ปทุมธานี “บิ๊กแจ๊สอ่วม”กลุ่มต่อต้านทุจริตคอรัปชั่น จี้ สตง,ปปช เอาผิดหลายโครงการมูลค่ากว่า300ล้านสงสัยเอื้อทุจริต
เมื่อเวลา 13.00 น. วันที่ 29 เม.ย.2568 ที่สำนักงานตรวจเงินแผ่นดินจังหวัดปทุมธานี ต.บางปรอก อ.เมือง จ.ปทุมธานี นายสุปรีย์ แสงสว่าง ตัวแทน กลุ่มต่อต้านทุจริตคอรัปชั่น เดินทางมาติดตามความคืบหน้าการร้องเรียนองค์การบริหารส่วนจังหวัดปทุมธานี ใน 13 โครงการใหญ่มูลค่ากว่า 300 ล้านบาท ที่สงสัยเอื้อทุจริตการใช้จ่ายเงินงบประมาณที่มีพฤติการณ์ควรเชื่อได้ว่า เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องมีการทุจริต อาจใช้งบประมาณไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์หรือเงื่อนไข และเดินทางไปที่สำนักงาน ป.ป.ช. ประจำจังหวัดปทุมธานี เพื่อติดตามความคืบหน้าเรื่องการร้องเรียนในโครงการที่สงสัยเอื้อทุจริตการใช้จ่ายเงินงบประมาณ โดยมีนายยุทธพัฒน์ เศรษฐวชิรา พนักงานไต่สวนระดับกลางออกมารับเรื่อง
นายสุปรีย์ แสงสว่าง ตัวแทน กลุ่มต่อต้านทุจริตคอรัปชั่น เปิดเผยว่า ทางกลุ่มได้ดำเนินการเข้าไปตรวจสอบโครงการหลายโครงการของ อบจ.ปทุมธานี ภายใต้การบริหารของ พล.ต.ท.คำรณวิทย์ ธูปกระจ่าง นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดปทุมธานี หลังได้รับร้องเรียนจากประชาชนในจังหวัดปทุมธานีที่ต้องการให้กลุ่มต่อต้านทุจริตคอรัปชั่น เข้าไปตรวจสอบโดยทางกลุ่มได้ยื่นหนังสือต่อ ส.ต.ง และ ป.ป.ช จังหวัดปทุมธานีไปแล้วก่อนหน้านี้ โดยวันนี้ได้เข้าไปที่สำนักงานตรวจเงินแผ่นดินประจำจังหวัดปทุมธานี เพื่อติดตามความคืบหน้าการตรวจสอบโครงการของ อบจ.ปทุมธานี กว่า 13 โครงการมูลค่ากว่า 300 ล้านบาท ดำเนินการถึงขั้นไหนแล้ว ก็ได้รับคำตอบว่าเนื่องด้วยผู้บริหารของ อบจ.ปทุมธานี อยู่ในตำแหน่งระดับสูงเกินกว่าอำนาจของสำนักงานตรวจเงินแผ่นดินประจำจังหวัดปทุมธานี จึงส่งเรื่องไปที่สำนักงานตรวจเงินแผ่นดินภาค1 จังหวัดนครปฐมเพื่อทำตรวจสอบต่อไป
จากนั้นกลุ่มต่อต้านทุจริตคอรัปชั่นนำโดยนายสุปรีย์ แสงสว่าง พ.ต.ท.ดร.ณรงค์ ศรีสุวรรณ อดีตรอง ผกก. น้ำหนาว จ.จังหวัดเพชรบูรณ์ ที่ปรึกษากลุ่มต่อต้านทุจริตคอรัปชั่น ดร.ธนภัทร พุฒซ้อน ที่ปรึกษากลุ่มต่อต้านทุจริตคอรัปชั่น ได้ร่วมกันแถลงข่าว ถึงโครงการของ อบจ.ปทุมธานี ที่มีพฤติการณ์ควรเชื่อได้ว่ามีการทุจริตเกิดขึ้น คือ1.โครงการจัดซื้อวัคซีนไข้หวัดใหญ่ 4 สายพันธ์ 200,000 โดส มูลค่ากว่า 56 ล้านบาท โดยเงินจำนวนดังกล่าวเป็นงบกลางงบฉุกเฉิน เป็นเงินสำรองจ่าย เพื่อไว้ใช้จ่ายในกรณีฉุกเฉิน ที่มีสาธารณภัยเกิดขึ้นหรือกรณีการป้องกันยับยั้งก่อนเกิดสาธารณภัยแต่การจัดซื้อวัคซีนไข้หวัดใหญ่ 4 สายพันธุ์ของ อบจ.