จับกุมเจ้าของบัญชีแก๊งคอลเซ็นเตอร์หลอกลวงเป็นตำรวจสภ.เมืองสิงห์บุรี มูลค่าความเสียหายกว่า 5 ล้านบาท กองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง (CIB) โดย กองบังคับการปราบปราม (บก.ป.) ภายใต้ การอำนวยการของ พล.ต.ท.จิรภพ ภูริเดช ผบช.ก., พล.ต.ต.สุวัฒน์ แสงนุ่ม รอง ผบช.ก., พล.ต.ต.มนตรี เทศขัน ผบก.ป., พ.ต.อ.พรศักดิ์ เลารุจิราลัย รอง ผบก.ป., พ.ต.อ.ปทักข์ ขวัญนา รอง ผบก.ป., พ.ต.อ.เอกสิทธิ์ ปานสีทา ผกก.4 บก.ป., พ.ต.ท.ศุภกร ตังคะประเสริฐ รอง ผกก.4 บก.ป., พ.ต.ท.เจษฎา แก้วจาเครือ รอง ผกก.4 บก.ป., พ.ต.ท.อรรถวิทย์ สุขทัศน์ รอง ผกก.4 บก.ป., พ.ต.ท.เอนก บุญตา รอง ผกก.4 บก.ป. เจ้าหน้าที่ชุดจับกุม นำโดย พ.ต.ท.กิตติพงศ์ ศิลาพันธุ์ สว.กก.4 บก.ป., ร.ต.อ.นุกูล ใจอารี รอง สว.กก.4 บก.ป., ด.ต.หญิง อาภากร อักขรา, ด.ต.จิรัสย์ พีระชัยนันต์, ด.ต.เทวฤทธิ์ ยิ้มพวง, จ.ส.ต.ขจรศักดิ์ มานะบุตร และ ส.ต.ท.ชามาช ชัยสามารถ ผบ.หมู่ กก.4 บก.ป. ร่วมกันจับกุม น.ส.พรนภาฯ อายุ 48 ปี ผู้ต้องหาตามหมายจับศาลจังหวัดแม่สอด ที่ จ.175/2567 ลงวันที่ 19 กันยายน 2567 ซึ่งต้องหาว่ากระทำความผิดฐาน “ร่วมกันฉ้อโกง, ร่วมกัน โดยทุจริต หรือหลอกลวง นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่น, สนับสนุนผู้อื่นให้กระทำความผิดฐานฉ้อโกง, สนับสนุนให้ผู้อื่นกระทำความผิดฐานร่วมกันโดยทุจริต หรือหลอกลวง นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่น เป็นผู้เปิดหรือยอมให้ผู้อื่นใช้บัญชีเงินฝากบัตรอิเล็กทรอนิกส์ หรือบัญชีอิเล็กทรอนิกส์ของตน โดยมิได้มีเจตนาใช้เพื่อตนหรือกิจการที่ตนเกี่ยวข้อง โดยประการที่รู้หรือควรรู้ว่าจะนำไปใช้ในการกระทำผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยีหรือความผิดอาญาอื่นใด” สถานที่จับกุม บริเวณริมถนนเทศบาลบางเสาธง ซอย 38 (ซอย ฝ.10) ต.บางเสาธง อ.บางเสาธง จ.สมุทรปราการ จากกรณีผู้เสียหายได้ถูกคนร้ายหลอกลวง ว่าเป็นเจ้าหน้าที่ตำรวจ สภ.เมืองสิงห์บุรี แล้วอ้างว่ามีการตรวจค้นจับกุมผู้กระทำผิดเกี่ยวกับยาเสพติด และพบหลักฐานว่ามีชื่อผู้เสียหายเข้าไปเกี่ยวข้องกับขบวนการยาเสพติด จากนั้นคนร้ายได้ติดต่อกับผู้เสียหายผ่านช่องทางแอปพลิเคชันไลน์ โดยใช้ไลน์ที่มีรูปและชื่อในลักษณะให้ผู้เสียหายหลงเชื่อว่าเป็นไลน์ของ สภ.