ตำรวจสอบสวนกลาง (CIB) โดย กองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ภายใต้การอำนวยการของ พล.ต.ท.จิรภพ ภูริเดช ผบช.ก. ได้สั่งการให้ พล.ต.ต.วัชรินทร์ พูสิทธิ์ ผบก.ปทส., พ.ต.อ.พิบูลย์ เวียงจันทร์ รอง ผบก.ปทส., พ.ต.อ.อรุณ วชิรศรีสุกัญยา รอง ผบก.ปทส.
เจ้าหน้าที่ชุดจับกุม นำโดย พ.ต.อ.วิญญู แจ่มใส ผกก.2 บก.ปทส., พ.ต.ท.ปกรษณ์เกียรติ พงษ์ธนนิกร รอง ผกก.2 บก.ปทส., ว่าที่ พ.ต.ท.นัธทวัฒน์ สุรนารถ สว.กก.2 บก.ปทส. พร้อมกับพวกชุดปฏิบัติการ 4
กก.2 บก.ปทส. ร่วมกับ เจ้าหน้าที่กรมโรงงานอุตสาหกรรม
ร่วมกันจับกุม
- นายกัวฯ อายุ 55 ปี สัญชาติ จีน
- นายหลี่ฯ อายุ 42 ปี สัญชาติ จีน
ซึ่งต้องหาว่ากระทำความผิดฐาน “ร่วมกันครอบครองวัตถุอันตรายชนิดที่ 3 โดยไม่ได้รับอนุญาต ตามบัญชี 5.2 ของเสียเคมีวัตถุ (Chemical Waste) ลำดับ 2.2 ของเสียที่มีองค์ประกอบหรือสารปนเปื้อนดังต่อไปนี้ พลวงและสารประกอบพลวง เบริลเลียมและสารประกอบเบริลเลียม แคดเมียมและสารประกอบแคดเมียม ตะกั่วและสารประกอบตะกั่ว ซีลิเนียมและสารประกอบซิลิเนียม เทลลูเรียมและสารประกอบเทลลูเรียม และ ลำดับที่ 2.3 ของเสียที่มีองค์ประกอบและสารปนเปื้อน
ดังต่อไปนี้ สารหนูและสารประกอบสารหนู ปรอทและสารประกอบปรอท แทลเลียมและสารประกอบแทลเลียม และ ชิ้นส่วนอุปกรณ์อุปกรณ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์หรือเศษ (ไม่รวมเศษจากเครื่องกำเนิดไฟฟ้า) ที่มีส่วนประกอบซึ่งได้แก่ ตัวเก็บประจุไฟฟ้า และแบตเตอรี่อื่นๆ สวิตช์ที่มีปรอดเป็นองค์ประกอบในการทำงาน เศษแก้วจากหลอดรังสีแคโทด และแอกติเวเต็ดกลาสอื่นๆ ตัวเก็บประจุไฟฟ้าที่มีสารพีซีบี หรือที่ปนเปื้อนด้วยแคดเมียม ปรอด ตะกั่ว
โพลีคลอริเนทเต็ดไบฟีนิล ตามประกาศกระทรวงอุตสาหกรรมอุตสาหกรรม เรื่อง บัญชีรายชื่อวัตถุอันตราย พ.ศ.2556”
พร้อมตรวจยึดของกลาง
- กองผลิตภัณฑ์จากการบดย่อยที่ปนเปื้อนโลหะหนัก ปริมาณประมาณ 0.5 ตัน
- กองผลิตภัณฑ์จากการบดย่อยที่ปนเปื้อนโลหะหนัก ปริมาณประมาณ 1 ตัน
- สิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้วจากการแยกที่ปนเปื้อนโลหะหนัก ปริมาณประมาณ 10 ตัน
สถานที่จับกุม โรงงานในพื้นที่ ม.9 ต.เกาะขนุน อ.พนมสารคาม จ.ฉะเชิงเทรา
สืบเนื่องจากกรมศุลกากรตรวจยึดและอายัดตู้คอนเทนเนอร์นำเข้าจากต่างประเทศ
