ปัตตานี – ศค.จชต. พร้อมหนุนเสริมแก้ปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ สร้างการรับรู้ ยกระดับการเรียนรู้ สร้างสรรค์อนาคตการศึกษาในจังหวัดชายแดนภาคใต้ และโครงการ “โรงเรียนเข้มแข็ง ชุมชนร่วมมือ” เสริมสร้างสังคม พหุวัฒนธรรมสู่สันติสุขชายแดนภาคใต้ วันที่ 13 มกราคม 2568 ที่ ห้องประชุมพญาตานี 1 โรงแรมเซาท์เทิร์นวิวปัตตานี อ.เมืองปัตตานี จ.ปัตตานี นายนิกร เซ้งเถียร ผู้อำนวยการศูนย์ขับเคลื่อนการศึกษาในจังหวัดชายแดนภาคใต้ เป็นประธานในการประชุมเตรียมการสร้างการรับรู้การดำเนินงานยกระดับการเรียนรู้ สร้างสรรค์อนาคตการศึกษาในจังหวัดชายแดนภาคใต้และประชุมเชิงปฎิบัติการเตรียมความพร้อมคณะทำงานโครงการ “โรงเรียนเข้มแข็ง ชุมชนร่วมมือ” เสริมสร้างสังคม พหุวัฒนธรรมสู่สันติสุขชายแดนภาคใต้ โดยมี ผู้แทนหน่วยงานทางการศึกษาในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ สังกัดกระทรวงศึกษาธิการ, ผู้อำนวยการส่วนพัฒนายุทธศาสตร์ กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 4 ส่วนหน้า, ฉก.สันติสุข, ศูนย์สันติวิธี และหน่วยงานภาคีเครือข่าย เข้าร่วมประชุม การดำเนินการที่ผ่านมา ศูนย์ขับเคลื่อนการศึกษาในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ได้มีการบูรณาการการทำงานร่วมกันกับหน่วยงานการศึกษาในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ ในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ , หน่วยงานความมั่นคง , ศอ.บต. และหน่วยงานภาคีเครือข่ายทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องอย่างต่อเนื่อง เพื่อสร้างการรับรู้ ความเข้าใจการจัดการศึกษาในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ สอดรับกับนโยบายของรัฐบาลและแผนปฏิบัติการเรื่องการเสริมสร้างการอยู่ร่วมกันภายใต้สังคมพหุวัฒนธรรมในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ (พ.ศ.2566 – 2570) ภายใต้การดำเนินงานโครงการโรงเรียนเข้มแข็ง ชุมชนร่วมมือเสริมสร้าง สังคมพหุวัฒนธรรมสู่สันติสุขชายแดนภาคใต้ ผ่านกิจกรรมที่หลายหลากหลาย เพื่อส่งเสริมให้เยาวชนในพื้นที่มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับแนวทางในการดำเนินชีวิตในสังคมพหุวัฒนธรรม อยู่บนพื้นฐานการดำเนินชีวิตบนหลักการฮูกุมปากัต (ธรรมนูญหมู่บ้าน 9 ดี) ซึ่งทุกกิจกรรมล้วนเป็นกลไกสำคัญในการเสริมสร้างสันติ โดยการพัฒนาการศึกษาผ่านสถานศึกษาและเสริมสร้างความเข้มแข็งชุมชนและขยายผลไปสู่ชุมชน ส่งเสริมการอยู่ร่วมกันในสังคมพหุวัฒนธรรมสู่สันติสุขชายแดนใต้ และโครงการ ส่งเสริมการใช้ภาษาเพื่อการสื่อสารในจังหวัดชายแดนภาคใต้ และโครงการยกระดับการเรียนรู้ สร้างสรรค์อนาคตการศึกษาในจังหวัดชายแดนภาคใต้ มีกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาทักษะภาษาเพื่อการสื่อสาร ส่งเสริมความเป็นเลิศด้านวิชาการมีทักษะสื่อสารภาษาไทยและภาษาอื่น ๆ ฝึกความกล้าแสดงออกให้ผู้เรียนได้แสดงออกในที่สาธารณะได้อย่างมีคุณภาพ ตลอดจนนำไปใช้ในการประกอบอาชีพในอนาคตได้ ผู้เข้าร่วมกิจกรรมได้รับความรู้และนำไปใช้ในการดำเนินการจัดการเรียนการสอนและมีผลงานยอดเยี่ยม ที่ประชุมจึงได้มีการมอบเกียรติบัตร ประกาศลงนามโดยปลัดกระทรวงศึกษาธิการ นายสุเทพ แก่งสันเทียะ ได้แก่ 1.วิทยากรแกนนำ ในการถ่ายทอดความรู้ทักษะในการเนื้อหาหลักสูตรสังคมพหุวัฒนธรรมสู่การบูรณาการการจัดการเรียนรู้ 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้ จำนวน 6 ท่าน 2.โรงเรียนต้นแบบ นำร่องในการเนื้อหาหลักสูตรสังคมพหุวัฒนธรรมสู่การบูรณาการการจัดการเรียนรู้ 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้ ได้แก่ โรงเรียนประชาอุทิศบ้านโคกม่วง สังกัด สพป.ปัตตานี เขต 1 3. สถานศึกษาที่ส่งผลงานจากการรับความรู้ไปดำเนินงานต่อในสถานศึกษาและมีผลงานยอดเยี่ยมประจำปีงบ ประมาณ พ.ศ. 2567 ผลงานยอดเยี่ยมระดับชั้นมัธยมศึกษา ได้แก่ โรงเรียนบันนังสตาวิทยา สังกัด สพม.ยะลา ผลงานยอดเยี่ยมระดับชั้นประถมศึกษา (ป.1-ป.6) จำนวน 5 โรงเรียน ได้แก่ 1.โรงเรียนบ้านปะกาฮารัง สังกัด สพป.ปัตตานี เขต 1 2.โรงเรียนบ้านตอออ สังกัด สพป.นราธิวาส เขต 2 3.โรงเรียนบ้านจูโวะ สังกัด สพป.นราธิวาส เขต 3 4.โรงเรียนบ้านบาโงดุดุง สังกัด สพป.นราธิวาส เขต 3 5.โรงเรียนแหลมทองวิทยา สังกัด สช.นราธิวาส ทั้งนี้ ศค.จชต. ได้ชี้แจงแผนการดำเนินงานโครงการฯ พื้นที่กลุ่มเป้าหมาย ของปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 และร่วมหารือห้วงเวลาในการจัดกิจกรรมแต่ละกิจกรรมของโครงการ รวมไปถึงรูปแบบในการจัดกิจกรรม พร้อมทั้งคัดเลือกโรงเรียนกลุ่มเป้าหมาย เพื่อเข้าร่วมกิจกรรม ในปีงบประมาณ 2568