อำนาจเจริญ องคมนตรี พร้อมคณะเดินทางมาติดตามและขับเคลื่อนโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดําริ ในเขตพื้นที่จังหวัดอำนาจเจริญ วันนี้ (20 กุมภาพันธ์ 2568) เวลา 10.00 น. พลอากาศเอก จอม รุ่งสว่าง องคมนตรี รองประธานกรรมการติดตามและขับเคลื่อนโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ พร้อมด้วย นางสุพร ตรีนรินทร์ เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (สำนักงาน กปร.) นายยงยุทธ เนียมทรัพย์ ผู้ทรงคุณวุฒิด้านวิศวกรรมโยธา และคณะอนุกรรมการติดตามและขับเคลื่อนโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เดินทางลงพื้นที่จังหวัดอำนาจเจริญ เพื่อติดตามและขับเคลื่อนโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดําริ ณ โครงการฝายห้วยยางอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ตำบลกุดปลาดุก และ โครงการฝายห้วยจันลัน 2 อันเนื่องมาจากพระราชดำริ ตำบลหนองมะแซว อำเภอเมืองอำนาจเจริญ โดยมี นายณรงค์ เทพเสนา ผู้ว่าราชการจังหวัดอำนาจเจริญ นำส่วนราชการ ภาคเอกชน ผู้นำท้องที่ ผู้นำท้องถิ่นและประชาชนในพื้นที่ ที่ได้รับผลประโยชน์จากโครงการฯ ทั้ง 2 แห่ง ร่วมให้การต้อนรับและนำเสนอข้อมูล โดยในเวลา 10.00 น. พลอากาศเอก จอม รุ่งสว่าง องคมนตรี รองประธานกรรมการติดตามและขับเคลื่อนโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ พร้อมคณะได้ลงพื้นที่ตรวจติดตาม โครงการฝายห้วยยางอันเนื่องมาจากพระราชดำริ บ้านนาเมือง ตำบลกุดปลาดุก อำเภอเมืองอำนาจเจริญ จังหวัดอำนาจเจริญ สำหรับความเป็นมาของโครงการฝายห้วยยางอันเนื่องมาจากพระราชดำริ เมื่อวันที่ 11 มิถุนายน 2560 พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ รับโครงการฝายห้วยยางไว้เป็นโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ตามที่ นายอุดม เด่นดวง ราษฎรบ้านนาเมือง ตำบลกุดปลาดุก อำเภอเมืองอำนาจเจริญ จังหวัดอำนาจเจริญ ขอพระราชทานโครงการฝายห้วยยาง บริเวณพื้นที่บ้านนาเมือง เพื่อช่วยเหลือราษฎรซึ่งประสบความเดือดร้อน จากการขาดแคลนน้ำสำหรับอุปโภคบริโภคและทำการเกษตรในฤดูแล้ง กรมชลประทาน ดำเนินการก่อสร้างฝายน้ำล้นลำห้วยยาง กว้าง 13.20 เมตร ยาว 55 เมตร สูง 2.50 เมตร เพื่อเป็นอาคารบังคับน้ำในลำน้ำให้มีระดับสูงขึ้น และขุดลอกลำห้วยยางด้านเหนือ ความยาว 1,600 เมตร ลึก 1.50 เมตร พร้อมกับดำเนินการรื้อฝาย มข. (เดิม) ที่ชำรุดเสียหาย ดำเนินการแล้วเสร็จเมื่อเดือนตุลาคม 2561 สามารถกักเก็บน้ำได้ประมาณ 124,000 ลูกบาศก์เมตร โดยราษฎรได้รับประโยชน์ จำนวน 183 ครัวเรือน มีน้ำใช้อุปโภค บริโภค และเลี้ยงสัตว์อย่างเพียงพอ ส่งน้ำช่วยเหลือพื้นที่การเกษตรในฤดูฝน จำนวน 1,750 ไร่ และในฤดูแล้ง จำนวน 100 ไร่ อีกทั้งเป็นแหล่งเพาะพันธุ์สัตว์น้ำและสถานที่พักผ่อนหย่อนใจของราษฎร ราษฎรมีการใช้น้ำจากโครงการฝายห้วยยางอันเนื่องมาจากพระราชดำริ เพื่ออุปโภค – บริโภคและทำการเกษตร แบ่งเป็น 3 หมู่บ้าน 3 ตำบล ได้แก่ 1. บ้านนาเมือง ตำบลกุดปลาดุก 2. บ้านนาเยีย ตำบลนายม 3. บ้านนาห้วยยาง ตำบลโนนโพธิ์ มีการเพาะปลูกพืชไร่ พืชสวนบริเวณพื้นที่รับประโยชน์เป็นประจำทุกปี ตามสภาพน้ำต้นทุน โดยมีกิจกรรมการเพาะปลูก คือ 1. พริก จำนวน 70 ไร่ 2. อ้อย จำนวน 50 ไร่ 3. ยางพารา จำนวน 100 ไร่ 4. หญ้าเลี้ยงสัตว์ จำนวน 10 ไร่ รวม จำนวน 210 ไร่ ราษฎรที่เพาะปลูก จำนวน 30 ราย ซึ่งผลผลิตที่ได้ในแต่ฤดูกาล 1. พริก 3 – 4 ต้น/ไร่ เป็นเงินประมาณ 7,000,000 บาท 2. อ้อย 7 – 8 ต้น/ไร่ เป็นประมาณ 468,000 บาท 3. ยางพารา 206 กก./ไร่ เป็นเงินประมาณ 206,000 บาท รายได้ที่เกิดขึ้นรวมประมาณ 7,774,000 บาท จากนั้นในเวลา 13.30 น. พลอากาศเอก จอม รุ่งสว่าง องคมนตรี รองประธานกรรมการติดตามและขับเคลื่อนโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ พร้อมคณะได้ลงพื้นที่ตรวจติดตามโครงการฝายห้วยจันลัน 2 อันเนื่องมาจากพระราชดำริ ตำบลหนองมะแซว อำเภอเมืองอำนาจเจริญ จังหวัดอำนาจเจริญ สำหรับความเป็นมาของโครงการฝายห้วยจันลัน 2 อันเนื่องมาจากพระราชดำริ บ้านหนองหิน หมู่ 4 ตำบลหนองมะแซว อำเภอเมืองอำนาจเจริญ จังหวัดอำนาจเจริญ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ รับโครงการฝายห้วยจันลัน 2 ไว้เป็นโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ตามที่ นายประเสริฐ โคตนนท์ ราษฎรตำบลหนองมะแซว จังหวัดอำนาจเจริญ ขอพระราชทานโครงการฝายน้ำล้นห้วยจันลัน บริเวณพื้นที่บ้านหนองหิน ตำบลหนองมะแซว เพื่อช่วยเหลือราษฎรซึ่งประสบความเดือดร้อนจากการขาดแคลนน้ำสำหรับอุปโภคบริโภคและทำการเกษตรในฤดูแล้ง กรมชลประทาน ดำเนินการก่อสร้างฝายคอนกรีต (แบบโอกี้) ความกว้าง 32.00 เมตร ความสูง 4 เมตร สะพานคันฝายความกว้าง 2 เมตร พร้อมทั้งขุดลอกลำห้วย ด้านหน้าฝายยาว 1,000 เมตร และท้ายฝาย 300 เมตร เพื่อเพิ่มความจุของน้ำในลำห้วยจันลัน ดำเนินการแล้วเสร็จในปี 2560 สามารถกักเก็บน้ำได้ประมาณ 60,750 ลูกบาศก์เมตร โดยราษฎรได้รับประโยชน์ จำนวน 150 ครัวเรือน มีน้ำเพื่อใช้สำหรับการเกษตรอุปโภค บริโภค และเลี้ยงสัตว์อย่างพอเพียง พื้นที่รับประโยชน์สามารถส่งน้ำช่วยเหลือพื้นที่การเกษตรในฤดูฝน จำนวน 780 ไร่ และในฤดูแล้ง จำนวน 60 ไร่ อีกทั้งเป็นแหล่งเพาะพันธุ์สัตว์น้ำและสถานที่พักผ่อนหย่อนใจของราษฎร จากนั้นในปี พ.ศ. 2562 และปี 2564 ได้ก่อสร้างสถานีสูบน้ำด้วยไฟฟ้า พร้อมระบบส่งน้ำเพื่อเพิ่มพื้นที่ ชลประทานเป็น 800 ไร่ ปี 2565 ปรับปรุงเส้นฝายสูง 50 เซนติเมตร เพื่อเพิ่มปริมาณ กักเก็บและถนนเข้าหัวงานเพื่อเป็นเส้นทางสัญจรและลำเลียงผลผลิต ซึ่งจากการดำเนินการดังกล่าว มีพื้นที่ชลประทานจำนวน 800 ไร่ พื้นที่ได้ประโยชน์เพิ่มขึ้น 520 ไร่ รวมเป็น 1500 ไร่ ราษฎรได้รับประโยชน์เพิ่มขึ้น 152 ครัวเรือน รวมเป็น 302 ครัวเรือน กักเก็บน้ำเพิ่มขึ้น ประมาณ 55,250 ลูกบาศก์เมตร รวม 116,000 ลูกบาศก์เมตร มีน้ำสนับสนุนการผลิตน้ำประปาหมู่บ้าน บ้านหนองหิน หมูที่ 3 หมู่ที่ 4 และหมู่ที่ 11 นอกจากนี้ยังมีกิจกรรมการเพาะปลูกพืช ข้าวหอมมะลิ ประมาณ 500 ไร่ ข้าวเหนียว กข.6 ประมาณ 430 ไร่ พืชผักอื่นๆ ประมาณ 20 ไร่ หญ้าเลี้ยงสัตว์ประมาณ 30 ไร่ ข้าวหอมมะลิ และข้าวเหนียว กข.6 เฉพาะนาปีผลผลิตต่อไร่ 550 กิโลกรัมต่อไร่ ผลผลิตทั้งหมดประมาณนี้ 460 ตัน ต่อปี คิดเป็นเงินประมาณ 5,500,000 บาทต่อปี และยังมีกิจกรรมปศุสัตว์ประกอบด้วยเลี้ยงหมู เป็ด ไก่ ประมาณ 400 -500 ตัว และโค กระบือ ประมาณ 200 – 300 ตัว และในปี พ.ศ.2569 โครงการชลประทานอำนาจเจริญ มีแผนจะดำเนินปรับปรุงป้องกันตลิ่ง และปรับปรุงถนนเข้าหัวงาน เพื่อเป็นเส้นทางลำเลียงผลิต และใช้สัญจรสำหรับบำรุงรักษาหัวงานและอาคารประกอบ ผลักดันให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวและเป็นพื้นที่จัดงานเทศกาลในวันสำคัญต่างๆ ของราษฎรในพื้นที่ตำบลหนองมะแซวและพื้นที่ใกล้เคียง ตามที่ราษฎรร้องขอ/ ทิพกร หวานอ่อน/อำนาจเจริญ รายงาน 087 -958-0670


