”พล.ต.อ.เอก “ก.ตร.ผู้ทรงคุณวุฒิยัน แต่งตั้ง รอง ผบก.อก.ภ.9 ขึ้นตามลำดับอาวุโส ณ วันประชุมฯ ยึดกฏหมายเป็นหลัก ก.ตร.ใช้เวลาถกกรณีนี้นานถึง 40 นาที ถ้ามีเหตุอื่นภ ายหลังนั้น เป็นอำนาจ ภ.9 รับผิดชอบ
เมื่อวันที่ 15 ม.ค.68 ที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติ(ตร.) ผู้ข่าวรายงานว่า กรณีที่ปรากฏเป็นข่าวทางสื่อโซเชียลถึงกรณี การแต่งข้าราชการตำรวจระดับรอง ผบก.ไม่ถูกต้องตามกฏระเบียบของการแต่งตั้งนั้น พล.ต.อ.เอก อังสานานนท์ ก.ตร.ผู้ทรงคุณวุฒิ เปิดเผยว่า กรณีดังกล่าวนี้ ที่ประชุมได้หยิบยกเคสนี้มาถกเถียงกันถึงกฏระเบียบ ข้อกฏหมาย โดยใช้เวลาถึง 40 นาทีเพื่อให้เกิดความถูกต้องตามกฏหมายและระบบคุณธรรม จนได้ข้อยุติ
โดยสรุปกรณี พ.ต.อ.ไพรัตน์หรือพงศ์รัตน์ ไพพรรณรัตน์ รอง ผบก.อก.ภ.9
(1.)หมายจับของศาลจังหวัดพัทยา ที่ จ.430/2567 ลง 19 ส.ค.67 ในความผิดฐาน เป็นผู้ใช้ให้ผู้อื่นเบิกความอันเป็นเท็จในการพิจารณาคดีต่อศาล ซึ่งเป็นเท็จนั้น เป็นข้อสำคัญในคดีอาญา
(2.)เมื่อวันที่ 26 ส.ค.67 ผู้ต้องหา ได้ยื่นคำร้องขอเพิกถอนหมายจับต่อศาลจังหวัดพัทยา อ้างว่าพนักงานสอบสวนออกหมายจับตามคำสั่งอธิบดีอัยการภาค 2 ที่สั่งให้ดำเนินคดีผู้ต้องหาโดยผิดกฎหมาย โดยศาลนัดฟังคำสั่งในวันที่ 13 ม.ค.68 เท่านั้น
( 3. )ต่อมาศาลจังหวัดพัทยามีคำสั่งลง 23 ธ.ค.67 พิเคราะห์แล้ว เห็นว่าสำนวนคดี(ชั้นขอเพิกถอนหมายจับ) อยู่ระหว่างการตรวจร่างคำสั่งของสำนักงานอธิบดีผู้พิพากษาภาค 2 และนัดฟังคำสั่งในวันที่ 13 ม.ค.68 เวลา 09.30 น. จึงเห็นควรรอการจัดการตามหมายจับไว้จนกว่าศาลจะอ่านคำสั่งดังกล่าวในวันนัด
(4.)ก.ตร. มีมติในการประชุมครั้งที่ 1/2568 เมื่อ 10 ม.ค.68 เห็นชอบให้ พ.ต.อ.พงศ์รัตน์ ฯดำรงตำแหน่ง ผบก.สง.กต.ช.
(5.)วันที่ 13 ม.ค.68 พ.ต.อ.พงศ์รัตน์ ฯ ถูกจับกุมตัวตามหมายจับก่อนการประชุมของ ก.ตร.
กรณีนี้ ชื่อของ พ.ต.อ.พงศ์รัตน์ ฯอยู่ในกลุ่มอาวุโสร้อยละ 50 ภ.9 ผู้บังคับบัญชาต้นสังกัดเสนออยู่ในบัญชีผู้เหมาะสมเลื่อนตำแหน่งสูงขึ้น แล้วจากการตรวจสอบการรายงานการดำเนินการทางวินัยกับ พ.ต.อ.พงศ์รัตน์ฯ ยังไม่พบว่า ภ.9 ซึ่งเป็นหน่วยงานต้นสังกัดรายงานผลการดำเนินการตามระเบียบที่เกี่ยวข้องมายัง สำนักงานตำรวจแห่งชาติแต่อย่างใด
ดังนั้น จึงต้องพิจารณาคัดเลือกแต่งตั้งให้เลื่อนตำแหน่งสูงขึ้นตาม พ.ร.บ.ตำรวจแห่งชาติ และกฎ ก.ตร. ที่เกี่ยวข้อง
จากการตรวจสอบในปัจจุบัน ภ.9 และ บก.อก.ภ.9 อยู่ระหว่างดำเนินการทางวินัย โดยสามารถตั้งคณะกรรมการสืบสวน (ตามมาตรา 117) หรือตั้งคณะกรรมการสอบสวนทางวินัยอย่าง
ร้ายแรง (ตามมาตรา 119) ขึ้นอยู่กับพฤติการณ์ความร้ายแรงประกอบกับข้อพิจารณาอื่นๆของผู้บังคับบัญชา
พล.ต.อ.เอกฯ เปิดเผยอีกว่า ข้อสังเกต ความผิดฐานเป็นผู้ใช้ให้ผู้อื่นเบิกความอันเป็นเท็จในการพิจารณาคดีต่อศาล ซึ่งเป็น
เท็จนั้นเป็นข้อสำคัญในคดีอาญา เป็นความผิดที่ไม่ใช่ความผิดจากการปฏิบัติหน้าที่ราชการ แต่เป็นเรื่องความประพฤติส่วนตัว โดยทั่วไปแล้วผู้บังคับบัญชาอาจใช้ดุลยพินิจในการตั้งกรรมการสืบสวนข้อเท็จจริงตามมาตรา 117 ก่อนก็ได้ นี่คือข้อเท็จจริงที่คณะกรรมการ ก.ตร. ได้พิจารณา ณ วันที่ประชุม ส่วนต่อมาภายหลังถ้าหากมีสาเหตุอื่นเพิ่ม ผูับังคัญชาสามารถพิจารณาเป็นอย่างอื่นได้ตามกรอบข้อกฎหมายของ ตร.ที่มีอยู่ซึ่งสามารถกระทำได้ พล.ต.อ.เอก กล่าว