ปทุมธานี ไม่ถือเป็นกรณีฉุกเฉินเร่งด่วนที่มีสาธารณภัยเกิดขึ้นและไม่ได้มีลักษณะเป็นการบรรเทาทุกข์จากภัยธรรมชาติ วัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ดังกล่าวกระทรวงสาธารณสุขมีการดำเนินการฉีดให้กับประชาชนกลุ่มเสี่ยงเป็นปกติมาอย่างต่อเนื่องเป็นประจำอยู่แล้ว จึงไม่จำเป็นเร่งด่วน และจังหวัดปทุมธานีในปี 2567 เป็นจังหวัดที่ติดเชื้อไข้หวัดใหญ่อยู่ในลำดับที่ 29 ของประเทศซึ่งในจังหวัดที่มีคนติดเชื้อไข้หวัดลำดับที่ 1 ถึง 28 ก็ไม่มีจังหวัดใดขององค์การบริหารส่วนจังหวัดดำเนินการจัดซื้อวัคซีนอย่างเช่นองค์การบริหารส่วนจังหวัดปทุมธานีประกอบกับกระทรวงสาธารณสุขได้จัดเตรียมวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ไว้ให้กับประชาชนกลุ่มเสี่ยง จำนวน 4,500,000โดสจึงพอเพียงกับความต้องการของประชาชน ไม่ใช่ภารกิจหน้าที่โดยตรงขององค์การบริหารส่วนจังหวัดปทุมธานีจะต้องดำเนินการจัดซื้อวัคซีน และวิธีคัดเลือกในการจัดซื้อวัคซีนก็เป็นวิธีเจาะจงเลือกบริษัท เค ที เอฟ กรุ๊ปจำกัด ซึ่งเป็นบริษัทที่มีความสัมพันธ์กับผู้บริหารท้องถิ่นและนายกองค์กรบริหารส่วนจังหวัดปทุมธานี เป็นบริษัทที่ไม่ได้มีความชำนาญเกี่ยวกับเรื่องวัคซีนแต่กลับได้รับพิจารณาจัดซื้อวัคซีนไข้หวัดใหญ่ให้กับองค์กรบริหารส่วนจังหวัดปทุมธานี จึงน่าจะเป็นการทุจริตร่วมกันในการจัดซื้อวัคซีนไข้หวัดใหญ่ 4 สายพันธุ์ เมื่อตรวจสอบคุณสมบัติบริษัทคู่เทียบทั้ง 2 บริษัทแล้วมีวัตถุประสงค์ขายปลีกสินค้าทางเภสัชภัณฑ์และทางการแพทย์แต่ไม่สามารถเข้ารับการคัดเลือกได้เนื่องจากมีทุนจดทะเบียนไม่ถึง 15 ล้านบาท ตนตั้งข้อสงสัยว่า ผู้บริหารบริษัทเค ที เอฟ กรุ๊ป มีความเกี่ยวพันกันอย่างไรกับพลตำรวจโทคำรณวิทย์ ธูปกระจ่าง นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดปทุมธานี ที่ผ่านมามีภาพไปร่วมงานกันทุกงานที่ อบจปทุมธานี จัดขึ้นรวมถึงเดินทางไปต่างประเทศร่วมกันพบปะกันเป็นประจำเมื่อมีงานก็จะปรากฏตัวพร้อมถ่ายภาพร่วมกันเสมอตลอดจนงานกิจกรรมของ อบจ.ปทุมธานี ก็ไปร่วมทุกครั้งปรากฏตามภาพถ่ายที่ส่งไปให้สำนักงานตรวจเงินแผ่นดินและสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามทุจริต ตรวจสอบ
2.โครงการศึกษาความเป็นไปได้ของการก่อสร้างรถไฟฟ้าโมโนเรล ที่เบิกเงินค่าศึกษาโครงการไปแล้ว 120ล้านบาท การนำเงินไปศึกษาโครงการดังกล่าวจึงไม่เป็นไปตามความต้องการของประชาชน