จำนวน 10 ตู้ ปริมาณ 256 ตัน ซึ่งเป็นการสำแดงเท็จลักลอบนำเข้าขยะอิเล็กทรอนิกส์ เจ้าหน้าที่ตำรวจ
กก.2 บก.ปทส. ได้ทำการสืบสวนพบว่าบริษัทซึ่งตั้งอยู่ใน อ.พนมสารคาม จ.ฉะเชิงเทรา เป็นผู้นำเข้า และ จากการเฝ้าติดตามบริษัทในกลุ่มเครือโรงงานที่ตั้งอยู่ใน อ.ศรีมหาโพธิ จ.ปราจีนบุรี ซึ่งเคยถูกจับกุมและมีคำสั่งจากเจ้าที่กรมโรงงานอุตสาหกรรมให้หยุดประกอบกิจการแล้วนั้น พบว่าเมื่อวันที่ 5 มค.2568 มีการเคลื่อนย้ายของต้องสงสัยขยะอิเล็กทรอนิกส์ซึ่งเป็นของกลางในคดีและถูกอายัดไว้ เข้ามาในบริเวณโรงงานที่ตั้งอยู่ใน อ.พนมสารคาม จ.ฉะเชิงเทรา ซึ่งเป็นบริเวณเดียวกันโรงงานข้างต้น คณะเจ้าหน้าที่จึงได้ออกคำสั่งให้โรงงานหยุดประกอบกิจการเป็นการชั่วคราว
ต่อมา เจ้าหน้าที่ตำรวจจึงได้ร่วมกับกรมโรงงานอุตสาหกรรมเข้าตรวจสอบโรงงานในพื้นที่ ม.9
ต.เกาะขนุน อ.พนมสารคาม จ.ฉะเชิงเทรา โดยจากการตรวจสอบพบว่า ในบริเวณโรงงานพบวัตถุอันตรายจำนวนมากและกองวัตถุอันตรายของกลางอยู่ในความครอบครองของโรงงานดังกล่าว และพบนายหลี่ฯสัญชาติจีน แสดงตัวเป็นผู้จัดการโรงงานที่ครอบครองกองวัตถุอันตรายดังกล่าว ส่วนนายกัวฯ สัญชาติจีน แสดงตัวเป็น ผู้จัดการโรงงานเจ้าของพื้นที่ที่กองวัตุอันตรายของกลางวางอยู่ และผู้ต้องหาทั้ง 2 คนแจ้งว่าไม่ได้มีการขออนุญาตแต่อย่างใด
คณะเจ้าหน้าที่ได้ร่วมกันพิจารณาแล้วมีความเห็นว่า การกระทำดังกล่าวของผู้ต้องหาเป็นความผิด จึงได้ร่วมกันแจ้งข้อหาดังกล่าว จากนั้นควบคุมตัวผู้ต้องหาทั้ง 2 ราย
นำส่งพนักงานสอบสวน สภ.พนมสารคาม จ.ฉะเชิงเทรา เพื่อดำเนินคดีตามกฎหมายต่อไป
อนึ่งจากการตรวจสอบพบ ขยะอิเล็กทรอนิกส์จำนวนมาก อยู่ระหว่างตรวจสอบของเจ้าหน้าที่กรมโรงงานอุตสาหกรรม เพื่อดำเนินการตามกฎหมายในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป
สอบถามผู้ต้องหาเบื้องต้น ให้การรับสารภาพตลอดข้อกล่าวหา
เตือนภัย ตะกั่ว และสารหนู หากไม่มีการบริหารจัดการกากของเสียที่ดี จะทำให้เกิดการปนเปื้อนโลหะหนักเหล่านี้ในสิ่งแวดล้อมและเข้าสู่ห่วงโซ่อาหารได้ ทำให้เกิดปัญหาการปนเปื้อนในอาหารสูงเกินกว่าเกณฑ์มาตรฐานที่อนุญาตให้บริโภคได้อย่างปลอดภัย ถ้าคนหรือสัตว์เลี้ยงที่บริโภคอาหารและน้ำที่มีโลหะหนักปนเปื้อนเป็นเวลานาน ก็จะทำให้เกิดการสะสมและอาจเกิดอันตรายต่อร่างกายได้