ตํารวจ ปคบ.ร่วม อย. ขยายผลทลายขบวนการผลิตยาน้ําสมุนไพรเถื่อน ผสมสเตียรอยด์ และผู้ขายยาสเตียรอยด์เถื่อน เฟส 3
วันที่ 29 สิงหาคม 2565 กองบัญชาการตํารวจสอบสวนกลาง โดย พล.ต.ท.จิรภพ ภูริเดช ผบช.ก., พล.ต.ต.ณัฐศักดิ์ เชาวนาศัย รอง ผบช.ก., พล.ต.ต.อนันต์ นานาสมบัติ ผบก.ปคบ., สั่งการให้ พ.ต.อ.ธรากร เลิศพรเจริญ รอง ผบก.ปอท. รรท.รอง ผบก.ปคบ., พ.ต.อ.เนติ วงษ์กุหลาบ ผกก.4 บก.ปคบ., สํานักงานคณะกรรมการ อาหารและยา โดยนายแพทย์สุรโชค ต่างวิวัฒน์ รองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา ร่วมกันแถลงผลการ ปฏิบัติงานกรณีการขยายผลการจับกุมการทลายแหล่งผลิตน้ําสมุนไพร ผสมสเตียรอยด์ และแหล่งผลิตภัณฑ์ สมุนไพรไม่ได้มาตรฐาน เมื่อวันที่ 24 สิงหาคม 2565 โดยตรวจยึดของกลาง 49 รายการ
สืบเนื่องจากเมื่อวันที่ 22 มีนาคม 2565 เจ้าหน้าที่ตํารวจกองกํากับการ 4 กองบังคับการปราบปราม การกระทําความผิดเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภค ได้ร่วมกันกับสํานักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) นําหมายค้นศาลจังหวัดพล เข้าตรวจค้นสถานที่ผลิตและเก็บอาหารและผลิตภัณฑ์สมุนไพรผิดกฎหมายในพื้นที่ จังหวัดขอนแก่น จํานวน 4 จุด ผู้ต้องหา 4 คน โดยพบของกลางเป็นน้ําสมุนไพร กว่า 26,000 ขวด, ยาเม็ดใน กลุ่มสเตียรอยด์ จํานวนกว่า 2,092,000 เม็ด, ยาเม็ดแก้ปวดไม่มีทะเบียน จํานวนกว่า 2,224,000 เม็ด ยาเม็ดแก้ แพ้ จํานวนกว่า 5,000 เม็ด พร้อมตรวจยึดอุปกรณ์การผลิตจํานวนมากส่งพนักงานสอบสวน กก.4 บก.ปคบ. ดําเนินคดี
ต่อมาในวันที่ 3 พฤษภาคม 2565 เจ้าหน้าที่ตํารวจได้ทําการสืบสวนขยายผลถึงแหล่งจําหน่ายยา สเตียรอยด์ และผู้ผลิตน้ําสมุนไพรผสมสเตียรอยด์ จํานวน 2 โรงงาน โดยเจ้าหน้าที่ตํารวจร่วมกับสํานักงาน คณะกรรมการอาหารและยา (อย.) นําหมายค้นของศาลจังหวัดพลและศาลแขวงระยอง เข้าตรวจค้นพื้นที่ จังหวัด ขอนแก่น และจังหวัดระยอง จํานวน 6 จุด ผู้ต้องหา 6 คน โดยพบของกลางน้ําสมุนไพรบรรจุขวด จํานวน 2,600 ขวด, อุปกรณ์การผลิต และพยานหลักฐานอื่นๆ ในคดีจึงได้ตรวจยึดเป็นของกลางนําส่ง พนักงานสอบสวน กก.4 บก.ปคบ.ดําเนินคดี
แม้มีการกวดขัน จับกุมอย่างต่อเนื่อง แต่ในทางสืบสวนยังพบว่ามีการลักลอบขายน้ําสมุนไพรผสม เสตียรอยด์ในแพลตฟอร์มออนไลน์ และได้รับการร้องเรียนเข้ามาอย่างต่อเนื่อง โดยในเดือน มิ.ย. 2565 พบว่า มีประชาชนบริโภคยากษัยเส้น ตราปู่แดง แล้วได้รับผลข้างเคียงจนเกิดภาวะโรคหัวกระดูกสะโพกขาดเลือด (Avascular necrosis) และต้องเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลพื้นที่ จ.