3.โครงการจัดเลี้ยงอาหารกลางวันแก่ข้าราชการพนักงานลูกจ้างองค์การบริหารส่วนจังหวัดปทุมธานีนับตั้งแต่พลตำรวจโทคำรณวิทย์ ธูปกระจ่าง นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดปทุมธานีเขารับตำแหน่งเมื่อปีพ.ศ 2564 ได้สั่งการให้เริ่มมีโครงการจัดเลี้ยงอาหารกลางวันแก่ข้าราชการพนักงานลูกจ้างรวมทั้งประชาชนทั่วไปที่มาติดต่องานรวมระยะเวลา 3 ปีกว่า โดยมีผู้รับจ้างทำอาหาร 2 รายเปลี่ยนการทำอาหารคนละ 1 อาทิตย์ มีค่าใช้จ่ายทำอาหารวันละไม่ต่ำกว่า 15,000 บาทต่อวัน 1 เดือนเท่ากับ 330,000 บาท 1 ปีเท่ากับ 3,960,000 บาท 3 ปีเท่ากับ 11,880,000 บาทโดยมีหลักฐานการโอนเงินจ่ายค่าทำอาหารแต่ละอาทิตย์บางส่วนโดยใช้ชื่อแจ้งการโอนเงินว่านางธัญญาภรณ์ ไม่ทราบนามสกุลและผู้แจ้งข้อมูลการส่งเงินใช้ชื่อทางไลน์ว่า Bye Bye ซึ่งเป็นที่น่าสงสัยหมายถึง ลูกสาวพลตำรวจโทคำรณวิทย์ ธูปกระจ่างซึ่งดำรงตำแหน่งเลขานุการนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดปทุมธานีในขณะนั้น จึงอยากให้สำนักงานปปช.ตรวจสอบการกระทำดังกล่าวอาจผิดต่อกฎหมายและระเบียบต่างๆหรือไม่อย่างไร
4.โครงการจัดซื้อแผ่นโฟมช่วยน้ำท่วม 2565 งบประมาณ 4,660,000 บาทจำนวน 2,000 แผ่นราคาซื้อแผ่นละ 2,330 บาทแต่เอกชนทั่วไปซื้อ 1,682 บาทต่างกัน 648 บาทต่อแผ่นมีส่วนต่างกว่า 1,296,000 ล้านบาทและยังพ่นชื่อพลตำรวจโทคำรณวิทย์ ธูปกระจ่าง นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดปทุมธานี
5.โครงการสอนภาษาอังกฤษออนไลน์ในช่วงโควิด 19 ปี 2564งบประมาณ 15 ล้านบาทไม่ได้เรียนจริงแม้แต่ชั่วโมงเดียวมีใครเกี่ยวข้องบ้าง
6.โครงการจัดซื้อพัดลมสำหรับโรงพยาบาลสนามในช่วงโควิด 19 โดยตั้งข้อสังเกตการจัดซื้อพัดลมขนาด 18 นิ้วมีจริงหรือไม่คณะกรรมการตรวจสอบรับของคือใคร มีรูปภาพการตรวจรับหรือไม่ นำพัดลมที่ได้รับจากการบริจาคโดยบริษัทฮาตาริบริจาคพัดลมจำนวน 500 ตัวไปเข้าโครงการจัดซื้อพัดลมสำหรับโรงพยาบาลสนามในช่วงโควิด 19 หรือไม่
ยังมีอีกหลายโครงการที่ส่อทุจริต จึงอยากให้ สตงและปปชเร่งทำการตรวจสอบอย่างเร่งด่วน
การทุจริตในการจัดซื้อจัดจ้างของ อบจ.สะท้อนให้เห็นความหลากหลายกลโกงในการจัดซื้อฯ มีทั้งให้บริษัทพรรคพวกหรือคนในครอบครัวมารับงาน มีการทำเอกสารเท็จ ปกปิดข้อมูล ไม่เปิดประมูลทั่วไปแต่เน้นใช้วิธีเฉพาะเจาะจง ฮั้วประมูล อบจ.เองบริหารสัญญาจนรัฐเสียเปรียบ ฯลฯ
“สำคัญที่สุดคือ ประชาชนต้องร่วมปกป้องผลประโยชน์ของท้องถิ่น สอดส่องสิ่งผิดปกติ และอย่าเลือกคนซื้อเสียงให้เขากลับมา
ถอนทุนคืน”