เมืองสิงห์บุรี โดยคนร้ายได้มีการส่งภาพเอกสาร และ โทรวิดีโอภาพผ่านทางไลน์พูดคุยกับผู้เสียหาย โดยคนร้ายได้แต่งกายเป็นเจ้าหน้าที่ตำรวจ เพื่อหลอกลวงผู้เสียหายให้หลงเชื่อ และหลอกให้ผู้เสียหายโอนเงินเพื่อยืนยันความบริสุทธิ์ โดยอ้างว่าเป็นการโอนเงินให้กับ ทางหน่วยงาน ปปง. เพื่อทำการตรวจสอบที่มาของเงินว่าถูกต้องหรือไม่ ผู้เสียหายหลงเชื่อ จึงได้โอนเงิน เข้าบัญชีธนาคารตามที่คนร้ายแจ้ง และจากการสืบสวนพบเงินของผู้เสียหายถูกโอนไปอีกหลายทอด รวมทั้ง มีการโอนเงิน ผ่านบัญชี น.ส.พรนภาฯ รวมเป็นเงิน 4,999,908 บาท ต่อมาผู้เสียหายเชื่อว่าถูกหลอกลวง จึงเข้าแจ้งความร้องทุกข์ต่อ พงส. สภ.แม่สอด จ.ตาก และต่อมาศาลจังหวัดแม่สอดได้ออกหมายจับ น.ส.พรนภาฯ ไว้นั้น เจ้าหน้าที่ตำรวจ กองกำกับการ 4 กองบังคับการปราบปราม ซึ่งได้ทำการสืบสวนเพื่อติดตามจับกุม ต่อมาทราบว่า น.ส.พรนภาฯ ได้หลบหนีมาอยู่ในพื้นที่ ต.บางเสาธง อ.บางเสาธง จ.สมุทรปราการ เจ้าหน้าที่ตำรวจชุดจับกุมจึงได้เดินทางไปตรวจสอบพบ น.ส.พรนภาฯ เจ้าหน้าที่ตำรวจจึงได้แสดงตัว และแสดงหมายจับของศาลจังหวัดแม่สอด ที่ จ.175/2567 ลงวันที่ 19 กันยายน 2567 ซึ่งต้องหาว่ากระทำความผิดฐาน “ร่วมกันฉ้อโกง, ร่วมกัน โดยทุจริต หรือหลอกลวง นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูล คอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่น, สนับสนุนผู้อื่นให้กระทำความผิดฐานฉ้อโกง, สนับสนุนให้ผู้อื่นกระทำความผิดฐานร่วมกันโดยทุจริต หรือหลอกลวง นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่น เป็นผู้เปิดหรือยอม ให้ผู้อื่น ใช้บัญชีเงินฝากบัตรอิเล็กทรอนิกส์ หรือบัญชีอิเล็กทรอนิกส์ของตน โดยมิได้มีเจตนาใช้เพื่อตนหรือกิจการที่ตนเกี่ยวข้อง โดยประการที่รู้หรือควรรู้ว่าจะนำไปใช้ในการกระทำผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยีหรือความผิดอาญาอื่นใด” ให้ น.ส.พรนภาฯ อ่านและดู น.ส.พรนภาฯ ยอมรับว่าเป็นบุคคลตามหมายจับจริง และยังไม่เคยถูกจับในหมายนี้มาก่อน จึงได้ทำการจับกุมตัว น.ส.พรนภาฯ ส่งพนักงานสอบสวน สภ.แม่สอด จ.ตาก ดำเนินคดีตามกฎหมายต่อไป สอบถามคำให้การผู้ต้องหาเบื้องต้น ปฏิเสธตลอดข้อกล่าวหา