นครปฐม-เปิดให้ชมแล้วดอกชมพูพันธุ์ทิพย์บานสะพรั่งสีชมพูสวยสดใสที่มหาวิทยาลัยเกษตรกำแพงแสน
เมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2568 เวลา 08.00 น.”พิธีเปิดงานเทศกาลชมพูพันธุ์ทิพย์ ประจำปี 2568″
บริเวณถนนวัฒนาเสถียรสวัสดิ์ ด้านหน้าโรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสนฯ ถนนวัฒนาเสถียรสวัสดิ์โดย ดร.ดำรงค์ ศรีพระราม รักษาการแทนอธิการบดีมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
กล่าวเปิดงาน โดย นางสาวอโรขา นันทนตรี ผู้ว่าราชการจังหวัดนครปฐมประธานร่วมตัดริบบิ้นเปิดงานเทศกาลชมพูพันธุ์ทิพย์ ประจำปี 2568
โดย นายมานิจ สุชีวงศ์ ผู้ปลูกและดูแลรักษาต้นชมพูพันธุ์ทิพย์และนางสาวนันทนัช อนันทาวุฒิ ผู้อำนวยการกองบริการกลางกล่าวความเป็นมาและแนวคิดในการปลูกต้นชมพูพันธ์ทิพย์ พร้อมทั้งขึ้นรอไฟฟ้า เยี่ยมขมบรรยากาศ ถนนวัฒนา เลถียรสดิ์ และและแหล่งท่องเที่ยว ผู้สื่อข่าวรายงานว่า มีนักท่องเที่ยวหลากหลายพื้นที่ พาครอบรัว คู่รัก พ่อ แม่ เพื่อน เดินชมดอกชมพูพันธุ์ทิพย์ที่ถนนสายวัฒนาเสถียรสวัสดิ์ บริเวณหน้าโรงเรียนสาธิตฯ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสนเพื่อถ่ายภาพคู่กับดอกชมพูพันธ์ทิพย์ที่เริ่มบานสะพรั่งเต็มสองฝั่งถนน ดอกชมพูพันธุ์ทิพย์สีสันสดใส ริมถนนวัฒนาเสถียรสวัสดิ์ มีความสวยงาม จุดที่มีดอกจำนวนมากสามารถให้ชมได้ ได้แก่บริเวณหน้าร.ร.สาธิต และจุดมีดอกชมพูพันธุ์ทิพย์ให้ชมอีกจุดได้แก่บริเวณตรงข้ามคณะวิศวกรรมศาสตร์ กำแพงแสน มีดอกบานจำนวนมากทั่วทั้งต้น เทคนิคการชมดอกชมพูพันธุ์ทิพย์ควรชมในเวลาเช้าอากาศเย็นสบาย เมื่อสายใกล้เที่ยงจะไม่มีความสวยงามให้ชมอีก ดอกจะเหี่ยวเฉาจนหมดความสวยงาม
บรรยากาศมีนักท่องเที่ยวจากทั่วสารทิศ เดินทางมาเซลฟี่กับดอกชมพูพันธุ์ทิพย์ลงภาพในโชเชี่ยลและส่งต่อให้เพื่อน นักท่องเที่ยวบางรายแต่ชุดญี่ปุ่นน่ารักๆมาถ่ายรูป มีทั้งเด็ก และสาวๆ เก็บภาพเข้าบรรยากาศยามแดดอ่อนๆกับดอกไม้สวยๆสีชมพู โดยการจัดงานเทศกาลชมพูพันธุ์ทิพย์บานสะพรั่งนี้ จะมีตั้งแต่ 10-16 มีนาคม 2566 ซึ่งการบานของต้นชมพูพันธุ์ทิพย์ จะเริ่มในช่วง กุมภาพันธ์ ถึงเมษายน มีระยะยาวเพียง 2-3 สัปดาห์ เท่านั้น ก็จะร่วงโรยลงต้นชมพูพันธุ์ทิพย์ ริมถนนวัฒนาเสถียรสวัสดิ์
