ที่นํายาเสพติดมาจำหน่าย เพื่อใช้ประโยชน์ในการขยายผลดำเนินคดีกับผู้ค้ารายย่อย และรายสำคัญต่อไปได้
2.5 ให้ ทุกหน่วยออกตรวจสถานบริการ และปิดล้อมตรวจค้นชุมชนในพื้นที่รับผิดชอบ แล้วรายงานผลการปฏิบัติ ผ่าน ศอ.ปส.ตร. ตาม แบบรายงานที่ ศอ.ปส.ตร. กำหนด
2.6 การดำเนินการตามโครงการตำรวจสีขาว ให้ดำเนินการตรวจหาสารเสพติดในร่างกายของกำลังพลให้ครบถ้วน
2.7 ให้ผู้บังคับบัญชาทุกระดับชั้นพิจารณาการดำเนินการตามคำสั่ง ตร.ที่ 1212/2537 ในการปกครอง ป้องปรามผู้ใต้บังคับบัญชาไม่ให้เข้าไปมีส่วนเกี่ยวพันกับยาเสพติด และลงไปสัมผัสถึงความเดือดร้อนและความเป็นอยู่ของผู้ใต้บังคับบัญชาอย่างใกล้ชิด
2.8 ปัญหาในการปฏิบัติต่างๆ ขอให้สะท้อนขึ้นมา อย่าเก็บไว้เอง เพื่อจะได้หาแนวทางในการแก้ไขและพัฒนาวิธีการปฏิบัติงานต่อไป
2.9 ระบบงบประมาณในการดำเนินงานป้องกันแก้ไขปัญหายาเสพติด ต้องใช้เพื่อกระตุ้นการทำงานของผู้ใต้บังคับบัญชา อย่าเบียดบังผู้ใต้บังคับบัญชา หากตรวจพบจะพิจารณาในการแต่งตั้งครั้งต่อไป
2.10 ให้ทุกหน่วยเร่งรัดผู้ใต้บังคับบัญชา ให้ขอรับการแต่งตั้งเป็นเจ้าพนักงาน ป.ป.ส. เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติหน้าที่ รวมถึงเร่งรัดการเบิกจ่ายเงินสินบนเงินรางวัลยาเสพติด เพื่อเป็นการสร้างขวัญกำลังใจให้แก่ผู้ใต้บังคับบัญชา
2.11 จะมีการพิจารณามอบรางวัลผลการจับกุมรายสำคัญ และการจับกุมเครือข่ายยาเสพติดที่ได้จากการขยายผลให้แก่ผู้ปฏิบัติงานดีเด่นในที่ประชุมบริหาร ตร. ประจำเดือน และให้ ภ.จว. พิจารณามอบรางวัลให้ผู้ปฏิบัติงานดีเด่นตามแนวทางของ ตร. ด้วย
2.12 จะมีการสำรวจความพึงพอใจของประชาชนในด้านการป้องกันปราบปรามแก้ไขปัญหายาเสพติด โดยอยู่ระหว่างให้ สยศ. ดำเนินการของบประมาณเพื่อดำเนินการ
3.สั่งการกำชับการปฏิบัติในการสนับสนุนภารกิจการอำนวยความสะดวกและรักษาความปลอดภัยการประชุมสุดยอดผู้นำเอเปค ซึ่งจะจัดขึ้นโดยประเทศไทยเป็นเจ้าภาพ ระหว่างวันที่ 18-19 พ.ย. 65 นี้ โดย
3.1 ให้ตั้งด่านความมั่นคง ตรวจ และสกัดกั้น สกัดจับ ผู้ที่จะมาก่อเหตุ ซึ่งอาจเดินทางขึ้นมาจากเส้นทางสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ โดย
3.1.1 กำหนดตั้งด่านความมั่งคง จำนวน 2 จุด ในพื้นที่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ คือ ด่านสามร้อยยอด และด่านห้วยยาง
3.1.2 ให้ ภ.จว.ประจวบฯ ออกแผนปฏิบัติการตั้งด่านตรวจความมั่นคง และแผนการปฏิบัติของเจ้าหน้าที่ประกอบแผนการตั้งด่านความมั่นคง โดยให้ดำเนินการตั้งด่านความมั่นคงตลอด 24 ชั่วโมง โดยให้ ภ.จว.ประจวบคีรีขันธ์ จัดกำลังเจ้าหน้าที่เข้าปฏิบัติภารกิจ โดยจัดกำลังเข้าปฏิบัติเป็นผลัดตามวงรอบกำหนดเวลาการปฏิบัติให้เหมาะสมและมีประสิทธิภาพ โดยให้ มี รอง ผกก.ป. เป็นหัวหน้าด่านความมั่นคง (หากไม่เพียงพอให้ใช้ รอง ผกก.สส. มาร่วมเป็นหัวหน้าด่านความมั่นคง)
