เลือก ถวัลย์ เป็นนายกสภาทนาย โรงพักในประเทศไทยมี 1,082 แห่ง ประชาชนมาติดต่อสารพัดเรื่อง แต่คนเรามีความแตกต่างด้านฐานะการเงินไม่พร้อมจ้างที่ปรึกษากฎหมาย ก็จะเสียเปรียบเสียหายต่างๆ เป็นความเลื่อมล้ำขัดต่อหลีกสิทธิเสรีภาพและความเสมอภาค
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ว่าที่ ร.ต.ดร.ถวัลย์ รุยาพร เลขาธิการเนติบัณฑิตยสภาที่ดูแลสำนักงานช่วยเหลือประชาชนทางกฏหมายหรือ สชน. อดีตเคยเป็นนายกสภาทนายความมาแล้วสองสมัยตั้งแต่ 2559-2565 ได้ลงพื้นที่พบปะประชาชนในพื้นที่วังน้ำเขียว และใกล้เคียง และพบเพื่อนทนายความทั่วประเทศ พบปัญหาว่า คนไทยยังต้องการทนายความประจำโรงพักเพิ่มเพราะบางโรงพักยังไม่สามารถจัดทนายความลงได้เพราะขาดงบประมาณ และพื้นที่ห่างไกล ในสมัยที่ดร.ถวัลย์เป็นนายกสภาทนาย ได้เล็งเห็นปัญหาความเลื่อมล้ำของชาวบ้านที่ขาดทนายความในฐานะที่ปรึกษา ทั้งที่กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ต้องมีทนายความให้ผู้ต้องหาตั้งแต่ชั้นสอบสวนจนถึงชั้นศาล อย่างเช่น พนักงานสอบสวนต้องแจ้งสิทธิให้ผู้ต้องหามีทนายความเข้าฟังการสอบสวนได้ หรือผู้ต้องหาเป็นเด็กอายุไม่เกิน18 ปีในวันสอบสวนก็เช่นกัน นอกจากนี้ชาวบ้านทั่วไปที่ยังไม่มีความเสียหายหรือต้องการความรู้ทางกฎหมายก็สามารถเข้าพบทนายที่โรงพักได้ ปัจจุบันมี 303โรงพักได้งบประมาณมา 1,073 ล้านบาทหรือ 1.5 แสนบาทต่อโรงพักต่อเดือน ครั้นจะของบเพิ่มก็ไม่ได้เพราะติดปัญหาหลายเรื่อง แต่สามารถเพิ่มโรงพักได้
“ดังนั้นผมจึงอาสาเข้าทำงานให้พี่น้องประชาชาและเพื่อนทนายความ ด้วยการสร้างศักดิ์ศรีให้ทนาย ปฎิรูปวิชาชีพทนายมีจริยธรรม มีความรู้เท่าทันกฎหมายที่แก้ไขใหม่ พัฒนาสภาทนายความให้เป็นองค์กรที่มีความทันสมัย การเลือกตั้งกรรมการสภาทนายความชุดใหม่ วันอาทิตย์ที่ 24 สิงหาคม 2568 จึงขอเชิญชวนทนาย ไปคูหาที่สภาทนายบางเขน หรือศาลจังหวัด กาบัตรเลือกดร.ถวัลย์ หมายเลข 2 และกรรมการหมายเลข 3ถึง 24 “ดร.ถวัลย์ยืนยันขอเสียงสนับสนุน”