จากการสำรวจพบว่าออกดอกสีชมพูตลอดถนนสายวัฒนาเสถียรสวัสดิ์มีความสวยงามนักท่องเที่ยวต่างเชลฟี่ถ่ายภาพสวยๆเอาไว้ดูและส่งต่อให้กับเพื่อนๆคนที่รู้จักว่าดอกชมพูพันธุ์ทิพย์สวยงามเป็นจำนวนมาก ภายในงานทางมหาลัยเกษตรศาสตร์กำแพงแสนได้นำเหล็กมากั้นปิดถนนและจัดสถานที่จอดรเอาไว้ให้กับนักท่องเที่ยวพร้อมเตรียมรถรับ ถนนวัฒนาเสถียรสวัสดิ์ บนถนนเต็มไปด้วยนักท่องเที่ยวนำอุปกรณ์การถ่ายภาพบางรายก็ใช้โทรศัพท์ถ่ายภาพคู่บ้าง ภาพเดียวและก็เก็บภาพดอกชมพูพันธ์ทิพย์
จากการสอบถามนางสาววราพรรณ สุนทรจินดา อายุ 53 ปี มาพร้อมครอบครัว และหลาน มาจากอำเภอบางบัวทอง จังหวัดนนทบุรี ขับรถออกจากบ้าน06.00น.ขับมาได้ไม่เร็วเนื่องจากมีหมอกหนามองไม่ค่อยเห็นถนนใช้เวลาเดินทางมาที่มหาวิทยาลัยเกษตรกำแพงแสน 2 ชั่วโมง ว่าดอกชมพูพันธ์ทิพย์บานสะพรั่งสวยอยากเชิญชวนเพื่อนๆพี่ๆน้องๆมาเที่ยวชมดอกชมพูพันธุ์ทิพย์ออกดอกสวยงาม เทศกาลชมพูพันธุ์ทิพย์ ตั้งใจออกมาดูดอกชมพูพันธุ์ทิพย์ตนเองเฝ้ารอมาทุกปีตนเองเฝ้าติดตามเฟสบุกร์มหาวัทยาลัยทุกวันเลยว่าจะบานวันไหนตนเองจึงได้เดินทางมาวันนี้ซึ่งตรงกับวันเปิดงานชมพูพันธุ์ทิพย์บรรยากาศดีเหมือนเที่ยวทางเหนือเมืองเหนือการเดินทางก็สะดวกไม่ไกลมาก จัดขึ้น เพื่อเผยแพร่อนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรมของประเทศไทย เผยแพร่ความงามทางธรรมชาติแนวต้นชมพูพันธ์ทิพย์ ซึ่งได้รับการจดทะเบียน “รุกข” มรดกแผ่นดิน โดยกรมส่งเสริมวัฒนธรรม ประจำปี 2562 การปลูกชมพูพันธ์ทิพย์ในพื้นที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน เป็นแนวคิดของ ศาสตราจารย์ ดร. วัฒนา เสถียรสัวสดิ์ เมื่อปี พ.ศ.2520 ขณะที่ดำรงตำแหน่ง รองอธิการบดีวิทยาเขตกำแพงแสนท่านแรก มีนโยบายปลูกต้นไม้ใหญ่ เพื่อเป็นแนวกันลม และเพื่อความเป็นร่มเงาในอนาคต จึงได้ปลูกสองฝากฝั่งฝากถนน เริ่มต้นจากประตูชลประทานผ่านหน้าโรงเรียนสาธิตฯ จนถึงประตูฝั่งจันทรุเบกษา ระยะทางประมาณ 3 กิโลเมตร 500 กว่าต้น ที่เหลือกระจายทั่ววิทยาเขต ทั้งหมด 1,258 ต้น ดูแลโดยมีภาควิชาพืชสวนคณะเกษตรกำแพงแสนคอยดูแล
ชมพูพันธุ์ทิพย์บานสะพรั่งทีมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน
ศาสตราจารย์ เกียรติคุณ ดร.วัฒนา เสถียรสวัสดิ์
รองอธิการบดีวิทยาเขตกำแพงแสน คนที่ 1
และเป็นผู้บุกเบิกในการจัดตั้ง
วิทยาเขตกำแพงแสนกำแพงแสน (คนแรก)
“กิติศัพท์แห่งความสวยงามตามธรรมชาติ