3.1.3 รูปแบบการตั้งด่านความมั่นคงให้ตั้งตามมาตรฐานที่ ตร. กำหนด มี ชุดล่วงหน้า มีชุดเรียกตรวจ มีชุดตรวจค้น มีชุดซักถามตรวจสอบข้อมูล มีการถ่ายรูปทำประวัติ มีชุดคุ้มครอง (COVER) และมีชุดติดตามคนร้ายเป็นต้น
3.1.4 ให้ผู้บังคับบัญชา ระดับ รอง ผบช.ภ.7 (รับผิดชอบงานมั่นคง และรับผิดชอบจังหวัดประจวบฯ) , ผบก.ภ.จว.ประจวบฯ , รอง ผบก.ภ.จว.ประจวบฯ ควบคุม อย่างใกล้ชิด
3.1.5 ให้มีอุปกรณ์ในด่านความมั่นคงให้ครบถ้วน เช่น CCTV , License Plate , Smart card reader , Face recognition ร่วมถึง อุปกรณ์ในการตั้งด่านอื่นๆ เช่น stop stick เป็นต้น
3.1.6 บก.สส.ภ.7 , กก.สส.ภ.จว.ประจวบคีรีขันธ์ ต้องประสานการปฎิบัติ และประสานข้อมูลกับ สันติบาล บก.สส.บช.น. , บช.ก (บก.ป.) , ภ.8 และ ภ.9 เพื่อรับข้อมูลคนร้าย ภาพบุคคลต้องสงสัย และข้อมูลที่เกี่ยวข้อง จากนั้น ต้องรวบรวมวิเคราะห์ และส่งข้อมูลข้างต้นให้ ด่านความมั่นคง เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการตรวจสอบคัดกรอง
3.1.7 เจ้าหน้าที่ที่มาปฏิบัติหน้าที่ในด่านความมั่นคงทุกนาย ต้องทราบภารกิจ ทราบหน้าที่ ทราบข้อมูล และทราบจุดประสงค์ในการมาปฏิบัติหน้าที่ (อย่าให้มาปฏิบัติหน้าที่โดยไม่ทราบภารกิจ ไม่รู้หน้าที่ ไม่ทราบจุดประสงค์)
3.1.8 เจ้าหน้าที่ทุกนาย ต้องทราบ หัวข้อหลักในการสังเกต คัดกรอง ตรวจสอบ บุคคลที่ผ่านด่านความมั่นคง เช่น ตรวจสอบหมายจับผ่าน Smart card reader , ตรวจสอบใบหน้า , ทะเบียน สี ยี่ห้อ และจุดสังเกตุอื่นๆ ตามข้อมูลที่ได้รับจากฝ่ายสืบสวน
3.1.9 ด่านความมั่นคง ต้องพิจารณาคัดกรอง ผู้ผ่านด่านความมั่นคง แม้ไม่มีข้อมูลต้องตรงกับข้อมูลที่ได้รับว่าเป็นบุคคลเฝ้าระวังต้องสงสัย หรือมีหมายจับ แต่หากมีข้อพิจารณา เช่นมีพิรุธ พูดสำเนียงยาวี ต้องถ่ายภาพบุคคลหน้าตรง ถ่ายภาพยานพหนะ จัดทำการเก็บข้อมูลอย่างเป็นระบบ สามารถสืบค้นได้
3.1.10 หากมีการตรวจพบการกระทำความผิด บุคคลตามหมายจับ หรือมีการตรวจพบ หรือควบคุมบุคคลต้องสงสัย บุคคลเฝ้าระวังตามข้อมูล ให้รีบแจ้งผู้บังคับบัญชาตามลำดับชั้นโดยทันที
3.1.11 ด่านตรวจความมั่นคงทุกด่านซึ่งพร้อมปฏิบัติตั้งแต่วันที่ 15 ต.ค. 65 ให้ดำรงความพร้อมอยู่ตลอดเวลาจนเสร็จสิ้นภารกิจ
(ต่อ2)
3.2 การตั้งจุดตรวจจุดสกัด จุดก้าวสกัดจับ
3.2.1 ให้กำหนดการตั้งจุดตรวจจุดสกัด ในเส้นทางที่วิเคราะห์แล้วว่าอาจเป็นเส้นทางที่คนร้ายใช้ในการเข้าไปก่อเหตุ หรือหลบหนี
3.2.2 การตั้งจุดตรวจ จุดสกัด ให้ประสานการปฏิบัติระหว่างหน่วยในแต่ละ พื้นที่/ บช. ให้ตั้งในรูปแบบโครงข่ายใยแมงมุม ไม่ทับซ้อนกัน และมีช่องทางประสานการปฏิบัติระหว่างกันได้อย่างรวดเร็ว