ระนอง เจ้าหน้าที่ตํารวจได้ทําการ สืบสวนขยายผลเพิ่มเติม จนทราบถึงแหล่งผลิต และจําหน่ายน้ําสมุนไพรผสมสเตียรอยด์ในพื้นท่ี จ.ขอนแก่น เมื่อวันที่ 24 สิงหาคม 2565 เจ้าหน้าที่ตํารวจจึงได้นําหมายค้นของศาลจังหวัดพล ร่วมกับ สํานักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) เข้าตรวจค้นพื้นที่จังหวัด จํานวน 2 จุด ดังนี้
- อาคารเลขที่ 3 หมู่ 1 ต.แวงใหญ่ อ.แวงใหญ่ จ.ขอนแก่น พบ นางนภารัตน์ (สงวนนามสกุล) พบ เครื่องดื่มสมุนไพรยี่ห้อปู่แดง, เครื่องดื่มสมุนไพรยี่ห้อเทียนทองคู่, เครื่องดื่มสมุนไพรยี่ห้อนวโกลด์,
สมุนไพรตรางามดี และยาเม็ดกลุ่มเสตียรอยด์ พร้อมของกลางที่เกี่ยวข้องกับการผลิตเครื่องดื่มผสมสมุนไพร จํานวน 33 รายการ
- อาคารเลขที่ 44 หมู่ 2 ต.คอนฉิม อ.แวงใหญ่ จ.ขอนแก่น พบ น.ส.สุนิสา (สงวนนามสกุล) พบ เครื่องดื่มสมุนไพรยี่ห้อช้างทอง และและยาเม็ดกลุ่มเสตียรอยด์พร้อมของกลางที่เกี่ยวข้องกับการผลิตเครื่องดื่ม ผสมสมุนไพร จํานวน 14 รายการ
โดยทั้ง 2 จุด พบของกลางน้ําสมุนไพรบรรจุขวด จํานวน 725 ขวด, อุปกรณ์การผลิต, ยาเม็ดกลุ่ม เสตียรอยด์ จํานวนกว่า 14,000 เม็ด และพยานหลักฐานอื่นๆ ในคดีโดย นางนภารัตน์ฯ รับว่าตนเองเป็นผู้ซื้อ ยาสเตียรอยด์มาจาก น.ส.กนกลักษณ์ฯ (สงวนนามสกุล) ซึ่งเจ้าหน้าที่ตํารวจเคยเข้าตรวจค้น ในพื้นที่ อ.แวง ใหญ่ จ.ขอนแก่น ก่อนหน้านี้แล้วนํามาผสมน้ําสมุนไพรก่อนนําไปจําหน่าย ส่วน น.ส.สุนิสาฯ รับว่าน้ําสมุนไพร ดังกล่าวตนมีไว้เพื่อจําหน่ายให้กับลูกค้าจริง จึงได้ตรวจยึดเป็นของกลางนําส่งพนักงานสอบสวน กก.4 บก.ปคบ.ดําเนินคดี
เบื้องต้นการกระทําดังกล่าวเป็นความผิดตาม - พ.ร.บ.อาหาร พ.ศ. 2522 ฐาน “ผลิตและจําหน่ายอาหารไม่บริสุทธิ์ เป็นอาหารที่มีสิ่งที่น่าจะ
เป็นอันตรายแก่สุขภาพเจือปนอยู่ด้วย” ระวางโทษจําคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกิน 20,000 บาท หรือทั้งจํา ทั้งปรับ - พ.ร.บ.ยา พ.ศ. 2510 ฐาน “ขายยาแผนปัจจุบันโดยไม่ได้รับอนุญาต” ระวางโทษจําคุกไม่เกิน 5 ปี และปรับไม่เกิน 10,000 บาท และ “ขายยาที่ไม่ได้ขึ้นทะเบียนตํารับยา” ระวางโทษจําคุกไม่เกิน 3 ปี หรือ ปรับไม่เกิน 5,000 บาท หรือทั้งจําทั้งปรับ
- พ.ร.บ.ผลิตภัณฑ์สมุนไพร พ.ศ.2562
-ฐาน “ขายผลิตภัณฑ์สมุนไพรปลอม” ระวางโทษจําคุกไม่เกินสามปีและปรับไม่เกินสามแสนบาท, ฐาน “ขายผลิตภัณฑ์สมุนไพรที่ไม่ได้ขึ้นทะเบียนตํารับ” ระวาง โทษจําคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินหนึ่ง แสนบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ
- ฐาน “ขายผลิตภัณฑ์สมุนไพรโดยไม่ได้รับอนุญาต” ระวางโทษจําคุกไม่เกินสามปีหรือปรับไม่เกิน สามแสนบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ
-ฐาน “โฆษณาผลิตภัณฑ์สมุนไพรหรือคุณประโยชน์ผลิตภัณฑ์สมุนไพรโดยไม่ได้รับอนุญาต” ระวาง โทษจําคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ
นพ.สุรโชค ต่างวิวัฒน์ รองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา กล่าวว่าปัญหาสเตียรอยด์ ที่คุกคามสุขภาพคนไทยเป็นเวลานาน เป็นเพราะสรรพคุณของสเตียรอยด์ที่มีฤทธิ์ต้านการอักเสบและกดภูมิ ต้านทานของร่างกาย สามารถรักษาอาการเจ็บป่วยต่างๆได้อย่างรวดเร็ว ทําให้มีผู้ลักลอบนําไปใส่ในยาชุดหรือ นําไปผสมกับสมุนไพรขายในรูปแบบต่างๆ ทั้งยาลูกกลอน ยาแผนโบราณ ยาประดง ยาผงสมุนไพร ยากษัยเส้น โดยเหยื่อส่วนใหญ่มักเป็นผู้เฒ่าผู้แก่ที่หาซื้อยากินเอง ใช้กลยุทธ์กล่าวอ้างเป็นสมุนไพรปลอดภัยใช้รักษาสารพัด โรค ทั้งกระดูกทับเส้น ปลายประสาทอักเสบ เหน็บชา เก๊าท์ ปวดหลัง ปวดเอว ปวดข้อ ปวดเข่า
อัมพฤกษ์ อัมพาต เป็นต้น เมื่อทานยาจะเห็นผลระยะแรกๆ แต่หากใช้ต่อเนื่องเป็นเวลานานจะเริ่มแสดง อาการผิดปกติที่สังเกตได้ตั้งแต่มีใบหน้ากลมอูมเหมือนพระจันทร์ มีโหนกที่แก้ม มีหนอกที่คอ ตัวบวมเริ่มมีไตวาย ถ้าหยุดยากะทันหันจะทําให้เกิดภาวะช็อกได้ “สเตียรอยด์” จึงเป็น “ยาควบคุมพิเศษ” ร้านยาขายให้ได้เฉพาะ ผู้ป่วยที่มีใบสั่งยาจากแพทย์เท่านั้น จึงขอเตือนผู้บริโภคก่อนซื้อผลิตภัณฑ์สุขภาพใดๆ ควรตรวจสอบข้อมูล อนุญาตทางเว็บไซต์ อย. www.fda.moph.go.th ก่อนทุกครั้ง ทั้งนี้หากพบแหล่งผลิตหรือจําหน่ายผลิตภัณฑ์ ที่ผิดกฎหมายหรืออาจไม่ปลอดภัยในการบริโภค ขอให้แจ้งเบาะแสร้องเรียนมาได้ที่สายด่วน อย. โทร. 1556 อีเมล์ 1556@fda.moph.go.th หรือสํานักงานสาธารณสุขจังหวัดทั่วประเทศ
พล.ต.ต.อนันต์ นานาสมบัติ ผบก.ปคบ. ฝากความห่วงใยมายังพี่น้องประชาชนว่า ควรใช้ความ ระมัดระวังในการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์สมุนไพรและยามารับประทานเพื่อรักษาโรค ควรเลือกซื้อจากร้านขายยา หรือผู้ที่ได้รับอนุญาตขายผลิตภัณฑ์สมุนไพร และขอเตือนผู้ที่ลักลอบผลิต และขายผลิตภัณฑ์สมุนไพรปลอม หรือที่ไม่ได้รับอนุญาต ให้หยุดการกระทําดังกล่าวทันทีโดยเจ้าหน้าที่ตํารวจจะขยายผลและกวาดล้างต่อไป หากตรวจพบจะดําเนินคดีถึงที่สุด เพราะท่านกําลังทําให้ผู้บริโภคได้รับอันตราย เกิดผลกระทบกับร่างกายและ เสียโอกาสได้รับการรักษาที่ถูกต้อง ทั้งนี้หากประชาชนพบเห็นการกระทําความผิด สามารถแจ้งได้ที่ สายด่วน ปคบ. 1135 หรือเพจ ปคบ. เตือนภัยผู้บริโภค