ในยามที่ดอกชมพูพันธุ์ทิพย์ ที่บานสะพรั่ง บนถนน
สายแรกของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์วิทยาเขต
กำแพงแสน ( ถบบสาย 1) ถนนเชื่อมระหว่าง ถนน
ชลประทานกับถนนจันทรุเบกษาได้รับการเผยแพร่
โด่งดังไปทั่วสารทิศ ทั้งการเผยแพร่และส่งเสริมให้
เป็นแหล่งท่องเที่ยวของการท่องเที่ยวแห่ง
ประเทศไทย (ภทท.) สื่อมวลชนโดยเฉพาะโกรกัศน์
และสังคมออนไลน์ หนังสือพิมพ์ เอกสารเผยแพร่ต่าง ๆ มีผู้คนแห่กันไปดูจำนวนมากมาย ผู้ที่สมหวังคือ ผู้ที่ไปดูในช่วงดอกบานสะพรั่ง ผู้ที่ผิดหวังคือ ผู้ที่ไปดูเมื่อดอกร่วงหมดแล้ว ดอกชมพูพันธุ์ทิพย์จะบานในระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ ถึงเดือน
เมษายน ดอกชมพูพันธุ์ทิพย์ จะบานสะพรั่งในช่วงสั้น ๆ เมื่อมีสิ่งแวดล้อมอำนวยถ้ามีฝนตกดอกจะร่วงเร็วขึ้นถ้าไม่สวยจริง ๆ ทำไมคนจึงแห่กันไปดู ที่จริงชมพูพันธุ์ทิพย์ก็มีปลูกอยู่ทั่วไปในเมืองไทย แต่ไม่มีที่ใดสวยเท่าที่นี่ จนได้รับสมยาว่า “ชมพูพันธุ์ทิพย์”ถนนสายนี้เป็นถนนที่มีดอกไม้สวยที่สุดในประเทศไทยเมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2559 เป็นวันเปิดงานเทศกาลชมพูพันธุ์ทิพย์บานสะพรั่งบนถนนสายนี้
ผู้บุกเบิกถนนชมพูพันธุ์ทิพย์ศาสตราจารย์ เกียรติคุณ ดร.วัฒนา เสถียรสวัสดิ์รองอธิการบดีวิทยาเขตกำแพงแสน (คนแรก)ดำรงตำแหน่ง 20 มกราคม 2519 – 31 มีนาคุม 2523โดยริเริ่มปลูก ในปี พ.ศ. 2520 จากแนวคิดที่ต้องการปลูกต้นไม้ใหญ่บังลมและสร้างร่มเงา ตามถนนสายต่างๆทั้งห้มดของวิทยาเขตกำแพงแสน”ประวัติและความเป็นมาของต้นชมพูพพันธุ์ทิพย์ที่วิทยาเขกกำแพงแสน
ศาสตราจารย์ ระพี สาคริก อธิการบดีสมัยนั้น ได้นำต้นชมพูพันธุ์ทิพย์ (Tabebuia เกียรติคุณ ดร.วัฒนา เสถียรสวัสดิ์ รองอธิการบดีวิทยาเขตกำแพงแสนในระยะนั้นนำไปปลูกที่ก่ำแพงแสนโดย ศาสตราจารย์ เกียรติคุณ ดร.วัฒนา เสถียรสวัสดิ์ ได้มอบหมายให้ผู้
ช่วยศาสตราจารย์มนัสกัมพุกุลนำไปปลูกริมถนนสายแรกนี้ ที่กรมชลประทานสร้างไว้ให้ต่อนี้เป็นทางการว่า “ถนนวัฒนา เสถียรสวัสดิ์” ระยะนั้นมีถนนเพียง 2 สายที่ได้รับการตั้งชื่อเป็นทางการคือถนนชูชาติ กำพู (ถนนสายเข้าวิทยาเขต จากถนนมาลัยแมน สู่แกนกลางมหาวิทยาลัย (academic core) บางท่านเรียกสะดือมหาวิทยาลัยและถนนวัฒนา เสถียรสวัสดิ์ (ถนนสายบริการ)ผู้ช่วยศาสตราจารย์ มนัส กัมพุกุล ท่านเล่าว่า ต้นชมพูพันธุ์ทิพย์ปลูกได้ยากลำบาก