3.2.3 การปฏิบัติของเจ้าหน้าที่ ให้เป็นเช่นเดียวกับ การตั้งด่านความมั่นคง เช่น ทราบจุดประสงค์ ทราบหน้าที่ในการตั้งจุดตรวจจุดสกัด มีหลักในการสังเกตบุคคลต้องสงสัย หากพบต้องมีการบันทึกภาพคน ยานพาหนะ จัดเก็บข้อมูล และแจ้งผู้บังคับบัญชาทราบโดยทันที
3.2.4 หากมีเหตุ และมีการแจ้งเหตุก้าวสกัดจับ ต้องมีการตั้งจุดก้าวสกัดจับปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างทันท่วงที
3.3 ด้านการข่าว
3.3.1 ให้แต่ละพื้นที่ สืบสวนหาข่าว ในลักษณะการ X-ray พื้นที่ โดยมีเป้าหมายของข้อมูล คือ สถานที่ที่อาจเป็นที่พัก ที่นัดพบของคนร้าย หรือจุดผ่านทางคนร้าย อาทิ โรงแรม อพาร์ทเมนท์ มัสยิส ร้านขายอาหารอิสลาม ท่ารถท่าเรือ สถานีขนส่ง คนขับรถ เรือ โดยสาร เป็นต้น และสถานที่จำหน่ายวัตถุที่สามารถนำไปใช้เป็นส่วนประกอบของระเบิดได้ เช่นร้านขายปุ๋ย ร้านขายวัสดุก่อสร้าง เป็นต้น โดย
3.3.1.1 ให้เข้าตรวจสอบพื้นที่ดังกล่าวให้ทราบ เจ้าของ ผู้ดูแล ให้มีชื่อ หมายเลขโทรศัพท์ ช่องทางการติดต่อสอบถาม และกำหนดเจ้าหน้าที่ตำรวจผู้ประสานงานที่ชัดเจน
3.3.1.2 ต้องประชาสัมพันธ์ ทำความเข้าใจกับเจ้าของ หรือผู้ดูแล กิจการข้างต้น ให้ทราบวัตถุประสงค์ และวิธีสังเกต จุดสังเกต หัวข้อการสังเกต เช่น หากมีบุคคลต้องสงสัย บุคคลแปลกหน้าลักษณะพิรุธ หน้าตา สำเนียง การแต่งกาย การพูดคุย สำเนียงยาวี หรือพูดภาษายาวี มาซื้อของ มารวมตัว มาเข้าพักอาศัย ให้ช่วยสังเกต ยานพาหนะ และจุดอื่นๆ ที่สังเกตได้ และแจ้ง เจ้าหน้าที่ผู้ประสานงานโดยทันที
3.3.1.3 ตรวจสอบหาข่าว หาขอมูล ของ รปภ., แม่บ้านของ หมู่บ้าน ห้าง โรงแรม ศูนย์การค้า โรงพยาบาล ว่าเป็นบุคคลที่มาจากสามจังหวัด ชายแดนภาคใต้หรือไม่ พร้อมจัดทำบันทึกข้อมูล มีภาพ มีรายละเอียด
3.3.1.4 เจ้าหน้าที่ตำรวจฝ่ายสืบสวน ต้องทราบแผนประทุษกรรมของผู้ก่อเหตุ เช่น มักมีการมาสำรวจพื้นที่ เข้าพื้นที่ก่อนการปฏิบัติการ เป็นเวลานาน เช่นมาก่อน 1 เดือน เนื่องจากมีจุดประสงค์ ให้ข้อมูลใน กล้อง CCTV ถูกลบตามระยะเวลาบันทีก เป็นต้น ดังนั้น ต้องมีการสืบสวนหาข่าว และประชาสัมพันธ์ ข้างต้น ก่อนภารกิจ
3.3.1.5 เมื่อเจ้าหน้าที่ได้รับทราบข้อมูล จากผู้ประกอบการ ต้องรายงานผู้บังคับบัญชาทราบโดยทันที และให้ผู้บังคับบัญชา พิจารณาดำเนินการให้มีประสิทธิภาพ
3.3.1.6 ฝ่ายสืบสวน ต้องสืบสวน ทำข้อมูล บุคคลเฝ้าระวัง ในส่วนของบุคคลที่มีความเห็นต่างกับรัฐบาล เพื่อดำเนินการเฝ้าระวัง หาข่าว ดำเนินการตามความเหมาะสม ให้มีประสิทธิภาพสูงสุด พร้อมรายงานข้อมูลที่สำคัญ ให้ผู้บังคับบัญชาทราบโดยทันที
3.3.2 สำรวจสถานที่ตามข้อ 3.3.1 ว่ามี CCTV หรือไม่ หากไม่มี ให้ประชาสัมพันธ์ แนะนำให้ติด และมีช่องทางทางการติดต่อขอดู ขอรับข้อมูล CCTV ได้อย่างรวดเร็ว
ณ ห้องประชุมศปก.ภ.7 ชั้น 4 อาคารตำรวจภูธรภาค 7 ถ.ข้างวัง ต.พระปฐมเจดีย์ อ.เมืองนครปฐม จ.นครปฐม