“อธิบดีกรมราชทัณฑ์ เป็นประธานเปิดศูนย์การเรียนรู้ฯโคก หนอง นา แห่งน้ำใจและความหวัง พร้อมตรวจเยี่ยมเรือนจำชั่วคราวปากเพรียว เรือนจำ จ.สระบุรี”
วันที่ 6 พฤษภาคม 2568 เวลา10.00น.ที่เรือนเรือนจำชั่วคราวปากเพรียว อ.เมือง จ.สระบุรี นายสหการณ์ เพ็ชรนรินทร์อธิบดีกรมราชทัณฑ์เป็นประธาน ในพิธีเปิด ศูนย์การเรียนรู้ฯ โคก หนอง นา แห่งน้ำใจและความหวัง พร้อมด้วยนายบัญชา เชาวรินทร์ ผู้ว่าราชการ จ.สระบุรี ประธานที่ปรึกษาศูนย์การเรียนรู้ฯ ร่วมเป็นเกียรติ ในพิธีดังกล่าว พร้อมเข้าตรวจเยี่ยมเรือนจำฯ เพื่อรับชมการฝึกวิชาชีพ และร่วมรับมอบอุปกรณ์กีฬามวยไทยจากภาคเอกชนที่ร่วมให้การสนับสนุน โดยนายกิตติพงษ์ ละชั่ว ผู้บัญชาการเรือนจำจังหวัดสระบุรีให้การต้อนรับ
ทั้งนี้ตามนโยบายการบริหารงานราชทัณฑ์ ภายใต้แนวคิด รวมพลังขับเคลื่อน 8 มิติ ยกกำลัง 2 รวมพลังขับเคลื่อน สร้างคนดีคืนสังคม ตามมิติที่ 1 ขับเคลื่อนโครงการพระราชทานอย่างต่อเนื่องเป็นลำดับแรก โดยตลอดระยะเวลาที่ผ่านมากรมราชทัณฑ์ น้อมสำนึกในพระมหากรุณธิคุณที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมพระราชทานโครงการ “โครงหนองนาแห่งน้ำใจและความหวัง กรมราชทัณฑ์” เป็นหลักสูตรที่รองรับพระราชกฤษฎีกาพระราชทานอภัยโทษ เพื่อเป็นหลักสูตรในการเตรียมความพร้อมก่อนปล่อย โดยได้น้อมนำแนวคิด เศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพล อดุลยเดชมหาราช บรมนาถพิตร มาเป็นแนวทางให้กลุ่มผู้ด้อยโอกาสในการประกอบสัมมาอาชีพที่สุจริตไม่เบียดเบียน และอยู่อย่างพอเพียง โดยในครั้งนี้เรือนจำจังหวัดสระบุรีตระหนักถึงความสำคัญของโครงการดังกล่าว จึงได้มีการสืบสานต่อยอด และพัฒนาให้มีการดำเนินการ ในพื้นที่เรือนจำชั่วคราวปากเพรียว สังกัดเรือนจำจังหวัด
สระบุรี ซึ่งมีพื้นที่ทั้งสิ้นจำนวน 7 ไร่ 2 งาน 40.80 ตารางวา โดยการบริหารจัดการพื้นที่โดยรอบปรับปรุงเป็นพื้นที่สำหรับรองรับน้ำและบ่อบำบัดน้ำเสีย และใช้พื้นที่ดังกล่าวจำนวน 5 ไร่ พัฒนาจัดตั้งเป็นศูนย์การเรียนรู้ฯ
โดยได้รับเกียรติจากนายบัญชา เชาวรินทร์ ผู้ว่าราชการจังหวัดสระบุรีให้เกียรติเป็นประธานที่ปรึกษา พร้อมด้วย
ภาคีเครือข่ายภาคส่วนต่างๆ ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาชน และสถานประกอบการ เพื่อบูรณาการการทำงานร่วมกัน ด้วยการประยุกต์ใช้ศาสตร์พระราชาและน้อมนำเอาแนวคิดและทฤษฎีการพัฒนาอันเนื่องมาจาก พระราชดำริ ที่ทรงพระราชทานไว้ในการแก้ไขปัญหาด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม มาประยุกต์กับแนวคิดการพัฒนาพื้นที่และการออกแบบเชิงภูมิสังคม เพื่อการพึ่งตนเองในรูปแบบ “โคก หนอง นา โมเดล” เป็นพื้นที่สาหรับการเตรียม ความพร้อมก่อนปล่อย โดยการดำเนินการดังกล่าว มุ่งเน้นการปรับเปลี่ยนทัศนคติ แนวความคิด ฝึกวินัย ลงมือปฏิบัติ แก้ปัญหาจริง ให้สามารถ พึ่งตนเอง อีกทั้ง ยังเป็นพื้นที่สาหรับการเปิดโอกาสให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน
ระหว่างภาคี เครือข่าย การประสานความร่วมมือภาคสังคม การเผยแพร่ความรู้ให้กับผู้ที่สนใจ เป็นช่องทางใน การประชาสัมพันธ์กระบวนการพัฒนาพฤตินิสัยและภารกิจของกรมราชทัณฑ์ ให้ประชาชน รับทราบ สร้าง
การยอมรับจากสังคม รวมถึงให้ผู้ต้องราชทัณฑ์ที่ผ่านกระบวนการปฏิบัติจริงเมื่อ พ้นโทษออกไปภายนอก มีแนวทางในการประกอบอาชีพสุจริ ต มีแผนการดาเนินชีวิตอย่าง เหมาะสม มีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น เกิดการแลกเปลี่ยน ถ่ายทอด พัฒนา ต่อยอดภูมิปัญญาและ องค์ความรู้ ให้แก่ผู้อื่น สามารถคืนคนดีมีคุณภาพสู่สังคมได้อย่างยั่งยืนต่อไป