เมื่อ 6 พ.ค.65 เวลา 9.30 น. พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รอง นรม. / ประธานคณะกรรมการประสานงาน เพื่อแก้ไขปัญหายาเสพติด ในสถานการณ์ โควิด-19 ได้เรียกประชุมคณะกรรมการฯ พร้อมด้วยหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และ ผ่านระบบ วีดีโอคอนเฟอร์เรนซ์ ไปยัง ผวจ.ทุกจังหวัด ทั่วประเทศ เพื่อหารือและสั่งการ เตรียมดำเนินการ ช่วยเหลือผู้ติดยาเสพติด ในภาวะวิกฤติการแพร่ระบาดของโควิด-19 ณ อาคารอเนกประสงค์ สำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม (ศรีสมาน)
ทั้งนี้ ได้มีคำสั่ง สำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 20/2565 แต่งตั้ง พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รอง นรม.เป็นประธานคณะกรรมการประสานงาน เพื่อแก้ไขปัญหายาเสพติด ในสถานการณ์โควิด-19
เมื่อ 20 ม.ค.65 โดยให้มีการประชุมเตรียมการ อย่างต่อเนื่อง ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และองค์กรการกุศลต่างๆ เพื่อกำหนดแนวทางการให้ความช่วยเหลือ ผู้ติดยาเสพติด ให้ครอบคลุมทั้งระบบ กระทั่งสามารถกลับคืนสู่สังคมได้ ต่อไป
ก่อนการประชุม พล.อ.ประวิตร ได้เข้าเยี่ยมชม และให้กำลังใจเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงาน ของศูนย์รับแจ้ง (สายด่วน) พร้อมทั้งเยี่ยมชมนิทรรศการของส่วนราชการ เอกชน และองค์กรการกุศลต่างๆรวม 17 หน่วยงาน ทั้งนี้ ยังมีภาคประชาสังคมจิตอาสา ซึ่งให้ความสำคัญเข้าร่วมโครงการนี้ด้วย อย่างพร้อมเพรียงกัน
ในการประชุมครั้งนี้ คณะกรรมการฯ ได้รับทราบการดำเนินงาน เพื่อเตรียมความพร้อม ได้แก่ แนวทางกระบวนการ แก้ไขปัญหายาเสพติด ตั้งแต่ การดำเนินงานของศูนย์รับแจ้ง (สายด่วน) อาทิ สายด่วน 1567 ศูนย์ดำรงค์ธรรม, ศูนย์วิทยุตำรวจ 191, สายด่วน ป.ป.ส. 1386 และสายด่วน 1669 การแพทย์ฉุกเฉิน เป็นต้น ซึ่งมีบริการตลอด 24 ช.ม. และการรับตัวผู้ป่วย เดินทางไปเข้ารับการบำบัด รักษา ฟื้นฟู การฝึกอบรมและส่งเสริมอาชีพ อย่างครบวงจร ก่อนการส่งคืนสู่สังคม ต่อไป จากนั้น คณะกรรมการฯ ได้มีการพิจารณาเห็นชอบ แนวทางการบูรณาการช่องทางการให้บริการ ของศูนย์บริการบำบัดรักษายาเสพติด ได้แก่ ขั้นตอนการรับตัวผู้ป่วย การอำนวยความสะดวก แก่ผู้สมัครใจบำบัดรักษา โดยให้ ผวจ.ทั่วประเทศ จัดตั้ง “ศูนย์บริการรับ-ส่ง ผู้ขอเข้ารับการบำบัดรักษายาเสพติด” และพื้นที่ กทม. ให้ศูนย์บริการสาธารณสุขที่เป็นศูนย์คัดกรองติดต่อภาคีเครือข่ายภาคเอกชน จัดบริการรถรับ – ส่งผู้ขอเข้าบำบัด ยาเสพติด และเห็นชอบแนวทางการดำเนินงานด้านการบำบัด รักษา และฟื้นฟูสมรรถภาพร่างกายและจิตใจ ของศูนย์คัดกรอง โดยมีการเชื่อมต่อกับระบบแจ้งเหตุด่วน และรับการบำบัด รักษา และนำระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ มาสนับสนุนการแจ้งเตือนด้วย รวมถึงกระบวนการบำบัดรักษาผู้ติดยาเสพติดโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน (CBTx) โดยมุ่งให้ชุมชน/ หมู่บ้าน เป็นศูนย์กลางการแก้ปัญหา (One stop service) รวมทั้งได้มีมติเห็นชอบ แนวทางการดำเนินงานของศูนย์ฟื้นฟูสภาพทางสังคมอีกด้วย เพื่อให้ผู้ติดยาเสพติด ซึ่งถือว่าเป็นผู้ป่วย เมื่อได้รับการรักษา ฟื้นฟู และเยียวยาตามขั้นตอนแล้ว จะสามารถกลับคืนสู่ความอบอุ่นในครอบครัว ชุมชนและสังคมได้ ในที่สุด ต่อไป
พล.อ.ประวิตร ได้กล่าวชื่นชมทุกหน่วยงาน โดยเฉพาะภาคเอกชน/ องค์กรการกุศล/ จิตอาสาประชาชน ที่ให้ความสำคัญในการเตรียมความพร้อม และร่วมมือ สนับสนุนกับภาครัฐ ที่จะช่วยเหลือผู้ที่ติดยาเสพติดที่ผ่านมา เพื่อไม่ให้เป็นการซ้ำเติมจากภาวะวิกฤติการแพร่ระบาด
ของโควิด-19 ในครั้งนี้ ทั้งนี้ พล.อ.ประวิตร ยังได้กำชับสั่งการ กระทรวงต่างๆ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และ ผวจ.ทุกจังหวัด ให้เร่งดำเนินการตามแผนงาน มีการบูรณาการทำงาน อย่างใกล้ชิดและประสานสอดคล้องกัน ควบคู่การประชาสัมพันธ์ สร้างการรับรู้ ความเข้าใจประชาชน เพื่อให้บรรลุเป้าหมายร่วมกัน อย่างเป็นรูปธรรม นั่นคือ “คืนคนดีกลับสู่สังคม” เพราะผู้ติดยาเสพติด ก็คือ”ผู้ป่วยที่มีศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์เช่นกัน”ที่จะต้องได้รับการดูแลรักษา อย่างดีที่สุด ซึ่งสอดคล้องกับเจตนารมณ์ของรัฐบาล ที่จะไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง โดยเด็ดขาด