เพราะอุปสรรคสำคัญคือวัวของชาวบ้าน (และวัวของมหาวิทยาลัยด้วยการเลี้ยงวัวเป็นอาชีพหลักของชาวกำแพงแสน จนต้องทำคอกล้อมรอบ ปลูกไปดูแลไป ตายก็ปลูกซ่อม นับเวลาการปลูกต้นไม้ชุดแรกกว่าจะเป็นตันอย่างที่เห็นกันในปัจจุบันก็ร่วม 22 ปี
ลักษณะทั่วไปของต้นชมพูพันธุ์ทิพย์ต้นชมพูพันธ์ทิพย์ หรือ ต้นตาเบบย่า โดยตั้งชื่อตามสีดอก และเป็นเกียรติแก่ม.ร.ว.พันธุ์ทิพย์ บริพัตร เป็นไม้ยืนต้นผลัดใบขนาดกลาง สูงราว 4- 12 เมตร ใบเป็นแบบ
ผสม มีใบย่อย 5 ใบ บนต้นเดียวกัน แผ่ออกคล้ายใบปาล์ม ผิวไม่เรียบ ปลายใบแหลม ยาวประมาณ 42 ชม.กิ่งก้านสาขาแผ่ออกเป็นพุ่มค่อนข้างแน่น ชมพูพันธุ์ทิพย์ ใบแก่จะทิ้งทิ้งใบในฤดูหนาว ช่วงเดือนพฤศจิกายน มกราคม หลังจากนั้นจะออกดอกช่วงเดือน เมษายน ดอกออกเป็นช่อตามกิ่งก้าน ซ่อละ 5- 4 ดอก ดอกย่อยลักษณะคล้ายดอกผักบุ้งหรือปากแตร คือโคนดอกเป็นหลอดยาวปลายดอกบานออกเป็น 5 กลีบ กลีบดอกบาง ย่นเป็นจีบ ๆ และร่วงหล่นง่าย จะเห็นดอกชมพูพันธุ์ทิพย์ร่วงหล่นกระจายอยู่รอบ ๆ ต้น งดงามพอ ๆ กับที่บานอยู่บนต้น ดอกย่อยแต่ละดอกกว้างราว 4 เชนติเมตร ยาวราว 15 เชนติเมตร สีของกลีบดอกปกติเป็นสีชมพูสดใสแต่มีความเข้มและจางแตกต่างกันไปโดยเฉพาะต้นที่เกิดจากเมล็ดจะมีความผันแปรมากกมายตั้งแต่สีชมพูจางเกือบขาวไปจนถึงสีเข้มเกือบเป็นสีม่วงแดงกุมภาพันธ์ อีกด้วย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน ปลูกต้นชมพูพันธุ์ทิพย์ ไว้ทั้งหมด 1,258 ต้น โดยปลูกสองข้างทางถนนสายวัฒนา เสถียรสวัสดิ์ (ถนนสาย 1) จำนวน 580 ต้น พื้นที่สวน 100 ปี จำนวน 77 ต้น สวนเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา จำนวน 12 ต้น สระพระพิรุณ จำนวน 98 ต้น พื้นที่ด้านหน้าสวนปรง จำนวน 90 ต้น พื้นที่บริเวณบ่อ 6 จำนวน 165 ต้น และ บริเวณข้างถนนดินขอบบ่อ 6 ถึงบริเวณที่พักอาศัยข้าราชการ จำนวน 236 ต้น
สำหรับในปี พุทธศักราช 2568 นั้น มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน ได้คาดการณ์ การบานของชมพูพันธุ์ทิพย์ ไว้ 3 ระยะ ประกอบด้วย
ระยะที่ 1 บานประปราย ระหว่างวันที่ 15 – 21 มกราคม 2568
ระยะที่ 2 บาน 80 เปอร์เซ็นต์ (หน้าโรงเรียนสาธิตฯ) ระหว่างวันที่ 13 – 20 กุมภาพันธ์ 2568
ระยะที่ 3 จะแจ้งให้ทราบภายหลัง
ปนิทัศน์ มามีสุข นส.ปณิดา มามีสุข จ.นครปฐม




